Articles health
สุขภาพ

โซเชียลทำพิษ 😢 ชวนทุกคนมาทำ " Social Detox " ให้ " สุขภาพจิต " กลับมาแข็งแรงอีกครั้ง

เดี๋ยวนี้หันไปทางไหนในโซเชียลก็มักจะมีเรื่องราวต่าง ๆ มากมายทั้งเรื่องดีและเรื่องไม่ดี ซึ่งบางเรื่องก็อาจจะมีผลกระทบกับจิตใจของเรา ทำให้เรามีสุขภาพจิตที่แย่ลง วันนี้เราก็เลยอยากชวนทุกคนมาทำโซเชียลดีท็อกซ์กัน จะดียังไงก็มาอ่านกันเล้ย!


» » - »
Sistacafe button sharefb
Down

เลือกอ่านตามหัวข้อ

  • [แสดง]
  • [ซ่อน]
    • อันดับแรกมาดูในเรื่อง " ผลกระทบ " ของการติดโซเชียล

    • งั้น " โซเชียลดีท็อกซ์ " จริง ๆ แล้วมันคืออะไร?

    • ทำไมเราถึงควรทำ " โซเชียลดีท็อกซ์ "

    • ข้อดีของการทำ " โซเชียลดีท็อกซ์ "

    • สัญญาณเตือนว่าเราควรทำ " โซเชียลดีท็อกซ์ " แล้วนะ!

    • แล้ว " โซเชียลดีท็อกซ์ " มันต้องทำยังไงบ้าง?


    เคยได้ยินคำว่า " โซเชียลดีท็อกซ์ " กันบ้างไหมคะ?


    สวัสดีค่าชาวซิส วันนี้มาพร้อมคำถามเลยว่าเคยได้ยินกันมาบ้างไหมเอ่ย? แล้วรู้ไหมว่ามันคืออะไร
    ถ้าให้สรุปสั้น ๆ เลยก็คือการบำบัดการเล่นโซเชียลมีเดียนั่นเองค่ะ ทุกวันนี้โลกโซเชียลมันมีประเด็น
    มากมายหลายสิ่งนะคะ ซึ่งบางประเด็นมันอาจจะส่งผลกระทบกับจิตใจของเราได้
    ทำให้เรารู้สึกไม่ดี แล้วก็อาจจะส่งผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจ รวมไปถึงพฤติกรรมต่าง ๆ ด้วย
    ถ้าใครรู้สึกอยากจะลองทำดูบ้างก็มาเรียนรู้ในบทความนี้ได้เลยค่า :-D
     

    อันดับแรกมาดูในเรื่อง " ผลกระทบ " ของการติดโซเชียล

    เริ่มต้นด้วยการพูดถึงผลกระทบของการติดโซเชียลมีเดียกันก่อนเลยดีกว่าค่ะ 

    1. มีปัญหาด้านการนอนหลับ ทำให้นอนดึก นอนหลับยาก
    2. ขาดความมั่นใจในตัวเองและการจัดการเวลาที่ดี
    3. น้ำหนักเพิ่มขึ้นเพราะเคลื่อนไหวน้อยลง
    4. ขาดความรับผิดชอบต่องานและการเรียน
    5. มีปัญหาด้านร่างกาย เช่น ปวดหัว ปวดตา ปวดหลัง เป็นต้น
    6. มีปัญหาด้านอารมณ์ เช่น หงุดหงิด อารมณ์เสียง่าย เสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า โรคเครียด และภาวะวิตกกังวล เป็นต้น

    ใครที่มีอาการแบบนี้ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าเพราะการเล่นโซเชียลมีเดียสไลด์จอไปมามันทำให้สมองหลั่งสารบางอย่างออกมา เมื่อได้เล่นจะมีความสุขแต่ถ้าไม่ได้เล่นอาจจะทำให้หงุดหงิดได้ง่ายขึ้นนั่นเองค่ะ
     

    งั้น " โซเชียลดีท็อกซ์ " จริง ๆ แล้วมันคืออะไร?

    โซเชียลดีท็อกซ์ หรือ Social Media Detox เป็นการบำบัดการเสพติดเทคโนโลยีหรือสื่อสังคมออนไลน์ โดยวิธีการบำบัดก็คือการใช้มันให้น้อยลง เนื่องจากการเล่นโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ทำให้เราได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะคอมเมนต์ คำวิจารณ์แรง ๆ รวมไปถึงการเสพติดโซเชียลมากจนเกินไป ซึ่งมันสามารถส่งผลกระทบต่อทั้งด้านร่างกายและด้านจิตใจ อย่างทำให้เกิดความรู้สึกซึมเศร้า ทำให้นอนหลับได้ยากแบบที่กล่าวมาในข้อแรกนั่นเองนะคะ
     

    ทำไมเราถึงควรทำ " โซเชียลดีท็อกซ์ "

    ที่ต้องดีท็อกซ์ไปบ้างเพราะการเสพติดหรือเล่นมากเกินไปมันก็ให้โทษเยอะแยะมากมายนะคะ อย่างข้อแรกนี่ก็ยกได้ 6 หัวข้อใหญ่ ๆ เลย ซึ่งถ้าเราปล่อยมันไว้แบบนั้น รู้สึกแย่ก็ยังเล่นอยู่ ยังเห็นพวกคำด่า คำวิจารณ์แรง ๆ อยู่ก็อาจจะทำให้สภาพจิตใจแย่ลงเรื่อย ๆ ได้ ดังนั้นเนี่ยเราควรที่จะใช้มันให้พอดี ๆ มากกว่า ก็เลยต้องมีการดีท็อกซ์บ้างนั่นเองค่ะ ก็เหมือนกับการออกกำลังกายนะคะ มากไปก็อาจจะเจ็บตัวได้ ถ้าไม่ทำเลยก็เสียสุขภาพเกินไป
     

    ข้อดีของการทำ " โซเชียลดีท็อกซ์ "

    หลายคนอาจจะยังมีความรู้สึกในใจว่ามันควรทำจริง ๆ เหรอ มันจะดีขึ้นจริง ๆ เหรอ งั้นมาดูข้อดีของมันกันค่ะว่าทำแล้วดีแค่ไหน!

    • มีสมาธิมากขึ้น : การใช้มือถือเล่นโซเชียลมีเดียทำให้เรามัวแต่พะว้าพะวงจะเช็คข่าวนั่น จะตอบแชทนี่จนไม่มีสมาธิไปโฟกัสกับสิ่งที่ทำอยู่นะคะ ก็เลยทำให้สมาธิของหลาย ๆ คนสั้นลง แต่ถ้าได้ทำโซเชียลดีท็อกซ์รับรองเลยว่าสมาธิทุกคนจะกลับมาดีขึ้นอย่างแน่นอนเลยค่ะ

    • สุขภาพดีขึ้น : อย่างที่บอกไปนะคะว่าการติดโซเชียลมีเดียทำให้การนอนมีปัญหา อาจจะนอนดึกมากจนตื่นสาย การกินอาหาร ระบบเผาผลาญก็พังไปด้วย แต่ถ้าเราติดโซเชียลน้อยลงเพราะได้ทำโซเชียลดีท็อกซ์เชื่อเลยว่าสุขภาพทุกคนจะค่อย ๆ ดีขึ้นเองนะคะ

    • มีความสุขเพิ่มขึ้น : การเล่นโซเชียลมีเดียมันมีประเด็นอ่อนไหวมากมายนะคะ ยิ่งพักหลัง ๆ มานี้คนไม่ค่อยมีมารยาทและไม่ค่อยมีความเคารพซึ่งกันและกันเท่าไหร่ ทำให้มีปากเสียงกันได้ง่ายขึ้น จนอาจจะทำให้เกิดไซเบอร์บูลลี ( Cyberbully ) ขึ้นได้ด้วย ซึ่งถ้าเราลดการเล่นลง เราก็อาจจะเจอปัญหานี้น้อยลงหรือไม่เจอเลย ความสุขและสุขภาพจิตเราก็จะดีขึ้นเรื่อย ๆ นั่นเอง

    เป็นไงคะรู้แบบนี้แล้วก็มาทำโซเชียลดีท็อกซ์กันดีกว่าเนอะ อย่างน้อยครึ่งวันก็ยังดีนะ :-D

     

    สัญญาณเตือนว่าเราควรทำ " โซเชียลดีท็อกซ์ " แล้วนะ!

    บทความที่เกี่ยวข้อง
    Content quotation bg
    Disclaimer : หากมีข้อสงสัย กรุณาติดต่อทีมงานมาที่ [email protected]
    Content quotation bg


    ดาวน์โหลดแอพ
    ดาวน์โหลดแอพดาวน์โหลดแอพ
    Icon ranking

    อันดับบทความประจำวัน

    (หมวดสุขภาพ)

    Variety By SistaCafe

    Icon feature 100x100

    Feature

    กิจกรรม SistaCafe