เชื่อว่าหลายคนโดยเฉพาะวัยรุ่นคงเคยตกอยู่ในภาวะเครียด เครียดโดยที่เราไม่รู้ว่ามันมาจากไหน เครียดแบบไม่รู้ตัว ไม่รู้ว่าเครียดเรื่องอะไร ความเครียดนี้ส่งผลกระทบมากมายต่อคนในทุกวันนี้ แต่ว่าเราจะมาทำความรู้จักกับมันและหาวิธีจัดการไปด้วยกันค่ะ

เลือกอ่านตามหัวข้อ
เครียดแบบไม่รู้ตัว วิธีจัดการกับความเครียดที่มาจากไหนก็ไม่รู้
ความเครียดคืออะไร
อาการของภาวะเครียด
วิธีจัดการกับความเครียด
คุยกันก่อนจาก
บทความแนะนำ ที่อยากส่งต่อให้ซิส

เครียดแบบไม่รู้ตัว วิธีจัดการกับความเครียดที่มาจากไหนก็ไม่รู้
ความเครียดคืออะไร
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ ความเครียด กันก่อนดีกว่า
อาการเครียด ( Stress ) คือสภาวะของความกังวล ความกดดัน หรือความตึงเครียดทางจิตใจที่เกิดจากสถานการณ์ที่ยากลำบาก ซึ่งความเครียดมักจะเกิดขึ้นเมื่อเรารู้สึกว่าไม่สามารถที่จะจัดการหรือควบคุมสถานการณ์บางสถานการณ์ได้ ความเครียดเป็นการตอบสนองตามธรรมชาติของมนุษย์ที่กระตุ้นให้เราจัดการกับความท้าทายและภัยคุกคามในชีวิตของเรา ซึ่งหากจัดการไม่ได้ก็อาจนำพาไปสู่ภาวะเครียดสะสม ( Chronic stress ) โรควิตกกังวล ( Anxiety disorder ) หรือโรคซึมเศร้า ( Depressive disorder )
ส่วนความเครียดที่เราไม่รู้ว่ามันมาจากไหน มักมาจากความวิตกกังวล ความรู้สึกลบ ความกดดันเล็ก ๆ น้อย ๆ ในแต่ละวัน ที่เราไม่ได้จัดการกับมันสักที ส่งผลให้เราตกอยู่ในสภาวะเครียดโดยที่ไม่รู้ตัวและไม่รู้ด้วยว่าที่ตอนนี้เครียดอยู่เพราะอะไรกัน
ซึ่งอย่างแรกเลยเรามาสังเกตุอาการคร่าว ๆ ของอาการเครียดกันก่อนดีกว่า ลองเช็คดูว่าใครเป็นตามนี้บ้าง ซึ่งถ้าหากเช็กลิสต์แล้วเข้าข่ายเกือบทุกข้อละก็ สงสัยต้องเริ่มจัดการความเครียดแบบจริงจังได้แล้ว
อาการของภาวะเครียด

1. อาการนอนไม่หลับ
หลายคนคงอาจจะไม่รู้ว่าสุขภาพการนอนเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อมนุษย์เราในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านอารมณ์ สังเกตได้จากหากวันไหนเรานอนไม่หลับเนี่ย ทั้งวันที่ไปทำงานหรือไปเรียนก็จะเกิดอาการหงุดหงิดหรือสภาวะไม่มั่นคงทางอารมณ์ได้ ซึ่งแน่นอนว่าในหลาย ๆ ครั้ง ภาวะนอนไม่หลับสามารถเกิดจากความเครียดได้ อย่างเช่น หลายคนที่ไม่สามารถข่มตาให้หลับในเวลากลางคืนเพราะคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ กระโดดไปมาเป็น monkey minds จึงทำให้ไม่สามารถนอนหลับพักผ่อน และอาการเหล่านี้ก็สามารถที่จะพัฒนาไปสู่ภาวะเครียดสะสมได้ อย่างไรก็ตามในบางกรณีการเครียดสะสมก็อาจจะส่งผลให้ผู้ป่วยนอนมากเกินไป

2. พฤติกรรมที่เปลี่ยนไป
ความเครียดสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมของเราได้โดยตรงอย่างเช่น ไม่ร่าเริงเหมือนก่อน มีภาวะเศร้าหมอง เบื่อหน่าย หมดความสนใจในสิ่งที่เคยทำให้เรามีความสุข กินอาหารได้น้อยลง หรือมากจนเกินไป รู้สึกไม่อยากจะทำอะไรเลย และปิดกั้นตัวเองจากคนรอบตัว

3. สภาวะไม่มั่นคงทางอารมณ์
ความเครียดที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวสามารถสังเกตได้จากความไม่มั่นคงทางอารมณ์ เคยเป็นไหมบางครั้งเวลาที่เจอสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ มากระทบก็ทำให้เรามีอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ เกิดภาวะโมโหง่าย ซึมเศร้าได้ง่าย เหมือนกับการอยู่บนรถไฟเหาะที่อารมณ์สามารถขึ้นและลงได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย จะสังเกตได้ว่าเราจะมีสมาธิที่สั้นลงไม่สามารถโฟกัสกับอะไรบางอย่างได้นาน เวลามีคนพูดอะไรก็จะกระทบกับเราหรือการตัดสินใจได้อย่างง่ายดายโดยที่เราอาจจะไม่ได้ไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วน นี่อาจจะเป็นสัญญาณของความไม่มั่นคงทางอารมณ์ที่เป็นผลมาจากความเครียดได้

4. การแสดงออกของร่างกาย
ความเครียดสามารถบ่งบอกผ่านทางร่างกายของเราได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น การหายใจถี่ หรือกลั้นหายใจโดยไม่รู้ตัว เหงื่อออกง่าย การไม่สามารถนั่งติดที่ คิ้วขมวด มือสั่น หรือตัวสั่น หรือแม้กระทั่งเสียงสั่น การแทะเล็บ สั่นขาหรือกระทืบเท้า รู้สึกเหนื่อยง่าย ปวดศีรษะและอาจจะถึงขั้นไมเกรนกำเริบได้ และประจำเดือนมาไม่ปกติในผู้หญิง เหล่านี้เองก็อาจจะเป็นสัญญาณที่บ่งบอกได้เช่นกันว่าเรากำลังอยู่ในอาการเครียด
วิธีจัดการกับความเครียด

1. หมั่นสังเกตตัวเอง
ขั้นแรกของการที่จะจัดการกับความเครียดคือเราต้องเรียนรู้ที่จะสังเกตพฤติกรรมและความรู้สึกของตัวเอง มันเป็นเรื่องที่สำคัญมากเพราะว่าสุขภาพจิตก็เหมือนกลไกที่ขับเคลื่อนร่างกายและชีวิตของเรา เราต้องคอยสังเกตว่าสิ่งไหนที่ทำให้เรารู้สึกไม่สบายใจ ถึงแม้จะเป็นสิ่งเล็ก ๆ ก็ตามเพราะว่าสิ่งเล็ก ๆ นี่แหละที่ก่อให้เกิดความเครียดที่เราไม่รู้ว่ามันมาจากไหน ในหลายกรณีความเครียดนั้นมาจากความรู้สึกหงุดหงิดเล็ก ๆ ในแต่ละวัน หงุดหงิดในตัวของบุคคลหรือหงุดหงิดในสิ่งที่เราพบเจอ ถ้าหากเรารู้ว่าอยู่ที่ไหนหรือกับใครแล้วไม่สบายใจก็ควรเลี่ยงที่จะไปพบหรือไม่ต้องนำมาใส่ใจมากมาย


อันดับบทความประจำวัน
(หมวดสุขภาพ)
Variety By SistaCafe

Feature
กิจกรรม SistaCafe