ชวนเพื่อน ๆ มาสังเกตพฤติกรรมประจำวันที่อาจทำร้าย ' ระบบย่อยอาหาร ' ของตนเองโดยไม่รู้ตัว จะมีอะไรบ้างตามมาอ่านกันเล้ยย!

เลือกอ่านตามหัวข้อ
7 พฤติกรรมประจำวันที่ทำร้าย 'ระบบย่อยอาหาร' โดยไม่รู้ตัว
1. ชอบรับประทานอาหารไม่ตรงเวลาบ่อย ๆ
2. มีความเครียดสะสม หรือมีความวิตกกังวลอยู่ตลอดเวลา
3. ดื่มกาแฟบ่อย ๆ หรือมากเกินไป
4. ชอบรับประทานอาหารรสจัดบ่อย ๆ
5. รับประทานยาตอนท้องว่าง
6. ดื่มน้ำอัดลมทุกวัน
7. เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด
ฮัลโหล สวีดัด สวัสดีเพื่อน ๆ ชาวซิสที่น่ารักทุกคนค่าาา วันนี้กลับมาพบกับดอลลี่กันอีกแล้ว และเช่นเคย! มีดอลลี่ก็ต้องมีสาระ! >< โดยหัวข้อที่จะพูดถึงในวันนี้ก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพแบบเน้น ๆ กับ รวม 7 พฤติกรรมประจำวันที่อาจทำร้ายระบบย่อยอาหารโดยไม่รู้ตัว นั่นเองค่ะ หลาย ๆ คนอาจจะคุ้นชินกับพฤติกรรมบางอย่าง หรือไม่คิดว่าพฤติกรรมเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ทำร้ายสุขภาพของเราอยู่ ดังนั้นวันนี้ดอลลี่เลยต้องเป็นกูรูที่จะมาบอกทุกคนนั่นเอง ถ้าอยากรู้กันแล้ว อย่ารอช้า ตามไปอ่านกันได้เล้ยยย~
¸ . ★ ° :. :. . ¸ . ● ¸ ° ¸. * ● ¸ °☆
7 พฤติกรรมประจำวันที่ทำร้าย 'ระบบย่อยอาหาร' โดยไม่รู้ตัว
1. ชอบรับประทานอาหารไม่ตรงเวลาบ่อย ๆ

เปิดมาด้วยข้อแรกที่ดอลลี่คิดว่าเพื่อน ๆ หลายคนน่าจะเป็นกันบ่อยใช่มั้ยล่าาา ไม่ใช่แค่เพื่อน ๆ นะ เพราะบ่อยครั้งหรือแทบจะทุกวันเลยที่ดอลลี่ก็รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ตื่นสายบ้าง ขี้เกียจรับประทานบ้าง หรือไม่ก็ทำงานยุ่งจนไม่มีเวลาทานบ้าง ขอบอกว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง! เพราะหากรับประทานอาหารไม่ตรงเวลาบ่อย ๆ จะส่งผลเสียต่อกระเพาะอาหารของเราแบบสุด ๆ เมื่อปล่อยไปนาน ๆ เพื่อน ๆ อาจมีอาการปวดท้อง รวมไปถึงทำให้เป็นโรคกระเพาะอาหาร แถมตอนที่เพื่อน ๆ ไม่ได้รับประทานอาหารสมองของเราก็ไม่มีสารอาหารไปเลี้ยง ไม่ว่าจะทำอะไรก็ทำไม่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้นแล้วไม่ว่างานจะยุ่งแค่ไหน หรือขี้เกียจยังไง เมื่อถึงเวลาของการรับประทานอาหารก็อย่าลืมหาอะไรใส่ท้องด้วยนะคะซิส
2. มีความเครียดสะสม หรือมีความวิตกกังวลอยู่ตลอดเวลา
ข้อถัดมาเป็นพฤติกรรมประจำที่คนคิดมาก หรืออ่อนไหวง่ายน่าจะเป็นกันมากที่สุด เพราะในเรื่องของความเครียดไม่เข้าใครออกใครอยู่แล้ว และไม่มีใครที่จะอารมณ์ดีได้ตลอดเวลาอย่างแน่นอนค่ะ หลาย ๆ คนคงจะได้ยินคำว่า " ความเครียดลงกระเพาะ " ใช่มั้ยล่ะคะ
เครียดลงกระเพาะ คือ ภาวะความผิดปกติในการทำงานของอวัยวะในระบบย่อยอาหารที่เกิดจากความเครียด ซึ่งอวัยวะต่าง ๆ ในส่วนนั้นมีเส้นประสาทอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อเกิดความเครียด สมองจะสั่งการให้น้ำย่อยหลั่งออกมามากกว่าปกติ และกระเพาะอาหารถูกกระตุ้นให้บีบตัวมากยิ่งขึ้น ทำให้ในช่องท้องมีการระคายเคือง
ดังนั้นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงก็คือความเครียด และความวิตกกังวลมากเกินไป พยายามหากิจกรรมที่ผ่อนคลายทำนะซิส
เครียดลงกระเพาะ คือ ภาวะความผิดปกติในการทำงานของอวัยวะในระบบย่อยอาหารที่เกิดจากความเครียด ซึ่งอวัยวะต่าง ๆ ในส่วนนั้นมีเส้นประสาทอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อเกิดความเครียด สมองจะสั่งการให้น้ำย่อยหลั่งออกมามากกว่าปกติ และกระเพาะอาหารถูกกระตุ้นให้บีบตัวมากยิ่งขึ้น ทำให้ในช่องท้องมีการระคายเคือง
ดังนั้นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงก็คือความเครียด และความวิตกกังวลมากเกินไป พยายามหากิจกรรมที่ผ่อนคลายทำนะซิส
3. ดื่มกาแฟบ่อย ๆ หรือมากเกินไป
ข้อถัดมาพฤติกรรมประจำวันสำหรับคนวัยทำงานโดยเฉพาะ หากไม่ดื่มกาแฟสักแก้วก่อนไปทำงานก็คงจะไม่มีแรง ง่วงซึมทั้งวันเป็นแน่ แต่ขอบอกว่าพฤติกรรมนี้นี่แหละค่ะซิสที่ทำร้ายระบบย่อยอาหารของเราโดยไม่รู้ตัว เนื่องจากกาแฟ มีคาเฟอีน และสารคาเฟอีนในกาแฟจะไปกระตุ้นตัวรับมัสคารินิก ทำให้ลำไส้เกิดการบีบรัด ถ้าบริโภคในปริมาณมากก็อาจส่งผลให้กระเพาะยืดตัวและกระตุ้นให้เกิดแก๊สโตรโคลิกรีเฟล็กซ์ขึ้นมา อันจะส่งผลเสียต่อร่างกายของเรานั่นเอง ดังนั้นหากใครที่จำเป็นต้องรับประทานกาแฟในทุก ๆ วันแล้วล่ะก็ ดอลลี่อยากแนะนำว่าควรเว้นช่วง และหาเครื่องดื่มอย่างอื่น เช่น น้ำผลไม้เปรี้ยวจี๊ด กระตุ้นให้ร่างกายสดชื่นแทนดีกว่านะคะ
4. ชอบรับประทานอาหารรสจัดบ่อย ๆ
ข้อนี้เชื่อว่าหลาย ๆ คนต้องค้านหัวชนฝาแน่นอน เพราะการชอบรับประทานอาหารรสจัดกลายเป็นนิสัยและความชอบของคนไทยไปแล้ว! ดอลลี่ก็ 1 ในนั้นค่ะ แหะ ๆ หากวันไหนที่ต้องรับประทานอาหารรสชาติจืดชืด ไม่ถูกจริตกับตนเอง ก็คงจะไม่แฮปปี้ไปทั้งวัน แต่!! ถึงจะชอบแค่ไหนก็ควรพักเบรกตัวเองไว้ก่อนนะคะซิส ด้วยความปรารถนาดีและความห่วงใยต่อน้องกระเพาะของเรา รับประทานได้ แต่ต้องรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่บ่อยครั้งจนเกินไป ถ้าไม่อยากให้ร่างกายเราพังแล้วละก็นะ
5. รับประทานยาตอนท้องว่าง
อ๊ะ ๆ สำหรับใครที่ต้องทานยาประจำ หรือรู้สึกไม่ค่อยสบายแล้วอยากจะรับประทานยาพาราเซตามอลสักเม็ด แต่ยังไม่ได้รับประทานอาหารต้องเบรกตัวเองอย่างด่วน ๆ เลยค่ะซิส! เพราะเป็นพฤติกรรมที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง ซึ่งยาจะมีผลข้างเคียงที่สำคัญคือ การระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร ทำให้อาจเกิดเอฟเฟคตามมา อย่างเช่น เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ดังนั้นการรับประทานยาพร้อมหรือหลังอาหารทันทีจะช่วยลดอาการเหล่านี้ได้ รวมไปถึงยาบางชนิดก็ต้องการกรดในกระเพาะอาหารที่ช่วยในการดูดซึมยาเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งกรดในกระเพาะอาหารจะหลั่งสูงสุดในระหว่างที่รับประทานอาหารเท่านั้น (แต่สำหรับยาที่ต้องทานก่อนรับประทานอาหารถือว่าเป็นข้อยกเว้น)
6. ดื่มน้ำอัดลมทุกวัน
❤ อย่าลืมไลค์และแชร์บทความให้กำลังใจเราด้วยนะคะ ❤

อันดับบทความประจำวัน
(หมวดสุขภาพ)
Variety By SistaCafe

Feature
กิจกรรม SistaCafe