เมื่อมีความรู้สึกที่อยากลาออกแต่ว่าทำไม่ได้ พาทำความรู้จักกับเทรนด์ Quiet Quitting ว่าคืออะไร ? และมีข้อดีข้อควรระวังยังไงบ้าง ? ตามเข้ามาอ่านกันเลย !

เลือกอ่านตามหัวข้อ
Quiet Quitting การลาออกแบบเงียบ ๆ คืออะไร ?
Quiet Quitting เทรนด์นี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ?
Quiet Quitting ข้อดีของการลาออกแบบไม่ตะโกน
Quiet Quitting ข้อเสียของการลาออกแบบไม่ตะโกน
บทความแนะนำ ที่ซิสต้องไม่พลาด
ฮัลโหล สวัสดีชาวซิสที่น่ารักทุกคนค่า วันนี้มาพูดถึง Topic ที่ค่อนข้างจะจริงจังและมีสาระกันอีกเช่นเคย กับ ชวนรู้จักเทรนด์ Quiet Quitting การลาออกแบบไม่ตะโกน คืออะไร ? มีข้อดีและข้อเสียยังไงบ้าง ดอลลี่มั่นใจแน่นอนว่าเรื่องนี้จะต้องเป็นประโยชน์กับคนทุกเพศ ทุกวัยแบบล้านเปอร์เซ็นต์ ถ้าอยากรู้ว่าเจ้าเทรนด์ที่ว่านี้คืออะไร แล้วทำไมต้องรู้จัก จะเกี่ยวข้องกับเรายังไง ก็อย่ารอช้า ตามไปอ่านกันเลย !
☆.。.:*・°☆.。.:*・°☆.。.:*・°☆.。.:*・°☆
Quiet Quitting การลาออกแบบเงียบ ๆ คืออะไร ?
ต้องขอเกริ่นก่อนนะคะว่าเทรนด์นี้กำลังเป็นกระแส และค่อนข้างจะเป็นที่รู้จักในแวดวงการทำงานเป็นหลัก เพราะเป็นเทรนด์ที่เกี่ยวข้องกับตลาดแรงงานนั่นเอง เมื่อบริบทของโลกเปลี่ยนไป เทรนด์การทำงานก็เปลี่ยนแปลงตาม จึงเป็นสาเหตุของการกำเนิดเทรนด์นี้ขึ้นมานั่นเองค่ะ
Quiet Quitting คือ การที่พนักงาน ทำงานเฉพาะหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้ใน Job Description เท่านั้น โดยไม่ได้มีแรงใจในการทำงานอื่น ๆ ที่เพิ่มขึ้นมาหรืออยู่ในนอกเวลางาน หรือหากพูดง่าย ๆ ก็คือการทำงานตามหน้าที่ของตัวเองเท่านั้น
Quiet Quitting คือ การที่พนักงาน ทำงานเฉพาะหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้ใน Job Description เท่านั้น โดยไม่ได้มีแรงใจในการทำงานอื่น ๆ ที่เพิ่มขึ้นมาหรืออยู่ในนอกเวลางาน หรือหากพูดง่าย ๆ ก็คือการทำงานตามหน้าที่ของตัวเองเท่านั้น
Quiet Quitting เทรนด์นี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ?
ในปัจจุบันสถานที่ทำงานและนายจ้างทุกคน ต่างก็ต้องการผลลัพธ์ที่ได้ประสิทธิภาพจากลูกจ้าง เพื่อให้คุ้มกับค่าจ้างที่จ่ายไป จนเกิดเป็นความคาดหวังระหว่าง สถานประกอบการกับลูกจ้าง แต่ด้วยสิ่งเหล่านี้ที่แปรเปลี่ยนเป็นความกดดัน เมื่อลูกจ้างผลิตผลงานออกมาได้ดี แต่กลับไม่ได้รับคำชม หรือสิ่งที่ตอบแทนอย่างเหมาะสม เช่น ค่าแรงที่น้อยเกินไป เวลาพักผ่อนไม่เพียงพอ จนทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพร่างกายและจิตใจตามมา จึงทำให้พวกเขาอยากลาออก แต่ด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ทั้งงานที่หายาก ภาระที่ต้องเลี้ยงดูครอบครัว ทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนงานได้ตามใจที่ต้องการ จนเกิดเป็นการ " Quiet Quitting ใจลาออก แต่กายยังอยู่ " ขึ้นมานั่นเอง
Quiet Quitting ข้อดีของการลาออกแบบไม่ตะโกน
quiet quitting มีแนวคิดสำคัญคือ " การรักษาใจตนเอง " และ " การทำงานตามเงินเดือนที่ได้ " ดังนั้นแล้วหากจะพูดถึงข้อดีของการ Quiet Quitting แล้วล่ะก็ คงสามารถตอบได้อย่างง่าย ๆ สั้น ๆ ว่า “ ช่วยลดความเหนื่อยโดยเปล่าประโยชน์ ” นั่นเอง ซึ่งเป็นการประหยัดทั้งเวลา และเซฟสุขภาพร่างกายและจิตใจเราให้ดีขึ้นจากงานที่ทำอยู่
พฤติกรรม Quiet Quitting เช่น
* เลิกงานตรงเวลาทุกวัน (จริง ๆ ก็อาจจะไม่เสมอไปนะคะ เพราะถ้าเราเคลียร์งานเสร็จเร็วการเลิกงานตรงเวลาก็ไม่ใช่เรื่องผิดนะคะ)
* ไม่ตอบข้อความงานนอกเวลางาน (ยกเว้นกรณีแบบเร่งด่วนจริง ๆ )
* ไม่ทำโปรเจ็กต์ที่อยู่นอกเหนือหน้าที่ในคำอธิบายตำแหน่งงาน
* ไม่อาสาทำงาน
* รับแต่งานที่อยู่ในความรับผิดชอบหรือที่เกี่ยวข้องกับตัวเอง
* ไม่ใส่ความพยายามกับงานให้มากเป็นพิเศษ (แต่ยังทำงานให้ออกมาดีได้อยู่นะ)
Quiet Quitting ข้อเสียของการลาออกแบบไม่ตะโกน
ถ้าได้อ่านข้อดีไปแล้ว เพื่อน ๆ คงจะคิดว่า " เอ ~ ก็ดีแล้วหนิ ส่งผลดีต่อตัวเราขนาดนี้ จะไปมีข้อเสียอะไร " ขอตอบตรงนี้เลยว่า “ มีค่ะ! “ เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าก็ยังมีผู้คนบางส่วนที่ยังเต็มใจจะทำงานเกินหน้าที่ ซึ่งสิ่งนี้ก็ทำให้หลายบริษัทได้เปรียบในการแข่งขันนั่นเอง รวมไปถึงการตัดสินใจเลือกรับพนักงานใหม่เข้ามาทำงานแทนที่เรา ที่ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพนั่นเองค่ะ
☆.。.:*・°☆.。.:*・°☆.。.:*・°☆.。.:*・°☆
จบไปแล้วกับการพาทุกคนไปทำความรู้จักกับเทรนด์ Quiet Quitting หัวใจลาออกจากงานแบบไม่ตะโกนหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนไม่มากก็น้อยนะคะ เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นได้กับทุกคน ถึงแม้ว่าน้อง ๆ นักเรียน นักศึกษาได้เข้ามาอ่านแล้วมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่ดอลลี่เชื่อว่าภายในวันหนึ่งเมื่อก้าวเข้าสู่โลกแห่งวัยทำงาน จะทำให้เข้าใจและพร้อมรับมือมากขึ้นแน่นอนค่ะ สำหรับวันนี้ก็ต้องขอตัวลาไปก่อน แล้วพบกันใหม่นะคะ บ๊าย บาย
บทความแนะนำ ที่ซิสต้องไม่พลาด
❤ อย่าลืมไลค์และแชร์บทความให้กำลังใจเราด้วยนะคะ ❤

อันดับบทความประจำวัน
(หมวดอื่น ๆ)
Variety By SistaCafe

Feature
กิจกรรม SistaCafe