โรคแปลกๆ
Articles originalcontent
Original Content

โรคแปลกๆ ที่มีอยู่จริง เรามีอาการเข้าข่ายโรคเหล่านี้ไหม เช็กหน่อยก็ดี !?

วันนี้เรารวบรวมกลุ่ม โรคแปลกๆ ที่มีอยู่จริงมาแชร์ต่อให้ชาวซิส ลองสังเกตตัวเองดูซิว่าตัวเราเองมีอาการเข้าข่ายกับโรคไหนบ้างรึเปล่า!? เพราะยิ่งพบเร็วก็ยิ่งหาทางรักษาตัวได้เร็วด้วย


» » - - - »
Sistacafe button sharefb
Down

เลือกอ่านตามหัวข้อ

  • [แสดง]
  • [ซ่อน]
    • เช็กหน่อยก็ดี! เรามีอาการเข้าข่าย โรคแปลกๆ แต่มีอยู่จริง เหล่านี้ไหม ?

    • โรคแปลกๆ ที่ 1. โรคนอนมากเกินไป (hypersomnia)

    • โรคแปลกที่ 2. โรคศพเดินดิน (Walking corpse Syndome)

    • โรคแปลกที่ 3. โรคอลิซในดินแดนมหัศจรรย์ (Alice in Wonderland syndrome)

    • โรคแปลกที่ 4. โรคกลัวการถูกสัมผัส (Aphenphosmphobia)

    • โรคแปลกที่ 5. โรคกลัวเชื้อโรค (Mysophobia)

    • โรคแปลกๆที่ 6. โรคคิดว่าตัวเองไม่เก่ง (Impostor Syndrome)

    • โรคแปลกๆที่ 7. โรคกลัวรู (Trypophobia)

    • โรคแปลกที่ 8. โรคกลัวความรัก (Philophobia)

    • โรคแปลกๆที่ 9. โรคลืมใบหน้า (Prosopagnosia)

    • โรคแปลกๆที่ 10. โรคกลัวทะเลลึก (Thalassophobia)

    • บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

    มีอยู่หลายโรคเหมือนกันนะที่เราไม่เคยเห็น หรืออาจต้องบอกว่า "ไม่คิดว่าจะมีโรคนี้ด้วย" น่าจะถูกกว่ากับ โรคแปลกๆ ที่คิดว่าไม่มี แต่กลับมีอยู่จริง เพื่อนๆ คิดว่ามีโรคอะไรบ้าง ? เอาจริงๆ ต้องบอกก่อนว่าส่วนใหญ่แล้ว รคแปลกนั้นมักจะจัดอยู่ในหมวดของโรคจิตเวชชนิดหนึ่ง บางโรคก็น่ากลัว บางโรคก็ไม่น่ากลัว แต่อย่างไรก็ตามหากเราเช็กอาการแล้วพบว่าตนเองเข้าข่ายเป็นโรคดังกล่าว ก็จะได้รักษาได้ทัน ลดโอกาสเผชิญกับปัญหาทั้งทางร่างกายและจิตใจในระยะยาว วันนี้เราเลยได้ทำการรวบรวม 10 โรคแปลกแต่มีอยู่จริง ที่เพื่อนๆ อาจจะเคยหรือไม่เคยรู้จักมาแชร์ งั้นเราไปดูพร้อมๆ กันเลย

    เช็กหน่อยก็ดี! เรามีอาการเข้าข่าย โรคแปลกๆ แต่มีอยู่จริง เหล่านี้ไหม ?

    โรคแปลกๆ ที่ 1. โรคนอนมากเกินไป (hypersomnia)

    โรคง่วงนอนมากผิดปกติ (Hypersomnia) พออ่านชื่อโรคแล้ว ดูไม่ได้น่ากลัวนะ แต่จะชะล่าใจไม่ได้เด็ดขาดค่ะ เพราะโรคนี้ก็อันตรายต่อสุขภาพของเราเช่นกัน ว่ากันว่ามักจะพบมากในผู้หญิงมากกว่าชาย ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นหรือวัยเริ่มทำงาน อาการของโรคนี้ เพื่อนๆ จะรู้สึกง่วงนอนมากผิดปกติ มีอาการง่วงผิดปกติอย่างน้อย 3 วัน/สัปดาห์ ติดต่อกันเกิน 3 เดือน โดยไม่สามารถฝืนตัวเองให้ตื่นได้ ทั้งๆ ที่ได้นอนเพียงพอแล้ว โดยผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ส่วนใหญ่เลย จะนอนเกิน 10 ชั่วโมง! และมีการงีบหลับหลายครั้งในเวลากลางวัน มีอาการงัวเงียมากหลังตื่นนอนในตอนเช้า ตื่นยาก หรืองัวเงียมากแม้กระทั่งหลังตื่นจากการงีบหลับกลางวัน ตื่นมารู้สึกไม่สดชื่น เพลีย ไม่มีแรง และอารมณ์หงุดหงิด

    สาเหตุ
    1. อดนอนเป็นเวลานาน และบ่อยครั้ง จนทำให้ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ
    2. นาฬิกาชีวิตแปรปรวน ปรับเวลาผิด เช่น ผู้ที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศที่มีช่วงเวลาต่างกันมาก
    3. ฮอร์โมนในร่างกายหรือสารเคมีในสมองผิดปกติ ทำให้นอนมากเกินไป
    4. นอนกรน มีภาวะหยุดหายใจในช่วงหลับ ทำให้ร่างกายรับออกซิเจนไม่เพียงพอ
    5. สมองได้รับการบาดเจ็บ หรือเป็นโรคเกี่ยวกับสมอง

    *** กรณีการวินิจฉัยของคุณหมอ ถ้าเพื่อนๆ มีอาการรนอนหลับเพิ่มในวันเดียวกัน ระยะเวลาการนอนหลับยาวนานมากขึ้น และมีอาการอ่อนเพลียหลังจากตื่นนอนแล้ว รวมไปถึงตื่นยาก ปลุกยังไงก็ไม่ตื่น เอะอะจะนอนมันอย่างเดียว นอนมากกว่า 10 ชั่วโมง หากมีอาการดังกล่าวอยู่อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ติดต่อกันในช่วง 3 เดือน มีโอกาสที่จะเป็นโรคนอนหลับมากเกินไปได้

    วิธีการรักษา
    แบ่งเป็น 2 วิธี วิธีแรกคือ การใช้ยา หากเราไปพบแพทย์ หลังจากคุณหมอมีการวินิจฉันออกมาแล้ว ว่าเราเป็นโรคนี้ การรักษาจะแบ่งเป็น 2 วิธี หนึ่งในนั้นคือการใช้ยาช่วย และอีกหนึ่งวิธีคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยปรับการนอนให้เป็นเวลา บรรยากาศห้องต้องเหมาะสมกับการนอนหลับ งดดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีนตอนบ่าย งดออกกำลังกายหนักหรือกินมื้อใหญ่ก่อนเวลาเข้านอน งดนอนกลางวันใกล้เวลานอน เป็นต้น

    โรคแปลกที่ 2. โรคศพเดินดิน (Walking corpse Syndome)

    อีกหนึ่งโรคแลก ที่ไม่คิดว่าจะมีจริงๆ ถ้าใครเคยดูหนังแนวซอมบี้ แนวแบบศพเดินได้ จะเก็ทโรคนี้ขึ้นมาทันที ซึ่งนั่นก็คือ โรคศพเดินดิน (Walking corpse Syndome) ซึ่งโรคนี้เป็นภาวะทางจิตเวชที่พบไม่บ่อย ว่ากันว่าเกิดจากความเชื่อผิดๆ ที่ผู้ป่วยเข้าใจว่าร่างกายของตนเองเกิดความผิดปกติ กำลังจะตาย หรือคิดว่าร่างกายของตนเองไม่มีอยู่จริง มักเกิดขึ้นกับคนที่เป็นภาวะซึมเศร้าอย่างรุนแรง และโรคจิตบางประเภท หรืออาจมาพร้อมกับสภาวะทางระบบประสาทอื่นๆ อ่านแล้วอาจจะรู้สึกร้ายแรง แต่เป็นโรคที่สามารถรักษาได้นะ

    อาการของโรคนี้ สังเกตได้ว่าผู้ที่เป็นโรคศพเดินได้มักจะเข้าสังคมน้อยลง บางคนจะได้ยินเสียงที่บอกว่าตนเองกำลังจะตายหรือตายไปแล้ว หรืออาจไม่กินอะไร และบางคนอาจพยายามทำร้ายตนเอง นอกจากนี้ยังมีอาการวิตกกังวล หมกมุ่นอยู่กับความตายและการสูญสลายของชีวิต ซึ่งโรคนี้จะมีความใกล้เคียงกับโรคซึมดเศร้าอยู่ ว่ากันว่าคนที่ป่วยเป็นโรคศพเดินได้ส่วนใหญ่นั้น มีอาการซึมเศร้าร่วมอยู่ด้วย

    สาเหตุ
    สาเหตุหลักๆ ของโรคศพเดินได้นั้น อาจจะมีสาเหตุมาจากการกระทบกระเทือนทางจิตใจหรือสมอง เรื่องที่ทำให้รู้สึกกลัวหรือฝังใจ จนทำให้เกิดการหลงผิด ทั้งนี้โรคศพเดินได้ ยังมีผลพวงมาจากโรคทางจิตเวชและโรคอื่นๆ อีกด้วยนะ ยิ่งถ้าผู้ป่วยมีอาการของโรคไบโพลาร์ ซึมเศร้า การติดเชื้อในสมอง และอื่นๆ ก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้ เพราะโรคศพเดินได้นั้น ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดจากอาการของปัญหาที่เกี่ยวกับภาวะทางระบบประสาท หรือภาวะสุขภาพจิตนั่นเอง

    วิธีรักษา
    แม้จะเป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อยนัก แต่เอาจริงๆ ก็แอบน่ากลัวเหมือนกันนะ แต่ว่าโรคนี้มีวิธีการรักษาอยู่ค่ะ ใครที่พบว่าคนใกล้ชิดมีอาการน่าเป็นห่วง ให้รีบพาไปพบแพทย์ทันที ซึ่งแพทย์จะใช้การรักษาด้วยยา เช่น ยาต้านโรคซึมเศร้า ยาต้านอาการทางจิต หรือยาควบคุมอารมณื เป็นต้น ทั้งนี้ทั้งนั้น นอกจากการใช้ยาแล้ว ยังมีการบำบัดควบคู่ไปด้วย เพื่อให้ผู้ป่วยค้นหาวิธีการคิดที่ถูกต้องและช่วยให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตต่อไปอย่างดีมากยิ่งขึ้น

    โรคแปลกที่ 3. โรคอลิซในดินแดนมหัศจรรย์ (Alice in Wonderland syndrome)

    นี่มันเรื่องจริงๆ ไม่ใช่เทพนิยายใดๆ มีอยู่จริงกับ โรคอลิซในดินแดนมหัศจรรย์ (Alice in Wonderland syndrome) ถ้าเพื่อนๆ นึกไม่ออก ให้นึกถึงตัวละครอลิซเลยค่ะ ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายๆ แบบนั้น ซึ่งอาการของผู้ป่วยโรคนี้จะมีอาการผิดปกติคือ มองเห็นภาพบิดเบี้ยว ผิดสัดส่วน คล้ายๆ กับเวลาเข้าสวนสนุก แล้วเจอบ้านกระจกที่กระจกบิดๆ เบี้ยวๆ เห็นตัวเองบิดไปบิดมา พูดง่ายๆ ก็คือ การมองเห็นและการประมวลผล ไม่ไปในทิศทางที่ควรจะเป็น มักจะมองเห็นสิ่งของ รูปร่างต่างๆ ผิดไปจากเดิม นอกจากนี้การรับรู้ก็ผิดปกติและการเคลื่อนไหวก็ผิดแปลกไปจากปกติด้วย

    สาเหตุ
    จริงๆ แล้วการวินิจฉัยแบบชัดๆ ยังไม่ค่อยมี แต่ว่ากันว่า มีกลุ่มอาการบางอย่าง ที่อาจจะส่งผลให้เราสามารถป่วยเป็นโรคของอลิซในแดนมหัศจรรย์ได้ นั่นก็คือ การปวดศีรษะไมเกรนบ่อยครั้ง แม้กระทั่งอาการของโรคจิตเภท การติดเชื้อ mononucleosis ซึ่งมีผลต่อส่วนต่างๆ ของสมองอาการชักลมชัก พร้อมกับสภาวะประสาทหลอน และเนื้องอก มะเร็งในสมอง เป็นต้น ทั้งนี้ปัจจัยเสี่ยงอีกหนึ่งอย่าง ที่อาจส่งผลให้เป็นโรคนี้ได้ก็คือ การใช้ยาเสพติด รวมไปถึงความเครียดที่ฝังลึก ก็อาจทำให้เกิดโรคนี้ได้เช่นกัน

    วิธีรักษา
    วิธีการรักษาที่เริ่มจากตัวเอง คือการลดความตึงเครียดและอย่าใช้สารเสพติด รวมทั้งต้องใส่ใจและดูแลตัวเองให้ดีๆ แต่ถ้าหากพบว่า เราเริ่มมีอาการแปลกๆ แล้ว ควรรีบไปพบแพทย์ ซึ่งแนวทางรักษาก็จะมีทั้งการบำบัดด้วยความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรม การให้ผู้ป่วยได้เข้าบรับการพักฟื้น รวมไปถึงการทำความเข้าใจกับคนรอบข้าง ให้เข้าใจในตัวของผู้ป่วย นอกจากนี้ ก็ยังมีการใช้ยาในการรักษาร่วมด้วย

    โรคแปลกที่ 4. โรคกลัวการถูกสัมผัส (Aphenphosmphobia)

    อาการกลัว

    อีกหนึ่งโรคที่เรามักจะได้เห็นและได้ยินกันบ่อยๆ โรคกลัวการถูกสัมผัส (Aphenphosmphobia) เป็นโรคเกี่ยวกับความวิตกกังวลที่มีลักษณะกลัวการถูกสัมผัสร่างกาย โดยเฉพาะกับเพศตรงข้าม หรือคนแปลกหน้าที่ตัวผู้ป่วยไม่ได้รับการยินยอม อาการของผู้ป่วยโรคนี้ส่วนใหญ่เลย มักจะรู้สึกกลัว วิตกกังวล และอารมณ์โกรธทันที เมื่อถูกการสัมผัส เหงื่อออก ร่างกายรู้สึกร้อนๆ หนาวๆ บางคนถึงขั้นเป็นลม หมดสติกะทันหัน ซึ่งถือว่ามีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากๆ

    สาเหตุ
    สาเหตุของโรคนี้ อาจเกิดผู้ป่วยเจอกับเหตุการณ์สะเทือนจิตใจ เช่น การถูกลวนลาม การถูกละเมิดทางเพศ การใช้ความรุนแรง การทำร้ายร่างกายและการถูกกักขัง นอกจากนี้ การโดนบูลลี่ โดนดูถูกเรื่องรูปร่าง หน้าตา ก็มีส่วนที่ก่อให้เกิดโรคนี้ได้เช่นเดียวกัน

    วิธีรักษา
    วิธีการรักษาที่ดีที่สุดคือ การเอาชนะความกลัว พูดเหมือนง่าย แต่ไม่ได้ง่ายขนาดนั้น วิธีแรกคือ การเข้ารับการบำบัด พูดคุย ทำความเข้าใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมไปถึงกระบวนการคิด วิธีที่สอง การปรับตัว ให้ผู้ป่วยได้ลองใกล้ชิด หรือลองสัมผัส และอีกหนึ่งวิธีคือ การใช้ยาบางชนิดที่ช่วยบรรเทาความวิตกกังวล

    โรคแปลกที่ 5. โรคกลัวเชื้อโรค (Mysophobia)

    รักความสะอาดเป็นเรื่องที่ดี แต่มากไปก็ไม่ดี เพราะเพื่อนๆ อาจเสี่ยงเป็น โรคกลัวเชื้อโรค (Mysophobia) พูดง่ายๆ คือ กลัวเชื้อโรคเข้าเส้นเลือด! กลัวความสกปรก กลัวพื้นที่ที่ไม่สะอาด กลัวการปนเปื้อนต่างๆ รวมไปถึงการติดเชื้อ จะรู้สึกไม่โอเคมากๆ ที่ต้องอยู่ร่วมหรือใช้ของร่วมกับใคร คำว่ากลัวในที่นี้คือ กลัวแบบมากๆ กลัวที่สุด กลัวจนจะตายได้

    ซึ่งอาการของคนที่ป่วยเป็นโรคนี้ส่วนใหญ่ อย่างแรง ชัดเจนอยู่แล้ว เขาและเธอจะกลัวเชื้อโรคและความสกปรกขั้นรุนแรง ถึงขั้นเสียอาการเมื่อต้องสัมผัสหรือเข้าใกล้ความสกปรก และมักจะมีปฏิกิริยาในแง่ลบอย่างผิดปกติ เช่น ร้องไห้ โวยวาย เหงื่อแตก ตัวสั่น เมื่อต้องเจอกับความสกปรก บางคนถึงขั้นป่วย หน้ามืดเลยก็มี ทั้งนี้คนที่เป็นโรคนี้ จะชอบล้าง เช็ด อาบ ฉีดสเปรย์ฆ่าเชื้อบ่อยๆ ในทุกๆ สถานการณ์ ไม่ว่าจะหยิบ จับอะไรก็แล้วแต่ และที่สังเกตได้ชัดอีกข้อคือ เขาจะไม่ใช่ของร่วมกับใคร ไม่ใช่แค่สิ่งของ แต่รวมไปถึงห้องน้ำสาธารณะ รถสาธารณะ บลาๆ และจะหลีกเลี่ยงการสัมผัสร่างกายคนอื่นด้วย

    สาเหตุ
    โรคนี้เกิดจากพฤติกรรมของคนในครอบครัว หรือเกิดกับคนที่ผ่านเหตุการณ์รุนแรงที่มีความรู้สึกกลัวนี้เกี่ยวข้อง หรือมีปมกับการสัมผัสเชื้อโรค สัมผัสความสกปรกมาก่อน แม้แต่กับคนที่รักสะอาดมากๆ ก็มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้ได้เช่นกันและอาจเกี่ยวข้องกับความผิดปกติสารเคมีในสมองที่ทำให้เกิดโฟเบียด้วย

    วิธีรักษา
    โรคนี้สามารถรักษาได้ วิธีแรกคือการบำบัด ซึ่งผู้ป่วยที่จะรับการรักษา จะต้องให้ความร่วมมือด้วยมากๆ เพราะจะต้องฝึกให้ผู้ป่วยเผชิญหน้ากับความกลัวของตัวเองอย่างค่อยเป็นค่อยไป จนบรรลุเป้าหมายในการรักษา วิธีที่สองคือ รักษาด้วยยา ซึ่งยาส่วนใหญ่ก็จะเป็นยาลดอาการวิตกกังวล ยาระงับอาการสั่นซึ่งวิธีการใช้ยาก็จะใช้ควบคู่ไปกับการบำบัดนั่นแหละ โดยยาจะช่วยทำให้ผู้ป่วยรู้สึกกลัวน้อยลงและกล้าที่จะเข้าบำบัดนั่นเอง

    โรคแปลกๆที่ 6. โรคคิดว่าตัวเองไม่เก่ง (Impostor Syndrome)

    โรคคิดว่าตัวเองไม่เก่ง คือการคิดว่าตัวเองไม่มีความสามารถจริงๆ ปัจจุบันพบผู้ป่วย โรคคิดว่าตัวเองไม่เก่ง (Impostor Syndrome) ในกลุ่มนักเรียน นักศึกษา คนที่เพิ่งเปลี่ยนงานใหม่ หรือในคนทั่วๆ ไปมากขึ้นด้วย ซึ่งอาการของโรคนี้ อาจจะสังเกตได้หรือไม่ได้ แล้วแต่บุคคบางคนภายนอกดูมั่นใจในตัวเอง แต่ลึกๆ แล้วจะไม่เชื่อว่าตัวเองมีความสามารถ บางคนอินกับความสมบูรณ์แบบ มีความคาดหวังที่สูงลิ่ว และเมื่อผลไม่เป็นไปอย่างที่หวัง ก็จะรู้สึกผิดหวัง และโทษตัวเองงั้นงี้ บางคนกลัวความผิดพลาดมากๆ เพราะงั้นจึงพยายามเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และพัฒนาทักษะของตัวเองอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้ตัวเองดูไร้ความสามารถ คือถ้าพูดรวมๆ เลยคือ ผู้ป่วยมักจะคิดว่าตัวเองไม่ดีพอ ไม่สมบูรณ์แบบ แม้จะไม่มีข้อผิดพลาด แต่ก็พยายามหาข้อผิดพลาดของตัวเอง เพื่อตำหนิตัวเองอยู่ตลอด

    สาเหตุ
    โรคนี้อาจเกิดขึ้นได้กับคนที่ขาดความมั่นคงทางอารมณ์ ขาดความทะเยอะทะยานและไม่สามารถทำตามแบบแผนที่ถูกกำหนดได้ หรือบางครั้งอาจพบในคนที่มีนิสัยรักความสมบูรณ์แบบก็ได้เช่นกัน นอกจากนี้ การเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อมในวัยเด็ก แรงกดดัน ความคาดหวังต่างๆ ก็มีส่วนด้วยเหมือนกัน รวมไปถึงปัญหาสุขภาพจิต อย่างโรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้า ซึ่งอาจทำให้สภาพจิตใจของบุคคลนั้นเปลี่ยนแปลงไปได้เช่นกัน

    วิธีรักษา
    วิธีการรักษาที่ดูที่สุดเริ่มจากตัวเรา หยุดจับผิวตัวเอง หยุดโทษและตำหนิตัวเอง หันกลับมามองตัวเองในด้านบวก นึกถึงตนเองในสิ่งดีๆ วันละ 1 อย่าง ทำต่อเนื่องทุกวัน วิธีที่สองคือ ฝึกการรับรู้และรู้จักความสามารถของตนเอง คนเราต้องรู้จักประมาณตน มนุษย์ทุกคนมีทั้งข่อดีและข้อผิดพลาด การรับรู้ว่าเราสามารถทำอะไรได้บ้าง รวมถึงการรู้จักความสามารถของตนเอง จะส่งผลให้ชีวิตของเราไม่สับสน รู้ว่าเรามีจุดแข็งหรือข้อดีอะไร และได้กลับมาภูมิใจในตนเองในแบบที่เราเป็นจริง แต่ถ้าถึงที่สุดแล้ว รู้ว่าตัวเองทำไมได้ ลองไปปรึกษาแพทย์ดู อย่าปล่อยให้อะไรๆ แย่ไปมากกว่านี้

    บทความที่เกี่ยวข้อง
    Content quotation bg
    Disclaimer : หากมีข้อสงสัย กรุณาติดต่อทีมงานมาที่ [email protected]
    Content quotation bg


    ดาวน์โหลดแอพ
    ดาวน์โหลดแอพดาวน์โหลดแอพ
    Icon ranking

    อันดับบทความประจำวัน

    (หมวดOriginal Content)

    Variety By SistaCafe

    Icon feature 100x100

    Feature

    กิจกรรม SistaCafe