รักไม่ใช่ดวงดาวเมื่อพราวแสง~ แล้วคืออะไรกันล่ะ และทำไมเราถึงมีอาการหัวใจเต้นแรง หน้าแดงทุกที หรือจะมีผีเสื้อบินในท้องอย่างที่เขาว่ากัน ให้วิทยาศาสตร์ตอบก็แล้วกัน

เลือกอ่านตามหัวข้อ
ตามหลักวิทยาศาสตร์ "การตกหลุมรัก" เกิดขึ้นได้ยังไง
การตกหลุมรักส่งผลต่ออวัยวะใดบ้าง?
♡ การตกหลุมรักส่งผลต่อการทำงานของ "สมอง"
♡ การตกหลุมรักส่งผลต่อการทำงานของ "หัวใจ"
♡ การตกหลุมรักส่งผลต่อการทำงานของ "ระบบไหลเวียนเลือด"
♡ การตกหลุมรักส่งผลต่อการทำงานของ "ระบบทางเดินอาหาร"
♡ การตกหลุมรักส่งผลต่อการแสดงออกทาง "พฤติกรรม"
ทักทายค่าเพื่อน ๆ ชาวซิส
สำหรับบทความนี้เราจะชวนเพื่อน ๆ มา Talk เกี่ยวกับเรื่องของความรักกันหน่อย เพื่อน ๆ เคยสงสัยมั้ยว่าทำไมเวลาเราตกหลุกรักมักจะมีอาการหน้าแดง หัวใจเต้นแรง หรืออย่างอาการผีเสื้อบินในท้องที่ใครเขาว่ากันมันเกิดขึ้นมาได้ยังไง? อยากจะบอกว่าอาการเหล่านี้ไม่ได้เป็นอาการที่เรามโนขึ้นมาเฉย ๆ กันเอง
เพราะความจริงแล้วการตกหลุมรัก เป็นเรื่องของสารเคมีในสมอง และอาการตกหลุมรักสามารถอธิบายจากหลักของวิทยาศาสตร์ได้ด้วยนะ ส่วนวิทยาศาสตร์แห่งการตกหลุมรักจะเป็นยังไง ส่งผลต่ออวัยวะใดในร่างกายเราบ้าง ลองตามไป Talk กันในบทความนี้เลย
ตามหลักวิทยาศาสตร์ "การตกหลุมรัก" เกิดขึ้นได้ยังไง
ทฤษฎี " การตกหลุม " อธิบายด้วยหลักวิทยาศาสตร์ไว้ว่ายังไง?
พูดถึงเรื่องการตกหลุมรัก ไม่ได้เป็นแค่เรื่องโรแมนติกที่มโนขึ้นมา แต่ในจังหวะตกหลุมรัก เวลาที่เราเห็นใครบางคนแล้วหัวใจเต้นแรง หน้าแดงขึ้นมา สามารถอธิบายได้ด้วยหลักวิทยาศาสตร์ด้วยนะ ตามหลักของวิทยาศาตร์ " การตกหลุมรัก " เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีในสมองส่วนไฮโปทาลามัส ( Hypothalamus ) เกี่ยวข้องกับสารเคมีหลัก ๆ 3 อย่าง นั่นก็คือ โดปามีน ( Dopamine ) เซโรโทนีน ( Serotonin ) และอะดรีนาลีน ( Adrenaline ) สารเคมีที่ทำให้เรารู้สึกมีความสุขและตื่นตัวเวลาเจอคนที่เรารู้สึกสนใจ
ซึ่งสารเคมีในสมอง 3 ตัวนี้ พอหลั่งออกมาจะส่งผลต่ออวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายด้วย อย่างอาการเขินอายหน้าแดง หัวใจเต้นแรง หรือคำพูดที่บอกไว้ว่าเวลาเราตกหลุกมรัก มักจะมีผีเสื้อบินวนอยู่ในท้อง ก็ไม่ได้เป็นคนพูดเปรียบเปรยขึ้นมาลอย ๆ หรอกนะ แต่อาการเหล่านี้สามารถอธิบายตามหลักวิทยาศาตร์ได้ด้วย การตกหลุมรักส่งผลต่ออวัยวะใดบ้าง? ทำไมเราถึงมีอาการหัวใจเต้นแรง หน้าแดงทุกที นอนไม่หลับกระสับกระส่าย และอิ่มอกอิ่มใจ คิดถึงอยากเจอหน้าทุกวัน ลองตามไป Talk ต่อกันได้เลย
การตกหลุมรักส่งผลต่ออวัยวะใดบ้าง?
♡ การตกหลุมรักส่งผลต่อการทำงานของ "สมอง"
การตกหลุมรักอธิบายตามหลักวิทยาศาสตร์ไว้ ว่าเป็นอาการที่เกิดจากสารเคมีในสมอง แน่นอนว่าการตกหลุมรักส่งผลต่อการทำงานของสมองโดยตรง และยังมีส่วนทำให้หัวแล่น สมองปราดเปรื่องได้ด้วยนะ เพราะเมื่อเราตกหลุมรักจะหลั่งสารโดปามีน สารแห่งความสุขออกมา
ซึ่งโดปามีนมีส่วนช่วยทำให้ความเครียดลดลง และความสุขเพิ่มขึ้น และระบบประสาทจะกระตุ้นสมองส่วนความพึงพอใจให้ทำงานมากขึ้นด้วย และจากการศึกษาสแกนสมองเมื่อเราตกหลุมรักใครสักคน พบว่ามีเลือดมาหล่อเลี้ยงบริเวณสมองมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความปลาบปลื้มมีความสุขมากขึ้น และยังทำให้ความจำดีขึ้นอีกด้วย
♡ การตกหลุมรักส่งผลต่อการทำงานของ "หัวใจ"
แล้วการตกหลุมรักส่งผลให้หัวใจของเราเป็นยังไงบ้าง? ทำไมถึงใจเต้นแรง เมื่อเจอกับคนที่เรารู้สึกสนใจ ที่ใจเราเต้นเป็นจังหวะ EDM ตอนตกหลุมรัก นั่นก็เพราะเจ้าสารเคมีในสมองโดปามีนตัวเดิมนี่แหละ ที่ส่งผลให้หัวใจสูบฉีดเลือด ทำให้ร่างกายกระชุ่มกระชวย มีความสุขขึ้นมา
และนอกจากโดปามีน ยังมีสารเคมีในสมองหลายตัวที่หลั่งออกมาเมื่อเราตกหลุมรัก อย่างเช่น อะดรีนาลีน นอร์เอพิเนฟรีน และออกซิโทซิน สารเคมีในสมองที่มีฤทธิ์กระตุ้นร่างกาย ทำให้หัวใจเต้นแรงเมื่อตกหลุมรัก ส่งผลให้การทำงานของหัวใจดีขึ้นตามไปด้วยนะ
♡ การตกหลุมรักส่งผลต่อการทำงานของ "ระบบไหลเวียนเลือด"
นอกจากการตกหลุมรักจะทำให้การทำงานของหัวใจดีขึ้น ยังส่งผลมาถึงระบบไหลเวียนเลือดที่มีความเชื่อมโยงกับการทำงานของหัวใจอีกด้วย เพราะเมื่อตกหลุมรัก ร่างกายได้หลั่งสารอะดรีนาลีน นอร์เอพิเนฟรีน และออกซิโทซิน สารเคมีในสมองที่มีฤทธิ์กระตุ้นร่างกายออกมา ส่งผลให้หัวใจเต้นแรงแล้ว ยังทำให้หลอดเลือดขยาย การสูบฉีดเลือดดีอีกด้วย และก็เป็นสาเหตุอาการที่ว่าทำไมเวลาตกหลุมรักเราถึงมีอาการเขินอายจนหน้าแดงอีกด้วย
❤ อย่าลืมไลค์และแชร์บทความให้กำลังใจเราด้วยนะคะ ❤

อันดับบทความประจำวัน
(หมวดOriginal Content)
Variety By SistaCafe

Feature
กิจกรรม SistaCafe