Articles health
สุขภาพ

ร้อนจนซึมเศร้ามีจริงเหรอ!? ชวนมารู้จัก " Summer Depression " คืออะไร อันตรายแค่ไหน!?

ช่วงนี้หลายคนอาจจะรู้สึกเศร้า ๆ เหนื่อย เพลียแบบแปลก ๆ อย่างไม่มีสาเหตุ รู้ไหมคะ! ว่าเราอาจจะมีอาการ Summer Depression หรืออาการซึมเศร้าในช่วงหน้าร้อนแบบไม่รู้ตัว แต่อาการจะเป็นยังไง อันตรายแค่ไหน บทความนี้สรุปมาให้แล้ว มาดูกันโลด!


» » - - - »
Sistacafe button sharefb
Down

เลือกอ่านตามหัวข้อ

  • [แสดง]
  • [ซ่อน]
    • ชวนชาวซิสรู้จัก " S.A.D และ Summer Depression " ให้มากขึ้น ♥

    • • S.A.D คืออะไร? •

    • • สาเหตุที่ทำให้เกิด S.A.D คืออะไร? •

    • • โดยทั่วไป S.A.D มีอาการยังไงบ้าง? •

    • • S.A.D อันตรายรึเปล่า? •

    • • การรักษา S.A.D ทำยังไงได้บ้าง? •

    มีใครรู้สึกว่าร่างกายเหนื่อย ๆ ไม่อยากจะทำอะไรเลยบ้างไหมคะ?

    ช่วงนี้เปิดโซเชียลไปทางไหน ก็เจอคนเป็นเหมือนกันหมดเลยนะคะ คือรู้สึกเพลีย ๆ เหนื่อย ๆ ไม่มีแรงจะทำอะไร รู้สึกว่าหมดแรง บางคนก็รู้สึกแย่ หดหู่เพิ่มเข้าไปด้วย ทุกอย่างดูห่อเหี่ยวและแย่ลงไปหมดเลย จนอดสงสัยไม่ได้ว่ามันเป็นเพราะอะไร และแล้วเราก็ได้เจอคำตอบค่ะ มันคือ " S.A.D ( Seasonal Affective Disorder ) หรือโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล " นั่นเอง ซึ่งช่วงนี้ก็เป็นช่วงหน้าร้อน เขาก็เลยเรียกกันว่า " Summer Depression " นะคะ แต่อาการมันมีอะไรบ้าง สาเหตุมาจากอะไร อันตรายรึเปล่า รักษาได้ไหม ถ้าอยากรู้ก็มาส่องด้านล่างนี้กันเล้ย!!!~
     
     ☀     ☀ ☀   ☀ 
     

    ชวนชาวซิสรู้จัก " S.A.D และ Summer Depression " ให้มากขึ้น ♥

     

    • S.A.D คืออะไร? •

    อย่างที่บอกเลยนะคะว่ามันย่อมาจาก Seasonal Affective Disorder หรือโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล โดยมันสามารถเกิดขึ้นได้ทุกฤดูกาลเลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นฤดูใบไม้ร่วง ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูฝนและฤดูหนาว แต่ส่วนมากมักจะเกิดขึ้นกับฤดูหนาวนะคะ เพราะฤดูหนาวช่วงกลางคืนจะยาวนานกว่ากลางวัน บวกกับว่ามีอากาศที่หนาวเย็นอีกก็เลยทำให้หลาย ๆ คนเกิดความรู้สึกเหงาและเศร้ามากขึ้น ถึงอย่างนั้นก็ยังมีคนอีกร้อยละ 10 ที่มีอาการซึมเศร้าในช่วงหน้าร้อน ( Summer Depression ) รวมไปถึงคนที่อยู่ในประเทศที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรด้วยค่ะ อย่างประเทศอินเดียเขาก็มีคนเป็นซึมเศร้าในช่วงหน้าร้อนกันเยอะ โดยการศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญเขาสันนิษฐานว่าที่เป็นแบบนี้ก็เพราะน่าจะเกิดจากอากาศที่ร้อนมากเกินไป ความชื้นและเวลาที่เปลี่ยนแปลง ก็เลยทำให้คนเป็นซึมเศร้ากันเยอะนั่นเองค่า
     

    • สาเหตุที่ทำให้เกิด S.A.D คืออะไร? •

    สาเหตุที่แท้จริงตอนนี้ทางการแพทย์ก็ยังไม่ทราบนะคะ แต่ก็คาดว่าคงเป็นเพราะช่วงกลางวันมีแสงแดดที่ร้อนมาก ๆ จนอาจจะส่งผลกระทบต่อวงจรชีวิตและร่างกาย รวมไปถึงพวกฮอร์โมนต่าง ๆ ต่าง ทั้งเซโรโทนิน (Serotonin) ที่เป็นสารสื่อประสาทในสมองมีหน้าควบคุมอารมณ์ ถ้าได้รับแสงแดดที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไปมันก็อาจจะส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้าขึ้นได้ นอกจากนี้ยังมีเมลาโทนิน (Melatonin) ที่ช่วยควบคุมการนอนด้วย ถ้ามันมีระดับที่สูงก็มีโอกาสที่จะทำให้ง่วงนอนและเซื่องซึมจนเกิดเป็นโรคซึมเศร้าได้ และก็ยังมีกลุ่มเสี่ยงที่สามารถเป็น S.A.D ได้ง่ายกว่าคนอื่น ๆ คือเพศสรีระหญิงจะพบได้มากกว่าเพศสรีระชาย, วัยผู้ใหญ่, ผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าและไบโพลาร์, คนในครอบครัวมีประวัติการเป็นโรคซึมเศร้าหรือ S.A.D ตลอดจนผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้-ไกลจากเส้นศูนย์สูตรมากเกินไป
     

    • โดยทั่วไป S.A.D มีอาการยังไงบ้าง? •

    หลายคนอาจจะเริ่มสงสัยแล้วว่าเอ๊ะ... แล้วแบบนี้เราเสี่ยงหรือเราเป็นไปแล้วรึยัง จะสังเกตได้ยังไง มาดูตามลิสต์นี้ได้เลยค่า

    1. รู้สึกเศร้า หมดหวัง ไร้ค่าเป็นเวลานาน
    2. อ่อนเพลีย ไม่มีแรงจะทำอะไรเลย
    3. ความกระตือรือร้น หรือความสนใจในสิ่งที่ตัวเองเคยชอบลดน้อยลง
    4. ไม่มีสมาธิ จดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งนาน ๆ ไม่ได้
    5. เก็บตัว ไม่ออกไปพบเจอหรือคุยกับใคร
    6. รู้สึกอยากอาหารน้อยลงหรือกินมากกว่าเดิม ติดกินหวานและกินแป้งมากขึ้น 
    7. อยากนอนตลอดเวลาหรือมีปัญหาการนอนไม่หลับ
    8. เริ่มมีความคิดอยากจะทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย

    ทั้ง 8 ข้อมีทั้งข้อที่เกิดได้ทั่วไปในแต่ละช่วงฤดูแต่เมื่อผ่านไปมันจะค่อย ๆ ดีขึ้นนะคะ เช่น ฤดูร้อนเรารู้สึกซึมเศร้ามาก แต่พออากาศเริ่มเย็นขึ้นก็ไม่เป็นแล้ว แบบนี้ก็คืออาจจะเป็นแค่ระยะสั้น ๆ สามารถหายเองได้ แต่ถ้าผ่านไปหลายฤดูแล้วก็ยังเป็นแบบนี้อยู่ อันนี้แนะนำให้ลองเข้าปรึกษากับทางจิตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญดูนะคะ เพราะว่าอาจจะมีอาการซึมเศร้าที่ไม่ใช่เฉพาะช่วงเวลาแล้ว
     

    • S.A.D อันตรายรึเปล่า? •

    บทความที่เกี่ยวข้อง
    Content quotation bg
    Disclaimer : หากมีข้อสงสัย กรุณาติดต่อทีมงานมาที่ [email protected]
    Content quotation bg


    ดาวน์โหลดแอพ
    ดาวน์โหลดแอพดาวน์โหลดแอพ
    Icon ranking

    อันดับบทความประจำวัน

    (หมวดสุขภาพ)

    Variety By SistaCafe

    Icon feature 100x100

    Feature

    กิจกรรม SistaCafe