สาว ๆ หลายคนยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับใช้ยาคุมกำเนิดอยู่ วันนี้จะพามาไขข้อควรรู้เกี่ยวกับการใช้ยาคุมกัน

เลือกอ่านตามหัวข้อ
รู้ก่อนพลาด เปิด 8 วิธี ‘คุมกำเนิด’ ได้ผลดี
1.ยารับประทานคุมกำเนิด
2. การฉีดยาคุมกำเนิด
3.การใส่ห่วงทองแดงคุมกำเนิด
4.การฝังยาคุมกำเนิด
5.การใช้แผ่นแปะคุมกำเนิด
6.การใช้ถุงยางอนามัย
7.การนับวัน
8.การหลั่งภายนอก
10 ข้อควรรู้ก่อนใช้'ยาคุมกำเนิด'
1. ยาคุมกำเนิดแบบเม็ด (Birth Control Pill)
2. ยาคุมกำเนิดมีผลทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบางลง
3. ยาคุมกำเนิดแบบแบ่งตามประเภทเม็ด
4. การเริ่มใช้ยาคุมกำเนิดครั้งแรก
5. ยาคุมกำเนิดจะต้องกินเวลาเดิมทุกวัน
6. ผลข้างเคียงของยาคุมกำเนิด
7. วิธีกินยาคุมกำเนิดที่ถูกต้อง
8. ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน
9. วิธีใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน
10. ก่อนกินยาคุมกำเนิด

ยาคุมกำเนิดมีหลายแบบ หลายประเภทมาก ๆ ซึ่งแต่ละประเภทก็มีผลข้างเคียงกับร่างกายแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล และมีวิธีการกินที่ไม่เหมือนกัน สาว ๆ อาจจะไม่รู้ว่าต้องกินยังไง เริ่มกินตอนไหนดี ตามมาอ่านพร้อมกันเลยจ้า เพราะวันนี้ซิสจะพามาดู 10 เรื่องต้องรู้ ! ก่อนใช้ยาคุมกำเนิดกันค่ะ
รู้ก่อนพลาด เปิด 8 วิธี ‘คุมกำเนิด’ ได้ผลดี

Photo by Janko Ferlic: https://www.pexels.com/photo/pregnant-woman-1692050/
โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ ได้แนะนำวิธีคุมกำเนิด แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ 1.การคุมกำเนิดแบบถาวร คือ การทำหมัน เหมาะสำหรับครอบครัวที่มีบุตรเพียงพอแล้ว การคุมกำเนิดวิธีนี้มีผลดี คือ เป็นการคุมกำเนิดถาวร ปลอดภัย ไม่มีฤทธิของฮอร์โมน ไม่มีผลต่อสุขภาพหรือสมรรถภาพทางเพศ
และ 2.การคุมกำเนิดชั่วคราว ได้แก่ การรับประทานยาคุมกำเนิด ฉีดยาคุมกำเนิด ใส่ห่วงทองแดงคุมกำเนิด ฝังยาคุมกำเนิด แปะแผ่นยาคุมกำเนิด ถุงยางอนามัย การนับวัน การหลั่งภายนอก เป็นต้น
1.ยารับประทานคุมกำเนิด
มี 3 ชนิด คือ
– ยารับประทานคุมกำเนิดหลังมีเพศสัมพันธ์ หรือยารับประทานคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน
– ยารับประทานคุมกำเนิด ชนิดแบบที่มีฮอร์โมนเดี่ยว
– ยารับประทานคุมกำเนิด ชนิดแบบที่มีฮอร์โมนรวม ใช้กันมากที่สุด
ยารับประทานคุมกำเนิด อาจไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการคุมกำเนิดในระยะยาว เพราะต้องรับประทานทุกวัน จึงมีโอกาสที่จะลืมรับประทานได้ สำหรับสตรีที่ต้องเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม อาจไม่เหมาะ ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน และมีผลให้น้ำนมน้อยลง อาจจะใช้เป็นยารับประทานคุมกำเนิด ชนิดแบบฮอร์โมนเดี่ยวแทน ซึ่งสามารถใช้ได้ตั้งแต่หลังคลอด แต่ผลข้างเคียงของการลืมรับประทานยา คือ อาจมีเลือดออกทางช่องคลอดกะปริบกะปรอยได้บ่อย
ยารับประทานคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน สามารถใช้ได้ในช่วงไม่เกิน 120 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ การคุมกำเนิดโดยวิธีนี้ไม่ควรใช้เป็นวิธีคุมกำเนิดเป็นประจำ เพราะมีผลข้างเคียงเช่น ทำให้ระดูมาไม่สม่ำเสมอ ระดูกะปริบกะปรอยได้ถ้าใช้เป็นประจำ
2. การฉีดยาคุมกำเนิด
3.การใส่ห่วงทองแดงคุมกำเนิด
กลไกการคุมกำเนิดคือห่วงจะไปขัดขวางการฝังตัวของตัวอ่อนในโพรงมดลูก แพทย์จะใส่ห่วงคุมกำเนิดเข้าไปในโพรงมดลูก แล้วเหลือสายห่วงออกมาจากปากมดลูกยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ดังนั้นจะต้องตรวจสายห่วงเป็นระยะ อายุการใช้งานของห่วงคุมกำเนิด คือ 3-5 ปีแล้วแต่ชนิดของห่วงคุมกำเนิด
ข้อดี คือ ไม่ต้องรับประทานยาทุกวัน ไม่ต้องฉีดยาทุก 3 เดือน ไม่มีผลของฮอร์โมน ไม่มีปัญหาเรื่องระดูผิดปกติกะปริบกะปรอย ไม่มีผลต่อน้ำหนักตัว ไม่คลื่นไส้อาเจียน ไม่ทำให้เกิดสิวฝ้ามากขึ้น แต่ข้อเสีย คือ ต้องคอยตรวจเช็กสายห่วงอย่างสม่ำเสมอ โดยการตรวจด้วยตนเอง หรือมาตรวจตามที่แพทย์นัดหมาย
4.การฝังยาคุมกำเนิด
ทำได้ตั้งแต่ระยะคลอดใหม่ ๆ ไม่มีผลต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตันและปริมาณน้ำนม แพทย์จะฝังหลอดยาเล็ก ๆ ยาวประมาณ 3 เซนติเมตร แบบจำนวน 1 หลอดหรือ 2 หลอด เข้าใต้ผิวหนังบริเวณท้องแขนด้านใน ยาฝังคุมกำเนิดจะมีฤทธิ์คุมกำเนิด 3-5 ปี แล้วแต่ชนิดของยา
ข้อดีคือสามารถคุมกำเนิดได้นาน ไม่ต้องรับประทานยาทุกวัน ไม่ถูกฉีดยา และ ไม่ต้องเช็คสายห่วงคุมกำเนิด ไม่มีโอกาสหลุดเหมือนห่วงคุมกำเนิด แต่ผลข้างเคียงที่พบบ่อยคือ ประจำเดือนกะปริบกะปรอย น้ำหนักขึ้น
5.การใช้แผ่นแปะคุมกำเนิด
แปะที่บริเวณสะโพก ท้องน้อย ต้นแขน หรือแผ่นหลังส่วนบน (แต่ไม่ควรแปะบริเวณเต้านม) โดยจะเปลี่ยนแผ่นทุกสัปดาห์เป็นเวลา 3 สัปดาห์ เว้น 1 สัปดาห์ ไม่ต้องแปะแผ่นยา ซึ่งจะเป็นช่วงที่มีระดู
ข้อดีคือประสิทธิภาพการคุมกำเนิดค่อนข้างดี ไม่ต้องรับประทานยาทุกวัน ไม่ต้องถูกฉีดยา ฝังยาหรือใส่ห่วงคุมกำเนิด ผลข้างเคียงคือ บริเวณที่แปะอาจมีอาการคัน รู้สึกไม่สบายตัว กังวลว่าจะลอกหลุด คัดตึงเต้านม
6.การใช้ถุงยางอนามัย
การใส่ถุงยางอนามัยนอกจากคุมกำเนิดแล้วยังสามารถป้องกันโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ได้ด้วย โอกาสล้มเหลวในการคุมกำเนิดสูง เพราะวิธีการใช้ไม่ถูกต้อง คุณภาพของถุงยางไม่ดีทำให้ขาดหรือรั่วได้
7.การนับวัน
เหมาะสำหรับผู้ที่มีรอบระดูสม่ำเสมอ โดยช่วงที่ปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์ คือ ก่อน 7 หลัง 7 หมายถึง ช่วงที่มีโอกาสตั้งครรภ์ต่ำถ้ามีเพศสัมพันธ์ในช่วงนี้ คือในช่วงก่อนมีระดู 7 วัน และหลังจากมีระดู 7 วัน (นับวันที่มีระดูวันแรกเป็นวันที่1) การคุมกำเนิดวิธีนี้มีโอกาสล้มเหลวในการคุมกำเนิดได้สูง เนื่องจากการนับวันผิดพลาด และไม่เหมาะสำหรับผู้ที่รอบระดูไม่สม่ำเสมอ
8.การหลั่งภายนอก

อันดับบทความประจำวัน
(หมวดสุขภาพ)
Variety By SistaCafe

Feature
กิจกรรม SistaCafe