สุขภาพนั้นเป็นเรื่องสำคัญโดยเฉพาะกับความผิดปกติที่นานครั้งเกิดขึ้น แต่ถ้าเกิดขึ้นแล้วต้องรีบเช็กให้ชัวร์เพื่อที่จะได้หาทางรักษาอย่างโดยด่วนอย่าง ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ หรือ PCOS เช็กก่อนจะเป็นอันตรายที่รักษาไม่ได้

เลือกอ่านตามหัวข้อ
ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือ PCOS คืออะไร ?
อาการที่สามารถเสี่ยงเกิดภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ
ความสัมพันธ์ PCOS กับความอ้วนในผู้หญฺิง
ความรุนแรงของภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ
แนวทางการรักษาภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ
วิธีดูแลตัวเองของภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ
บทความแนะนำ ที่ซิสต้องไม่พลาด
⇄ ⇅ ⇆ ⇇ ⇈ ⇉ ⇊
ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือ PCOS คืออะไร ?

ขอบคุณรูปภาพจาก : https://i.pinimg.com/564x/5d/67/1e/5d671ea45f7fa3fe11f0897a0264d888.jpg
อาการที่สามารถเสี่ยงเกิดภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ

ขอบคุณรูปภาพจาก : https://i.pinimg.com/564x/8a/ec/a9/8aeca909ad37e392025ffb77610eda32.jpg
- ประจำเดือนเว้นช่วงนาน ห่างกันมากกว่า 35 วัน หรือมาไม่เกิด 6-8 ครั้งต่อปี
- รอบประจำเดือนขาด 6 เดือนในผู้หญิง ที่ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ แสดงถึงภาวะไม่ตกไข่เรื้อรัง
- ประจำเดือนมากะปริบกะปรอยหรืออาจจะมามากเกินไป มานานติดต่อกันจนผิดปกติ รวมไปถึงเยื่อบุโพรงมดลูกหนาผิดปกติด้วย
- ภาวะแอนโดรเจน (Androgen) เกิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนในเพศชายที่มีอยู่ในร่างกายทั้งของผู้ชายและผู้หญิง เมื่อพบว่าฮอร์โมนเพศชายมีมากในเพศหญิงเกินไป สามารถทำให้เกิดภาวะขนหนาและขนดก สิวขึ้นมากกว่าเดิม ผิวมัน และหนังศีรษะเริ่มล้าน เป็นต้น
- น้ำหนักมากเกินไปหรืออ้วนขึ้นจากเดิมเป็นเท่าตัว ทำให้ดื้อต่อน้ำตาลอินซูลิน ทั้งยังเป็นการเพิ่มโอกาสอาการภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบได้
ความสัมพันธ์ PCOS กับความอ้วนในผู้หญฺิง
ความรุนแรงของภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ
- มีบุตรยาก เนื่องจากภาวะไม่ตกไข่เรื้อรัง และหากเกิดการตั้งครรภ์มีโอกาสที่จะแท้งลูกในช่วง 3 เดือนแรกได้ เกิดโรคแทรกซ้อนขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ด้วยเช่นกัน เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ครรภ์เป็นพิษ ทารกเติบโตช้าขณะอยู่ในครรภ์
- เพิ่มความเสี่ยงการหนาตัวของเยื่อบุในโพรงมดลูก มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก และมะเร็งเต้านม
แนวทางการรักษาภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ

ขอบคุณรูปภาพจาก : https://i.pinimg.com/564x/0e/dc/9e/0edc9e1ba82db3515ffddf9842cb3af2.jpg
2. ในรายที่ต้องการมีบุตร อาจปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมีบุตร เพื่อร่วมประเมินและให้การรักษา โดยมีวิธีรักษาได้แก่
- ใช้ยากระตุ้นไข่ชักนำให้เกิดการตกไข่ แล้วทำการฉีดเชื้อ หรือการทำเด็กหลอดแก้ว ขึ้นอยู่กับความรุนแรงหรือความผิดปกติของโรคในสตรีแต่ละบุคคล
- การรักษาด้วยการผ่าตัด จะใช้แค่เฉพาะกลุ่มสตรีที่มีลูกยาก โดยจะทำการผ่าตัดเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการตกไข่
3. ลดความอ้วน ควบคุมน้ำหนักควบคู่ไปกับการกินอาหาร เมื่อสามารถลดน้ำหนักได้ตามเกณฑ์ การทำงานของฮอร์โมนในร่างกายก็สามารถที่จะกลับมาใกล้เคียงจนถึงปกติ ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ
4. ป้องกันภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว ได้แก่ รักษาภาวะดื้ออินซูลิน ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด รักษาและป้องกันเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว เป็นต้น
วิธีดูแลตัวเองของภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ

ขอบคุณรูปภาพจาก : https://i.pinimg.com/564x/c3/9e/dc/c39edc60232fcfea20facd74089faae6.jpg
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ เน้นผักผลไม้ เลี่ยงแป้งและอาหารไขมันสูง
- ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ
- ไม่เครียด ทำจิตใจให้แจ่มใส เพราะความเครียดทำให้ฮอร์โมนผิดปกติ
- ใช้ยาฮอร์โมนตามแผนการรักษาของแพทย์อย่างต่อเนื่อง ไม่ควรหยุดยา หรือลดยาเอง หรือปรับเปลี่ยนยาเอง
- ไปตรวจติดตามตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ
⇄ ⇅ ⇆ ⇇ ⇈ ⇉ ⇊
เมื่อเกิดความผิดปกติสิ่งที่เราสามารถทำได้เลยคือรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจโรคและทำการวินิจฉัยให้ชัดเจน เพื่อที่จะได้หาทางรีบแก้ไขหรือรักษา ซึ่งสิ่งที่ต้องทำควบคู่กับทั้งก่อนและ หลังจากรู้ถึงความเสี่ยงของตัวเองที่เข้าข่าย ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ หรือ PCOS นั้นคือการใส่ใจในการควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และใส่ใจการทานผักผลไม้มากขึ้น สังเกตตัวเองเพื่อที่จะได้รับรู้ความผิดปกติที่แสดงออก ฉะนั้นแล้วอย่าลืมดูแลสุขภาพกับด้วยนะคะ

อันดับบทความประจำวัน
(หมวดสุขภาพ)
Variety By SistaCafe

Feature
กิจกรรม SistaCafe