Articles etc
อื่น ๆ

วิธีเก็บเงิน ฉบับมนุษย์เงินเดือน First Jobber ที่ต้องบอกต่อ

ชาวมนุษย์เงินเดือนอย่างเรา ๆ เข้าใจกันดีว่าการ เก็บเงิน หรือออมเงินนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก โดยเฉพาะ first jobber ที่เงินเดือนอาจจะยังไม่เยอะมาก เพราะพึ่งเริ่มต้นในสายงานที่ทำ บทความนี้เลยมีวิธีการเก็บออมเงินดี ๆ มาฝากกัน จะเป็นยังไงบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ


» » - »
Sistacafe button sharefb
Down

เลือกอ่านตามหัวข้อ

  • [แสดง]
  • [ซ่อน]
    • วิธีเก็บเงิน ฉบับมนุษย์เงินเดือน First Jobber ที่ต้องบอกต่อ

    • วิธีเก็บเงินแบบที่ 1 : 50 30 20

    • วิธีเก็บเงินแบบที่ 2 : เก็บก่อนใช้

    • วิธีเก็บเงินแบบที่ 3: เงินเดือนมากขึ้น เก็บมากขึ้น

    • วิธีเก็บเงินแบบที่ 4 : ให้รางวัลตัวเอง

    • การมีเงินเก็บดียังไง?

    • เก็บเงินไม่ได้ทำยังไงดี?

    • สรุปส่งท้าย

    • บทความแนะนำที่ไม่ควรพลาด


    ชาวออฟฟิศอย่างเรา ๆ เข้าใจกันดีว่าการเก็บเงินหรือออมเงินนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก โดยเฉพาะ first jobber ที่เงินเดือนอาจจะยังไม่เยอะมาก เพราะพึ่งเริ่มต้นในสายงานที่ทำ ค่าใช้จ่ายก็เยอะ ทั้งค่าห้อง ค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายจิปาถะ ค่ากินหรือแม้กระทั่งการใช้จ่ายสำหรับความชอบของตัวเอง ส่งผลให้เดือนชนเดือน ใช้ชีวิตแบบชีวิตวนลูป ทำงาน รอเงินเดือนออกและทำงาน ชีวิตวนเวียนไปแบบนี้เรื่อย ๆ ทำให้การเก็บเงินเเต่ละก้อนมันยากซะเหลือเกิน...

    วันนี้เราเลยจะพาชาวซิสที่กำลังเริ่มต้นเก็บเงินมารู้จักกับ Tips and Tricks การเก็บเงิน ที่เคยใช้เเล้วได้ผลกันค่ะ:)

    วิธีเก็บเงิน ฉบับมนุษย์เงินเดือน First Jobber ที่ต้องบอกต่อ

    วิธีเก็บเงินแบบที่ 1 : 50 30 20

    วิธีเก็บเงิน

    10 20 30 40 ผมชอบลงรถ ผมชอบลงเรือ ผมชอบขึ้นเหนือ ผมชอบขึ้นลิฟต์~
    10 20 30 40 ผมช่วยคนจน ผมช่วยคนรวย
    มาช่วยผมด้วย ผมติดอยู่ในลิฟต์~~
    เอ้ย ไม่ใช่! 50 30 20 ในที่นี้เป็นสัดส่วนการจัดการเงินเดือนต่างหาก

    สูตรนี้มีหลักการอยู่ว่า...

    50% สำหรับ Needs
    คือ ค่าใช้จ่ายที่จำเป็น เช่น ค่าบ้าน ค่ารถ ค่าไฟ
    30% สำหรับ Wants คือ ค่าใช้จ่ายสำหรับความสุขส่วนตัว เช่น เสื้อผ้า กระเป๋า หนังสือ อัลบั้มศิลปินที่ชอบ
    20% สำหรับ Saving คือ ส่วนที่จะนำมาออมและลงทุน

    เช่น เรามีเงินเดือน 15,000 บาท
    7,500 บาทจะถูกแบ่งไว้สำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็น
    5,250 บาทจะถูกแบ่งไว้สำหรับความสุขส่วนตัว
    2,250 บาทจะต้องเป็นส่วนที่เราเก็บ

    ส่วนในพาร์ทการลงทุนนั้น ขึ้นอยู่กับว่าเราพอใจที่จะเอาเงินเก็บกี่เปอร์เซ็นต์ไปลงทุนและลงทุนกับอะไร 

    สูตรนี้เป็นเหมือนการนำทางคร่าว ๆ ให้เราสามารถมองเห็นภาพชัดขึ้นว่าเราจะจัดการกับการเงินของตัวเองอย่างไร แต่ก็สามารถปรับแต่งสูตรตามไลฟ์สไตล์หรือเงื่อนไขในชีวิตของเราได้นะ อย่ากดดันตัวเองเกินไปล่ะ

    วิดีโอเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการเก็บเงินแบบ 50 30 20

     

    วิธีเก็บเงินแบบที่ 2 : เก็บก่อนใช้

    วิธีเก็บเงิน

    เคยไหมที่ตั้งมั่นกับตัวเองว่าเดือนนี้จะเก็บเงิน แต่ใช้ก่อนค่อยเก็บทีหลัง ตามสถิติแล้ว การทำแบบนั้นเปอร์เซ็นต์ที่จะได้เก็บเงินจริง ๆ นั้นยากมาก เพราะฉะนั้น ตั้งใจจะเก็นเงินเท่าไหร่ ให้แยกส่วนนั้นออกมาตั้งแต่แรกค่ะ


    ขอยกตัวอย่างจากประสบการณ์ของตัวเองนะ เราเป็นคนที่เก็บเงินไม่เป็นเลยตั้งเเต่เด็ก จนเรียน ทำงานได้ปีนึงไม่มีเงินเก็บเลย ด้วยค่าใช้จ่ายและนิสัยช้ก่อนค่อยเก็บเนี่ยแหละ แต่พอเราลองเปลี่ยนมาใช้วิธีการ เก็บก่อนใช้ " เก็บเงินได้เฉยเลย อาจจะเป็นเพราะเราเลือกที่จะเเบ่งเงินส่วนหนึ่งออกมา เลยทำให้เห็นส่วนอื่น ๆ ชัดเจนขึ้น จนตอนนี้การเก็บเงินกลายเป็นสิ่งที่เราทำทุก ๆ เดือน เเละทันทีที่เงินเดือนออก เราจะ...

    1.
    เเยกเงินที่จะเก็บออกมาก่อน ทำให้เป็นปฏิกิริยาอัตโนมัติเลยนะ
    2. เริ่มจากเก็บเป็นเงินสด เพราะการที่เราไม่เห็นเงินในส่วนนั้นในบัญชี เราก็จะลืมมันไปเลย(หากล่องหรือกระเป๋าใส่เงินไว้เป็นสัดส่วน)
    3. ก็บได้ประมาณนึงตามที่เราต้องการค่อยเก็บเข้าธนาคาร อาจจะเเยก "บัญชีเก็บ กับ บัญชีใช้" เพื่อไม่ให้ใจอ่อนหรือใช้ปนกัน

    วิธีเก็บเงินแบบที่ 3: เงินเดือนมากขึ้น เก็บมากขึ้น

    วิธีเก็บเงิน

    เคยสงสัยไหมว่า ทำไมเงินเดือนเยอะขึ้นแต่ก็ใช่ไม่พอสักที? หนึ่งในเหตุผล คือ คนเรามักจะใช้เงินตามรายได้ เมื่อรายได้เยอะขึ้น เราจะใช้เงินเยอะขึ้น เพราะฉะนั้นในทำนองเดียวกัน เมื่อเงินเดือนมากขึ้นก็ต้องเก็บให้มากขึ้นด้วย

    เพราะการที่เราจะซื้อของที่มีราคาแพง คุณภาพดี ดีไซน์สวยหรือกินอาหารที่ราคาแพงขึ้น ไม่ใช่เรื่องผิดเลย แต่ลองแบ่งสัดส่วนเงินเก็บให้เพิ่มขึ้นด้วย การเก็บเงินของเราก็จะเพิ่มความท้าทายมากขึ้น เหมือนการไต่เลเวลในเกมส์ไงล่ะ

    หรือจะลองฟังทริคการเก็บเงินอื่น ๆ เเล้วลองใช้ดูเผื่อจะได้ผลนะ

    วิธีเก็บเงินแบบที่ 4 : ให้รางวัลตัวเอง

    วิธีเก็บเงิน

    เมื่อตั้งเป้าหมายไว้แล้วทำสำเร็จอย่าลืมให้รางวัลตัวเอง เพราะสิ่งสำคัญคือการไม่ตึงจนเกินไป การให้รางวัลตัวเองเป็นเหมือนการเติมไฟเล็ก ๆ ให้กับตัวเอง ทำให้มีเเรงใจในการไปต่อกับการออมเงิน เช่น ตั้งใจจะเก็บเงินให้ได้หนึ่งหมื่น เมื่อถึงเป้าหมาย จะซื้อกระเป๋าให้ตัวเองในราคาไม่เกิน 500 บาท 

    บทความที่เกี่ยวข้อง
    Content quotation bg
    Disclaimer : หากมีข้อสงสัย กรุณาติดต่อทีมงานมาที่ [email protected]
    Content quotation bg


    ดาวน์โหลดแอพ
    ดาวน์โหลดแอพดาวน์โหลดแอพ
    Icon ranking

    อันดับบทความประจำวัน

    (หมวดอื่น ๆ)

    Variety By SistaCafe

    Icon feature 100x100

    Feature

    กิจกรรม SistaCafe