ในช่วงปลายฝนต้นหนาวอากาศเปลี่ยน ลองมาสร้างภูมิ ด้วยการบริหารร่างกายให้แข็งแรง ด้วยโยคะบำบัด และ โยคะเสริมภูมิต้านทาน ในบทความนี้กัน

เลือกอ่านตามหัวข้อ
ทำความรู้จัก! โยคะบำบัด พร้อม " ท่าโยคะช่วยกระตุ้นภูมิต้านทาน " ในช่วงอากาศเปลี่ยน
ท่ายืนก้มตัว (Standing Forward Bend)
ท่าบิดตัวขาพับ (Half Lord of the Fishes Pose)
ท่างู (Cobra Pose)
ท่านักรบ (Warrior Pose)
ท่าสุนัขก้มหน้า (Downward Facing Dog Pose)
ท่าเด็ก (Child's Pose)
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ฮัลโหลเพื่อน ๆ
มาเมาท์มอยกันหน่อยค่าา ช่วงนี้อยู่ในช่วงปลายฝนต้นหนาว อากาศเริ่มเปลี่ยนเสี่ยงไม่สบายเป็นไข้หวัดได้ง่าย ๆ เลย บทความนี้เลยอยากชวนเพื่อน ๆ มาบริหารร่างกายให้แข็งแรง เสริมภูมิคุ้มกันด้วย " โยคะบำบัด " ที่ช่วยฟื้นฟูร่างกายและเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกายห่างไกลจากโรคต่าง ๆ ได้อีกด้วย ส่วนจะมีโยคะท่าไหนช่วยเสริมภูมิคุ้มกันอยู่บ้าง ลองตามไปทำความรู้จักกับโยคะบำบัดในบทความนี้เลย
ทำความรู้จัก! โยคะบำบัด พร้อม " ท่าโยคะช่วยกระตุ้นภูมิต้านทาน " ในช่วงอากาศเปลี่ยน
โยคะบำบัด คืออะไร?
โยคะบำบัด ก็คือการรักษาและบรรเทาอาการเจ็บป่วยด้วยโยคะ เป็นหนึ่งในการบำบัดเพื่อช่วยฟื้นฟูร่างกาย ช่วยให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย อย่างระบบย่อยอาหาร การขับถ่าย ระบบสืบพันธุ์ ความดันโลหิต รวมไปถึงระบบประสาททำงานได้ดีขึ้น สร้างความสมดุลให้กับร่างกายทำให้ระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น และนอกจากบำบัดร่างกาย ยังช่วยบำบัดด้านจิตใจ ช่วยบรรเทาความเครียดได้ด้วย
โยคะบำบัดเหมาะกับใคร?
สำหรับท่าโยคะส่วนใหญ่จะเน้นในเรื่องของการยืดเส้น คลายกล้ามเนื้อ และระบบหายใจ โยคะบำบัดจะช่วยทำหน้าที่ป้องกันและฟื้นฟูอาการเจ็บป่วย ด้วยการพัฒนาความต้านทานภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้น เลยเหมาะสำหรับคนที่มีอาการออฟฟิศซินโดรม รวมไปถึงคนที่อยากบำบัดความเครียด อยากฟื้นฟูร่างกายเสริมความแข็งแรงสร้างภูมิต้านทานอีกด้วย
สำหรับท่าโยคะส่วนใหญ่จะเน้นในเรื่องของการยืดเส้น คลายกล้ามเนื้อ และระบบหายใจ โยคะบำบัดจะช่วยทำหน้าที่ป้องกันและฟื้นฟูอาการเจ็บป่วย ด้วยการพัฒนาความต้านทานภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้น เลยเหมาะสำหรับคนที่มีอาการออฟฟิศซินโดรม รวมไปถึงคนที่อยากบำบัดความเครียด อยากฟื้นฟูร่างกายเสริมความแข็งแรงสร้างภูมิต้านทานอีกด้วย
✩ ✩ ✩ ✩ ✩ ✩ ✩ ✩ ✩
ท่ายืนก้มตัว (Standing Forward Bend)
มาเริ่มกันที่ " ท่ายืนก้มตัว " ท่านี้จะช่วยให้เลือดไหลเวียนลงมาเลี้ยงศีรษะ ทำให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้ดีไปทั่วร่างกาย เป็นท่าที่ช่วยลดอาการปวดหัว นอนไม่หลับ และยังช่วยกระตุ้นอวัยวะช่องท้อง ระบบย่อยอาหารให้ดีขึ้น
วิธีการ
1. ค่อย ๆ ก้มลงมาจับขาตัวเองด้านหลังข้อเท้า หายใจเข้ายืดหลังตรง
2. หายใจออก ค่อย ๆ ก้มลงมาดึงให้หน้าท้องแนบกับหน้าขา หน้าผากชิดหน้าแข้ง
3. ค่อย ๆ ย่อเขาแล้วขึ้นช้า ๆ ค่อย ๆ หกหัวขึ้นมา
ข้อควรระวัง ไม่เหมาะสำหรับคนที่มีโรคกระดูกสันหลังและเข่า
ท่าบิดตัวขาพับ (Half Lord of the Fishes Pose)
ต่อด้วย " ท่าบิดตัวขาพับ " สำหรับท่านี้จะช่วยกระตุ้นตับและไต กระตุ้นการทำงานของเส้นประสาทบริเวณกระดูกสันหลัง และยังเป็นท่าที่ช่วยคลายกล้ามเนื้อคอและไหล่ ที่เกิดจากการเกร็งกล้ามเนื้อเนื่องจากความเครียด ลดอาการปวดเมื่อย ปวดหลัง และยังช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหารอีกด้วย
วิธีการ
1. นั่งตั้งเข่าซ้ายขึ้นมา เอาเท้าซ้ายทาบขาขวา
2. พับขาขาวเก็บมาด้านข้าง ทิ้งน้ำหนักที่สะโพก 2 ข้างเท่ากัน ไม่นั่งทับเท้าขวา
3. เท้าซ้ายเหยียบพื้นแน่น ๆ หายใจเข้าเหยียดแขนขวาขึ้น
4. หายใจออกเอาศอกขวาค้ำเข่าซ้าย จับขาด้านล่างหรือแตะไว้ตรงสะโพก ( สำหรับคนที่จับไม่ถึง )
5. มือซ้ายวางด้านหลังหายใจออก บิดตัวมองข้ามไหล่ซ้าย หายใจเข้าออกค้างไว้
6. แล้วหันกลับมา เหยียดมือ และขาออก แล้วทำเหมือนเดิมสลับข้าง
ข้อควรระวัง ไม่เหมาะสำหรับคนที่มีปัญหาโรคกระดูกคอและหลัง
ท่างู (Cobra Pose)
ตามมาด้วย " ท่างู " สำหรับท่านี้จะช่วยให้หน้าอกเปิด ทำให้ปอดขยายหายใจได้เยอะขึ้น ร่างกายสามารถรับออกซิเจนได้มากขึ้น และท่านี้ยังเป็นท่าที่ช่วยลดความเครียดได้อีกด้วย
วิธีการ
1. นอนคว่ำ วางมือให้ศอกกว้างประมาณหัวไหล่ หายใจเข้ายืดหัวไหล่ไปด้านหลัง
2. หายใจออก ค่อย ๆ เอาศอกดันให้หน้าอกเชิ่ดขึ้น มองตรงให้หน้าอกและหัวไหล่เปิด
ข้อควรระวัง ไม่เหมาะสำหรับคนที่มีโรคกระดูกสันหลัง มีครรภ์ เส้นประสาทที่มือถูกกดทับ มีอาการปวดหัว
ท่านักรบ (Warrior Pose)
ต่อด้วย " ท่านักรบ " เป็นท่าที่ช่วยบรรเทาอาการปวดได้เป็นอย่างดี ลดความตึงบริเวณไหล่ หลัง และคอ และท่านี้ยังเป็นอีกหนึ่งท่าที่ช่วยเปิดหน้าอก ทำให้หายใจได้ลึกขึ้น ช่วยให้ร่างกายได้รับออกซิเจนได้เยอะขึ้นด้วย
วิธีการ
1. ยืดตัวตรงเท้าชิดกัน ค่อย ๆ ก้มตัวลง หายใจเข้าแล้วงอเท่า
2. เหยียดขาขวาไปข้างหลังให้สุดขา ลดเข่าขวาลงพื้น
3. มือซ้ายจับมือขวาไว้ข้างหลัง หายใจเข้าแอ่นอกเงยหน้าขึ้นหายใจออก
4. หายใจเข้าวาดมือมาข้างหน้า หายใจออกยืดแขนไปข้างหลัง
5.หายใจเข้าแล้วยกตัวขึ้น หายใจออกเอามือลง บิดลำตัวกลับมาตำแหน่งเดิม
ข้อควรระวัง ควรวางตำแหน่งศีรษะให้ถูกต้อง เพื่อลดอาการบาดเจ็บ และไม่เหมาะสำหรับคนที่บาดเจ็บบริเวณไหล่ หลัง สะโพก หัวเข่า และคนที่มีความดันสูง
❤ อย่าลืมไลค์และแชร์บทความให้กำลังใจเราด้วยนะคะ ❤

อันดับบทความประจำวัน
(หมวดสุขภาพ)
Variety By SistaCafe

Feature
กิจกรรม SistaCafe