วิธีลดบวมโซเดียม
Articles health
สุขภาพ

วิธีลดบวมโซเดียม พร้อมเช็กลิสต์อาหารตัวบวมที่ควรเลี่ยง มีอะไรบ้าง ?

ก็ติดกินของอร่อยมากเกินไปช่วงนี้ แต่ดันตัวบวมโซเดียมไปหมด มีวิธีแก้ยังไงบ้างน้าาา งั้นเรามาดูกันในบทความนี้เลยรวมมาแล้วกับ วิธีลดบวมโซเดียม


» » - - » »
Sistacafe button sharefb
Down

เลือกอ่านตามหัวข้อ

  • [แสดง]
  • [ซ่อน]
    • สาเหตุของการบวมโซเดียม

    • สาเหตุของการบวมโซเดียม ที่ 1. การบริโภคโซเดียมมากจนเกินไป:

    • สาเหตุของการบวมโซเดียมที่ 2. การดื่มน้ำน้อยเกินไป

    • สาเหตุของการบวมโซเดียมที่ 3. การใช้ยาบางชนิด

    • สาเหตุของการบวมโซเดียมที่ 4. สภาวะทางสุขภาพอื่นๆ

    • อาหารตัวบวมที่ควรลด ถ้าไม่อยากบวมโซเดียมต้องรู้จักห้ามใจ

    • อาหารตัวบวมที่ควรลด 1. อาหารแปรรูป

    • อาหารตัวบวมที่ควรลดที่ 2. เครื่องปรุงรส

    • อาหารตัวบวมที่ควรลดที่ 3. อาหารที่มาจากธรรมชาติบางชนิด

    • อาหารตัวบวมที่ควรลดที่ 4. อาหารประเภท Fast Food

    • อาหารตัวบวมที่ควรลดที่ 5. อาหารประเภทหมักดอง

    • วิธีลดบวมโซเดียม มีอะไรบ้าง ?

    • วิธีลดบวมโซเดียม ที่ 1. ดื่มน้ำในปริมาณที่มากเพียงพอ

    • วิธีลดบวมโซเดียมที่ 2. พักผ่อนให้เพียงพอ

    • วิธีลดบวมโซเดียมที่ 3. ออกกำลังกาย

    • วิธีลดบวมโซเดียมที่ 4. ลดการกินอาหารแปรรูปต่าง ๆ

    • วิธีลดบวมโซเดียมที่ 5.

    • บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

    สวัสดีสาว ๆ ชาวซิสสส วันนี้กลับมากับบทความที่จะทำให้สาว ๆ ของเรากลับมาหุ่นดีอีกครั้งหลังจากการบวมโซเดียม ! ก็แหมม ของอร่อยก็ใส่โซเดียมกันเยอะจนขนาดนั้น ชีวิตนี้เราอยู่เพื่อกินไม่ใช่กินเพื่ออยู่ ! ไหนจะส้มตำเอย หมูกระทะเอย ยำเอย ทุกอย่างก็ล้วนมีโซเดียมกันทั้งนั้น ก็เข้าใจว่าช่วงนี้ปล่อยจอย แต่จะปล่อยให้ตัวเองบวมโซเดียมอันนี้ก็ไม่ไหวนะคะ ไหนวันนี้เรามาส่องกันดีกว่า ว่ามี วิธีลดบวมโซเดียม อะไรบ้างที่จะช่วยขับเจ้าโซเดียมนี้ออกไป !

    สาเหตุของการบวมโซเดียม

    สาเหตุของการบวมโซเดียม ที่ 1. การบริโภคโซเดียมมากจนเกินไป:

    การบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีปริมาณโซเดียมสูงเกินไปอาจทำให้ระดับโซเดียมในร่างกายสูงขึ้น และทำให้ร่างกายดูดซึมน้ำเก็บไว้ใต้ผิวหนังมากไป จึงเกิดอาการบวมน้ำได้ ตัวอย่างเช่น การบริโภคอาหารอุดมด้วยเกลือหรืออาหารที่ผ่านกระบวนการใส่เกลือหรือเครื่องปรุงมาก ๆ เช่น อาหารจานด่วน อาหารตามสั่ง อาหารสำเร็จรูป และเครื่องดื่มที่มีปริมาณโซเดียมสูง เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์


    สาเหตุของการบวมโซเดียมที่ 2. การดื่มน้ำน้อยเกินไป

    เพราะว่าการที่เรานั้นดื่มน้ำน้อยเกินไป ทำให้ร่างกายขาดน้ำและทำให้โซเดียมคงอยู่ในระดับสูงจึงก่อให้เกิดอาการบวมโซเดียมได้ และยังอาจเกิดขึ้นในบางกรณี เช่น ในการออกกำลังกายหนักโดยไม่ได้ดื่มน้ำเพียงพอหรือในสภาวะที่อากาศร้อนและชื้น ทำให้เกิดการเสียเหงื่อและขาดน้ำ


    สาเหตุของการบวมโซเดียมที่ 3. การใช้ยาบางชนิด

    บางยาที่ใช้ในการรักษาโรคบางประเภทอาจมีผลกระทบต่อระดับโซเดียมในร่างกาย อย่างเช่น ยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมของโซเดียมไฮโดรไซด์ หรือยาต้านอัลดอสเตอโรน การใช้ยาเหล่านี้ในปริมาณที่เกินหรือในระยะเวลาที่ยาวนานอาจทำให้เกิดการบวมโซเดียมในร่างกายได้


    สาเหตุของการบวมโซเดียมที่ 4. สภาวะทางสุขภาพอื่นๆ

    มีสภาวะทางสุขภาพบางอย่างที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดการบวมโซเดียม เช่น โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจ ภาวะตับเลือดและโรคอื่น ๆ ซึ่งสามารถกระทบต่อการปรับสมดุลของโซเดียมในร่างกายได้


    อาหารตัวบวมที่ควรลด ถ้าไม่อยากบวมโซเดียมต้องรู้จักห้ามใจ

    ซาลาเปา

    อาหารตัวบวมที่ควรลด 1. อาหารแปรรูป

    อาหารที่ผ่านกระบวนการผลิตต่าง ๆ ได้แก่ ไส้กรอก หมูยอ ลูกชิ้น อาหารกระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารเหล่านี้นั้นล้วนมีโซเดียมประกอบอยู่ ซึ่งก็มักที่จะมีปริมาณที่มาก ถ้าหากรับประทานเข้าไปเกินความจำเป็นของร่างกาย ก็อาจก่อให้เกิดโรคตามมาได้


    อาหารตัวบวมที่ควรลดที่ 2. เครื่องปรุงรส

    ไม่ว่าจะเป็นเกลือ น้ำปลา ซอสปรุงรส ซีอิ๊วขาว ซีอิ๊วดำ ซอสมะเขือเทศ น้ำมันหอย กะปิ ผงปรุงรส/ซุปก้อน หรือผงชูรส อย่างที่เราสามารถคาดคะเนจากเครื่องปรุงรสที่มีรสเค็มนั้น ประกอบไปด้วยปริมาณโซเดียมที่สูงปรี๊ดเลยละค่ะ อย่งซอสมะเขือเทศปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ก็มีโซเดียมมากถึง 140 มก. กันเลยทีเดียว


    อาหารตัวบวมที่ควรลดที่ 3. อาหารที่มาจากธรรมชาติบางชนิด

    นส่วนนี้หลายคนอาจจะคิดไม่ถึงว่าบางทีแล้วอาหารจากธรรมชาติก็มีโซเดียมในปริมาณที่ค่อนข้างสูงเหมือนกัน ซึ่งโซเดียมที่ว่านั้นอาจจะไม่ใช่โซเดียมที่อยู่ในตัวของอาหารนั้นตั้งแต่แรก แต่อาจจะเป็นโซเดียมที่เพิ่มเข้ามาในขั้นตอนของการผลิต เช่น กุ้งแช่แข็ง หรืออาหารทะเลแช่แข็ง หลายคนอาจจะไม่รู้ว่ากุ้งแช่แข็งมีการเติมเกลือเล็กน้อยเพื่อเพิ่มรสชาติ และอาจจะมีการใส่สารกันบูดเพื่อทำให้อาหารไม่เน่าเสีย และในสารกันบูดมันก็มีโซเดียมอยู่จำนวนหนึ่งเลยทีเดียว โดยปกติแล้วกุ้งแช่แข็ง 85 กรัม มีโซเดียมากถึง 800 มก.  และอาหารอีกอย่างที่มีโซเดียมสูงเพราะขั้นตอนการผลิตนั้นก็คือแฮม โดยปกติแล้วแฮมในปริมาณ 85 กรัม มีโซเดียมสูงถึง 1,117 มก. กันเลยทีเดียว


    อาหารตัวบวมที่ควรลดที่ 4. อาหารประเภท Fast Food

    อาหารอีกประเภทที่มีโซเดียมค่อนข้างสูงก็คืออาหารฟาสฟู๊ด เพราะส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นอาหารที่มีแป้ง มีน้ำตาล ไขมันและ ขาดไม่ได้เลยก็คือโซเดียมในการปรุงรสหรือว่าในการผลิต เช่น พิซซ่าหนานุ่ม ถาดกลาง 1 ชิ้น มีโซเดียมมากถึง 1,113 กรัม โดนัท 1 ชิ้น เองก็มีโซเดียม 300 มก. เลยทีเดียวน้าา


    บทความที่เกี่ยวข้อง
    Content quotation bg
    Disclaimer : หากมีข้อสงสัย กรุณาติดต่อทีมงานมาที่ [email protected]
    Content quotation bg


    ดาวน์โหลดแอพ
    ดาวน์โหลดแอพดาวน์โหลดแอพ
    Icon ranking

    อันดับบทความประจำวัน

    (หมวดสุขภาพ)

    Variety By SistaCafe

    Icon feature 100x100

    Feature

    กิจกรรม SistaCafe