อาการปวดท้องเมนส์ที่ต้องเป็นทุกเดือน บางอาจจะกำลังสงสัย ปวดแบบไหนควรไปหาหมอ? ลองตามไปดูข้อควรรู้เกี่ยวกับ " อาการปวดท้องเมนส์ " ในบทความนี้กันเลย

เลือกอ่านตามหัวข้อ
ข้อควรรู้เกี่ยวกับ " อาการปวดท้องเมนส์" ปวดแบบไหนควรไปหาหมอ
➤ สาเหตุอาการปวดประจำเดือน
➤ ประเภทของอาการปวดประจำเดือน
แล้วอาการปวดท้องเมนส์แบบไหน ควรไปหาหมอ?
➤ ปวดประจำเดือนเสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง?
➤ วิธีบรรเทาและป้องกันอาการปวดประจำเดือน
โอ้ยย เจอกันทุกเดือนเลยนะ!!
สำหรับคนที่มีประจำเดือนก็คงจะพอเข้าใจแล้วว่าสิ่งที่เจอกันทุกเดือนคืออะไร แน่นอนว่าต้องเป็นน้องเมนส์ที่รัก ที่มักจะมาพร้อมกับอาการเจ็บปวดนิด ๆ ให้ไม่สบายตัว ส่วนตัวเราก็อยากรู้เหมือนกัน ทำไม๊ทำไมถึงต้องปวดมันทุกเดือน บทความนี้เราเลยตามไปเก็บข้อมูล
ข้อควรรู้เกี่ยวกับอาการปวดท้องเมนส์มากฝากเพื่อน ๆ กันด้วย ถ้าปวดท้องแป๊บ ๆ แล้วหายคงไม่เป็นไร แต่ถ้าเกิดใครปวดมาก ๆ จนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันอาจจะต้องตามเช็กอาการ และปรึกษาคุณหมอดูอีกที แต่ก่อนอื่นเราตามไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการปวดท้องเมนส์กันก่อนดีกว่า จะได้ดูแลรักษาตัวเองได้ถูกจุด
ข้อควรรู้เกี่ยวกับ " อาการปวดท้องเมนส์" ปวดแบบไหนควรไปหาหมอ
✹ ✹ ✹ ✹ ✹ ✹ ✹ ✹ ✹
➤ สาเหตุอาการปวดประจำเดือน
ในช่วงที่เมนส์มาบางครั้งมักจะมากับอาการปวดท้องแบบหน่วง ๆ หรือปวดเกร็ง บางคนเป็นไม่มาก ส่วนบางคนเป็นหนักและมีอาการอื่น ๆ อย่างปวดหลัง ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน เหงื่อออก ท้องเสีย หรือท้องอืดร่วมด้วย อาการปวดประจำเดือนเหล่านี้เกิดขึ้นได้ยังไง? มาทำความเข้าใจไปพร้อมกันเลย
น้องเมนส์คือเยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดออกมากลายเป็นประจำเดือน อาการปวดท้องเมนส์เกิดขึ้นจากตรงนี้ด้วยเหมือนกัน ในช่วงที่เป็นเมนส์สารที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมน อย่าง " โพรสตาแกลนดิน " ( Prostaglandin ) จะก่อตัวขึ้นที่เยื่อบุโพรงมดลูก และเจ้าสารตัวนี้จะทำให้กล้ามเนื้อบีบตัวและหดเกร็ง บางครั้งอาจจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ ท้องเสียไปด้วย และความรุนแรงของอาการปวดท้องเมนส์ จะขึ้นอยู่กับว่าร่างกายหลั่งสารตัวนี้มากน้อยขนาดไหนนั่นเอง
➤ ประเภทของอาการปวดประจำเดือน
ในทางการแพทย์แบ่งอาการปวดประจำเดือนเป็น 2 ประเภท คือปวดประจำเดือนประเภทปฐมภูมิ ( Primary Dysmenorrhea ) ที่พบบ่อย และอาการปวดประจำเดือนประเภททุติยภูมิ ( Secondary Dysmenorrhea )
➀ อาการปวดประจำเดือนประเภทปฐมภูมิ ( Primary Dysmenorrhea ) เป็นอาการปวดท้องเมนส์ที่พบบ่อย มีสาเหตุมาจากเยื่อบุโพรงมดลูกผลิตสารโพรสตาแกลนมากเกินไป ทำให้กล้ามเนื้อบีบรดและหดตัวอย่างแรง
➁ อาการปวดประจำเดือนประเภททุติยภูมิ ( Secondary Dysmenorrhea ) อาการปวดท้องเทนส์ประเภทนี้จะมีสาเหตุมาจากภาวะความผิดปกติของมดลูกและอวัยวะสืบพันธุ์อื่น ๆ สามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุอย่างเช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เยื่อบุมดลูกเจริญภายในกล้ามเนื้อมดลูก เนื้องอกมดลูก ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ ภาวะมดลูกตีบ
แล้วอาการปวดท้องเมนส์แบบไหน ควรไปหาหมอ?
ทำความเข้าใจอาการปวดท้องเมนส์มาแล้ว เราพอรู้มาแล้วว่าสาเหตุของอาการปวดท้องเมนส์เกิดจากอะไร และเป็นอาการปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงที่เป็นมีประจำเดือน แต่ถ้าเกิดมีอาการปวดมากเกินจนรบกวนชีวิตประจำวัน หรือมีอาการเหล่านี้ ควรไปหาหมอเพื่อตรวจเช็กสุขภาพอีกทีนะคะ
อาการปวดท้องเมนส์ที่ควรไปหาหมอ
✹ เมื่อทานยาแล้วแต่ยังไม่หายปวด
✹ เมื่อมีอาการปวดท้องเมสน์มากขึ้นทุก ๆ เดือน
✹ เมื่อมีอายุมากกว่า 25 ปี มีอาการปวดประจำเดือนอย่างรุนแรงเป็นครั้งแรก
✹ เมื่อปวดประจำเดือนพร้อมกับมีไข้สูง อาเจียน เป็นลม
✹ เมื่อมีอาการท้องเสียท้องร่วงอย่างรุนแรง
✹ เมื่อเลือดประจำเดือนไหลออกมามากกว่าปกติ ต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกชั่วโมง
✹ เมื่อรู้สึกปวดท้องน้อย ถึงแม้จะไม่มีประจำเดือนมา
✹ เมื่อมีอาการตกขาวมีกลิ่น มีอาการคันบริเวณปากช่องคลอด
✹ เมื่อเลือดประจำเดือนมีสีแปลกไปจากปกติ
➤ ปวดประจำเดือนเสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง?
สำหรับอาการปวดประจำเดือนประเภททุติยภูมิ หรือปวดท้องเมนส์หนักมากจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน อาการปวดประจำเดือนหนัก ๆ อาจจะเป็นสัญญาณเตือนของโรคเหล่าเหล่านี้ อย่างเช่น
✹ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ( Endometriosis ) ภาวะที่มีเยื่อบุโพรงมดลูกเกิดขึ้นที่อวัยวะอื่นหรือบริเวณอื่นที่ไม่ใช่ภายในโพรงมดลูก
✹ เนื้องอกมดลูก โดยเฉพาะเนื้องอกมดลูกชนิดใต้เยื่อบุโพรงมดลูก ( Submucous myoma ) เนื้องอกชนิดไม่ร้ายและพบได้บ่อย จะทำให้มดลูกบีบตัวมากขึ้น เพื่อขจัดสิ่งที่ขัดขวางการหดรัดตัวภายในโพรงมดลูก
✹ การมีพังผืดในช่องท้อง พังผืดที่อาจจะเกิดจากผลของการผ่าตัดคลอด หรือการผ่าตัดเข้าช่องท้องมาก่อน หรือมีการอักเสบในอุ้งเชิงกรานและช่องท้อง ก่อให้เกิดพังผืดที่มีการดึงรั้งมดลูก
✹ ปากมดลูกตีบ ( Cervical stenosis ) ทำให้เลือดประจำเดือนไหลออกจากโพรงมดลูกไม่สะดวก จนทำให้ปวดท้องเมนส์มากขึ้นได้
✹ ความผิดปกติของโครงสร้างทางกายภาพในอวัยวะสืบพันธุ์ ( Obstructive malformation of the genital tract ) จากโครงสร้างที่ผิดปกติอาจจะทำให้ประจำเดือนไหลออกมาไม่ได้ ทำให้ปวดประจำเดือนมากขึ้น
✹ ความผิดปกติของโครงสร้างทางกายภาพในอวัยวะสืบพันธุ์ ( Obstructive malformation of the genital tract ) จากโครงสร้างที่ผิดปกติอาจจะทำให้ประจำเดือนไหลออกมาไม่ได้ ทำให้ปวดประจำเดือนมากขึ้น
❤ อย่าลืมไลค์และแชร์บทความให้กำลังใจเราด้วยนะคะ ❤

อันดับบทความประจำวัน
(หมวดสุขภาพ)
Variety By SistaCafe

Feature
กิจกรรม SistaCafe