การเลือกตั้งกำลังใกล้เข้ามาแล้ว แต่ความเห็นของเรากับที่บ้านดันสวนทางกันซะอย่างนั้น จะคุยกันแต่ละทีก็ทะเลาะกันตลอด แล้วแบบนี้จะมีวิธีคุยกับที่บ้านยังไงบ้างนะ... งั้นมาส่อง 6 ทริคเด็ดนี้กัน :-)

เลือกอ่านตามหัวข้อ
• 6 ทริคเด็ดคุยเรื่อง " การเมือง " กับที่บ้านยังไง " ไม่ให้ทะเลาะกัน " •
1. เปิดใจให้กว้าง ๆ
2. ตั้งใจรับฟัง
3. คิดวิเคราะห์ตามและใช้เหตุผล
4. เว้นช่องว่างให้กันและกันบ้าง อย่าบังคับ
5. ยอมรับความแตกต่าง
6. ใจเย็นให้ได้มากที่สุด
คุยเรื่องการเมืองกับที่บ้านทีไรหัวร้อนทุกที ทำยังไงดีนะ?
ฮัลโหลลล~ สวัสดีค่าชาวซิส ปีนี้มีใครอายุถึงเกณฑ์แล้วกำลังจะได้ไปเลือกตั้งบ้างเอ่ย? หรือมีใครยังอายุไม่ถึงแต่เริ่มสนใจข่าวการเมืองบ้างไหมน้า เราเชื่อว่าหลาย ๆ คนเริ่มหันมาสนใจการเมืองกันเยอะมากขึ้นนะคะ ไม่ว่าจะอายุถึงหรือยังไม่ถึงเกณฑ์ที่จะไปเลือกตั้ง แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่าพอเราหันหน้าไปคุยกับคนในครอบครัวปุ๊บ บ้านแทบระเบิดปั๊บ คุยกันได้แป๊บเดียวคือเหมือนบ้านไฟลุกทุกที แบบนี้จะทำยังไงดี? บทความนี้เราก็เลยขอจัด 6 ทริคเด็ดในการคุยกับครอบครัวเรื่อง " การเมือง " มาฝากค่า รับรองว่าถ้าทำตามนี้ช่วยลดการทะเลาะลงได้แน่นอนนะคะ ถ้าอยากรู้แล้วว่ามีอะไรบ้างก็มาดูกันเลยค่า
☹ ☹ ☹ ☹ ☹ ☹ ☹ ☹ ☹ ☹
• 6 ทริคเด็ดคุยเรื่อง " การเมือง " กับที่บ้านยังไง " ไม่ให้ทะเลาะกัน " •
1. เปิดใจให้กว้าง ๆ
ข้อแรกที่เราและครอบครัวต้องทำเลยก็คือ " การเปิดใจ " นั่นเองค่ะ ถ้าเราไม่เริ่มจากการเปิดใจก่อน ยังไงก็ไม่มีทางคุยกันดี ๆ ได้อย่างแน่นอนเลยค่ะ อันนี้พูดถึงมุมมองทั้งทางฝั่งเราและฝั่งครอบครัวเลยนะคะ ต้องเกริ่นเลยว่าเรามาเปิดใจรับฟังความเห็นกันดีกว่า การที่เราได้เปิดใจพูดคุยกัน พร้อมรับฟัง รับรู้ความเห็นที่แตกต่าง นอกจากที่เราจะได้มุมมองใหม่ ๆ เรายังจะได้รู้ความคิดความอ่านของอีกฝ่ายด้วยนะคะ บางครั้งที่เรารู้สึกว่าพ่อแม่คิดอะไรทำไมถึงคิดเห็นแบบนั้น ถ้าเราเปิดใจฟัง เราอาจจะรับรู้ก็ได้นะคะว่าเหตุผลของเขาคืออะไร ทำไมถึงคิดแบบนี้ ดังนั้นแล้วเปิดใจคุยกันจะดีที่สุดนะคะ :-)
2. ตั้งใจรับฟัง
แม้ว่าความเห็นของผู้ใหญ่ในบ้านจะทำให้เรารู้สึกถึงคำว่า 'อิหยังวะ' ขนาดไหนก็ตาม ลองตั้งใจฟังสิ่งที่เขาคิดและพูดดูก่อนนะคะ หลังจากนั้นเราถึงค่อย ๆ แทรกหรือเสริมเข้าไป อาจจะใช้ในเชิงคำถามก็ได้ พยายามตะล่อม ๆ พูดเสริมเขาไป ทำหน้าที่รับฟังอย่างตั้งใจและเป็นผู้ฟังที่ดี อย่าแสดงท่าทางฟึดฟัดหรือไม่อยากฟังออกมาเพราะมันจะยิ่งทำให้เขาโมโหและคุยกันไม่รู้เรื่อง ให้เราใจเย็น ฟังเขา อันไหนเสริมได้เสริม อันไหนอธิบายได้อธิบาย ส่วนเขาจะรับฟัง รับรู้แบบที่เราสื่อสารไหม อันนั้นก็ปล่อยให้เป็นอีกเรื่องไปนะคะ
3. คิดวิเคราะห์ตามและใช้เหตุผล
การคิดวิเคราะห์เป็นทักษะที่ทุกคนควรจะมีเลยนะคะ อันนี้พูดรวม ๆ ทั้งเราที่เป็นวัยรุ่นและคนรุ่นคุณพ่อคุณแม่เลยนะคะ อะไรที่เขาพูดถ้ามันมีเหตุมีผลก็คิดวิเคราะห์ตาม อันไหนมีข้อมูลมาแย้งก็ทำการวิเคราะห์และไตร่ตรองดูว่ามันเป็นไปตามที่เขาว่าจริงรึเปล่า ถ้าเป็นไปตามนั้นจริงเราก็ต้องค่อย ๆ ทำความเข้าใจกันไป อย่ายึดความคิดตัวเองเป็นที่ตั้ง อย่าคิดว่าเราเด็กกว่าเรารู้เยอะกว่าเขาแน่ ๆ อย่าคิดว่าเราแก่กว่าเราผ่านโลกมาเยอะกว่าแล้วจะรู้มากกว่า ถ้าคิดแบบนี้มันจะยิ่งทำให้แสดงออกมาในท่าทางที่อาจจะดูไม่โอเคแล้วบทบาทของการเป็นผู้ฟังที่ดีก็จะหายไปด้วย ดังนั้นฟังให้เยอะแล้วคิดวิเคราะห์ตามจะดีที่สุดค่ะ
4. เว้นช่องว่างให้กันและกันบ้าง อย่าบังคับ
❤ อย่าลืมไลค์และแชร์บทความให้กำลังใจเราด้วยนะคะ ❤

อันดับบทความประจำวัน
(หมวดอื่น ๆ)
Variety By SistaCafe

Feature
กิจกรรม SistaCafe