พาราเบนส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์? "พาราเบนฟรี" ดีจริงหรือแค่คำเคลมที่หลอกลวงให้ผู้บริโภคเกิดความกลัว? มาร่วมหาคำตอบไปด้วยกันเลย!

เลือกอ่านตามหัวข้อ
พาราเบนคืออะไร?
ชนิดของพาราเบน
อันตรายจากพาราเบน
ปริมาณพาราเบนที่ใช้ได้คือเท่าไหร่?
เสียโอกาสใช้สกินแคร์ดีๆ เพราะพาราเบนฟรีไปกี่ครั้ง?
ถ้าเราได้ลองออกไปเดินห้างสรรพสินค้า รับรองว่าจะต้องเห็นป้ายโชว์หราหน้าผลิตภัณฑ์ว่า ซิลิโคนฟรี พาราเบนฟรีบ้าง ล่อตาล่อใจว่าแบรนด์นี้ใส่ใจดีจัง แต่เรามั่นใจได้แค่ไหนว่าสิ่งที่เราคิดว่า ไม่มีแล้วดี เป็นสิ่งที่เชื่อถือได้ หรือแท้จริงแล้วเป็นเพียงการ หลอกลวงให้ผู้บริโภคเกิดความกลัว ? ยิ่งทุกวันนี้มีความเชื่อผิดๆมากมายที่ถูกส่งต่อกันจนหลายคนเชื่อว่าเป็นความจริง นับครั้งไม่ถ้วนที่เราเริ่มแยกแยะไม่ได้ว่าอะไรผิดหรือถูก วันนี้ซิสจึงอยากมาเล่าอีกด้านของหนึ่งในส่วนผสมตัวดังที่โดนเบลมว่าแย่ ว่าแท้จริงแล้วไม่มีพาราเบนแล้วดีกว่าจริงหรือเปล่า
พาราเบนคืออะไร?

ในทุกครั้งที่เราเปิดใช้ผลิตภัณฑ์ก็ถือเป็นการเชื้อเชิญให้เหล่าจุลินทรีย์เข้ามาทักทาย พวกจุลินทรีย์ตัวร้ายจะเข้ามายึดครองทำตัวเป็นเจ้าของสกินแคร์ของเรา ทั้งที่ไม่ได้ช่วยเสียเงินซื้อซักแดงเดียว เพื่อแก้ปัญหาตรงนี้จึงเป็นเหตุผลที่เราต้องใส่สารกันเสียลงในสกินแคร์ ช่วยยืดอายุผลิตภัณฑ์ให้ใช้ได้นาน ๆ นั่นเอง นอกจากจะป้องกันการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์แล้วยังช่วยปกป้องตัวผู้บริโภคจากอันตรายได้ด้วยนะ
นั่นก็เป็นเพราะจุดเด่นของพาราเบนคือ สามารถคงอยู่ได้ในช่วง pH ที่กว้างตั้งแต่ 3 - 8 ในขณะที่สารตัวอื่นอาจคงอยู่ได้ในสภาวะกรดหรือเบสอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่มีกลิ่นรบกวน และไม่ทำปฏิกิริยากับส่วนผสมอื่น สะดวกต่อการทำผลิตภัณฑ์ซักตัวนึงขึ้นมา
ชนิดของพาราเบน

Methylparaben
Propylparaben
Butylparaben
หลายครั้งที่สารกันบูดตัวอื่น ๆ นิยมใช้คู่กับพาราเบน เนื่องจากสารกันเสียที่เราใส่ลงไปบางชนิดจะป้องกันได้เพียงแบคทีเรีย บางชนิดจะกันได้แค่จำพวกเชื้อรา การผสมร่วมกับพาราเบนเข้าด้วยจึงสามารถป้องกันจุลินทรีย์หลากหลายชนิดได้อย่างครอบคลุมมากขึ้น
อันตรายจากพาราเบน
นอกจากนั้นเพื่อช่วยเรียกความมั่นใจกันอีกนิด อย.และคณะกรรมการวิทยาศาสตร์ด้านความปลอดภัยของผู้บริโภคของสหภาพยุโรปก็ได้ทำการรับรองว่าหากใช้พาราเบนในปริมาณที่กำหนดก็ไม่ทำให้เกิดอันตรายใดๆ
"FDA scientists continue to review published studies on the safety of parabens. At this time, we do not have information showing that parabens as they are used in cosmetics have an effect on human health"
"นอกเหนือจาก Propylparaben และ Butylparaben แล้วสาร Paraben ประเภทอื่นๆเช่น Methylparaben และ Ethylparaben ก็มีความปลอดภัยและผ่านการตรวจสอบโดยคณะกรรมการวิทยาศาสตร์ด้านความปลอดภัยของผู้บริโภค (Scientific Committee on Consumer Safety – SCCS)"
ปริมาณพาราเบนที่ใช้ได้คือเท่าไหร่?
คณะกรรมการวิทยาศาสตร์ด้านความปลอดภัยของผู้บริโภคของสหภาพยุโรป ( The European Union’s Scientific Committee on Consumer Safety ) พิจารณาการใช้ Metylparaben และ Etylparaben ในเครื่องสำอาง ปลอดภัยที่ระดับความเข้มข้นสูงสุด ( 0.4 เปอร์เซ็นต์สำหรับพาราเบนตัวเดียวหรือรวมกับสารกันบูดตัวอื่นแล้วปริมาณรวมไม่เกิน 0.6 เปอร์เซ็นต์ ) และการใช้ Propylparaben ปลอดภัยที่ความเข้มข้นสูงสุด 0.14 เปอร์เซ็นต์
เสียโอกาสใช้สกินแคร์ดีๆ เพราะพาราเบนฟรีไปกี่ครั้ง?

อันดับบทความประจำวัน
(หมวดOriginal Content)
Variety By SistaCafe

Feature
กิจกรรม SistaCafe