Articles cartoon2
การ์ตูน

ตื่นเต้น เสียงสั่นเวลาพูด แก้ได้ด้วย 3 เทคนิคนี้! 👍✨

อุตส่าห์เตรียมบทพูดมาอย่างดี แต่พอถึงเวลานำเสนอจริงๆ กลับตื่นเต้นจนพูดไม่ออกซะงั้น หรือพูดแล้วเสียงก็ยังสั่นๆไม่เป็นธรรมชาติเอาซะเลย ทำยังไงดีนะ !?


» » - - - - » »
Sistacafe button sharefb
Down

เลือกอ่านตามหัวข้อ

  • [แสดง]
  • [ซ่อน]
    • 1. หายใจระหว่างประโยค

    • 2. ต้องเข้าใจว่าเราจะพูดสิ่งนี้เพื่ออะไร

    • 3. ปรับใจเราให้มีความเมตตา

    1652699391 %e0%b8%95%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%99 %e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%87%e0%b8%aa%e0%b8%b1%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%b3%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%99%e0%b8%ad

    เคยไหมคะ เวลาที่มีงานที่ต้องพรีเซนต์หน้าชั้นเรียน
    หรือถ้าวัยทำงานก็อาจจะต้องมีการนำเสนอโปรเจกต์ต่างๆในที่ประชุม
    หรือต้องขึ้นไปพูดบนเวที แล้วเรารู้สึกว่าตื่นเต้นมากๆ “กลัวพูดผิดจัง”
    “คนนั้นคนนี้จะชอบเราไหมนะ”
    วันนี้เรามี 3 เทคนิคจากครูเงาะ รสสุคนธ์ กองเกตุ ที่สอนเกี่ยวกับวิธีลดอาการตื่นเต้น
    เสียงสั่นเวลาพูดมาให้สาวๆชาวซิสได้นำกลับไปฝึกกับตัวเองค่ะ (>O<) ♥

    รับรองว่าถ้าทำตาม 3
    เทคนิคนี้ได้ละก็ ไม่ว่าจะไปนำเสนองานที่ไหน เราจะสามารถพรีเซนต์ออกมาได้ดีขึ้น
    และเป็นธรรมชาติแน่นอนค่ะ

    มาเริ่มกันที่เทคนิคแรกเลย นั่นก็คือ

    1. หายใจระหว่างประโยค

    1652697894 1

    คนที่ตื่นเต้นเวลาพูด ส่วนใหญ่มักจะหายใจเมื่อจบประโยค แล้วก็จะพูดเร็ว มันเป็นเพราะว่า เรารู้สึกกลัว และไม่ปลอดภัยค่ะ เรารู้สึกว่าพื้นที่ตรงนี้มันไม่ใช่ของเรา ก็เลยอยากรีบพูดให้จบแล้วค่อยพักหายใจ

    ทีนี้เราอยากให้ทุกคนลองฝึกพูดใหม่ อาจจะลองพูดแนะนำตัวเองโดยใช้การหายใจระหว่างประโยคค่ะ
    เช่น



    หายใจเมื่อจบประโยค



     “สวัสดีค่ะชื่อเนบิวซ์นะคะวันนี้จะมาแชร์ทริคเกี่ยวกับวิธีลดอาการตื่นเต้นเวลาพูดค่ะ”



    กับ



    หายใจระหว่างประโยค



    “สวัสดีค่ะ ชื่อเนบิวซ์นะคะ วันนี้จะมาแชร์ทริคเกี่ยวกับ วิธีลดอาการตื่นเต้นเวลาพูดค่ะ”



    เป็นยังไงบ้างคะ รู้สึกว่าพูดแบบที่ 2 มันดูหายใจหายคอได้สะดวกขึ้นใช่ไหม 5555



    การหายใจระหว่างประโยคคือ การที่เราหายใจโดยเอาอากาศเข้าทางปากนะคะ หายใจทุกๆ 3 วินาทีให้มีลมหายใจเข้า แล้วเมื่อเราพูดก็ให้ลมหายใจออกของเรา ผ่อนออกมาพร้อมกับคำพูดค่ะ



    เราแนะนำว่าถ้าอยากฝึก ให้ลองหาหนังสือนิทานซักเล่มมาอ่านออกเสียงดูก็ได้นะคะ นอกจากจะได้ฝึกการหายใจแล้ว ก็ได้ฝึกเรื่องการใช้น้ำเสียงด้วยค่ะ


    2. ต้องเข้าใจว่าเราจะพูดสิ่งนี้เพื่ออะไร

    1652698196 2

    เราต้องคิดไว้ก่อนเลยว่า เราต้องการพูดสิ่งนี้เพื่อให้ผู้ฟังได้อะไร เราคาดหวังอะไรกับผู้ฟัง


    คนที่พูดแล้วตื่นเต้น คือคนที่พูดไม่มีจุดหมาย ไม่มีประเด็นที่ชัดเจน คนฟังก็ยิ่งไม่เข้าใจไปอีก เป็นเพราะเราไม่ได้ตกลงกับตัวเองตั้งแต่ต้นว่าประเด็นที่ฉันจะพูด ฉันจะพูดอะไร แล้วพูดเพื่อให้คนฟังได้อะไร


    เช่น เราจะนำเสนองานหน้าชั้นเรียน ทำรายงานเกี่ยวกับ “วิธีทอดไข่เจียวให้อร่อย” เราก็ตั้งประเด็นกับตัวเองก่อนเลยว่า เราพูดเพื่อ “ให้อาจารย์และเพื่อนๆหรือคนที่ฟังเรา ได้รู้เทคนิคการทอดไข่เจียวจากเรา เพื่อจะได้นำเทคนิคนี้กลับไปทอดไข่ให้มันอร่อยขึ้น” อ่ะ ทีนี้เมื่อเรากำหนดประเด็นหรือเป้าหมายที่เราต้องการจะสื่อสารเสร็จแล้ว เราก็มาคิดวิธีการว่าจะพูดอะไรบ้าง แยกเป็นหัวข้อย่อยๆลงมา


    จำไว้ว่า...ก่อนที่จะไปพูดนำเสนอให้เขาเข้าใจ เราต้องทำความเข้าใจและตกลงกับตัวเองให้ได้ก่อน ไม่งั้นเวลาพูดมีโอกาสที่เราจะหลงประเด็นแล้วพูดวกไปวนมาสูงมากนะคะ


    3. ปรับใจเราให้มีความเมตตา

    1652698270 3

    มาถึงข้อนี้ทุกคนอาจจะงง เอ๊ะ? แค่พูดต้องมีความเมตตาอะไรนี่ด้วยเหรอ จริงๆแล้วข้อนี้เป็นข้อที่สำคัญที่สุดในบรรดา 3 ข้อที่กล่าวมาเลยล่ะค่ะ เพราะเป็นการแก้ปัญหาตื่นเต้นที่ต้นตอเลยก็ว่าได้ คือปรับที่ Mindset หรือทัศนคติของเราก่อน ยกตัวอย่างเช่น เราจะไปเสนอขาย Application กับลูกค้า แล้วเรารู้สึกตื่นเต้น “ฉันต้องการทำให้เขาถูกใจ แล้วเขาจะถูกใจฉันหรือเปล่า” สังเกตเห็นอะไรไหมคะ มันเหมือนเราคิดว่า เรามาพูดเพื่อให้ลูกค้ามาชอบเรา

    ให้เรากลับมาถามตัวเองใหม่ว่า สิ่งที่เราพูดไปมันมีประโยชน์อะไรกับเขาบ้าง เราอยากที่จะให้เขาใช้ App นี้เพื่อที่เขาจะได้ ... เรามาเพื่อที่จะมอบสิ่งดีๆ ให้กับเขา เรามาเพื่อที่จะมารักเขา ไม่ได้มาเพื่อจะให้เขามารักนะ เรามาเพื่อที่จะให้สิ่งดีๆ และเป็นประโยชน์ต่อเธอ



    ถ้าแบบแรกที่เราคิดว่า “ฉันจะต้องพูดให้เขาชอบเรา” คือเราไปในฐานะของคนขอ
    ขอให้เขามาชอบเรา ให้เขาชื่นชมเรา ลองพลิกใจขึ้นมาเป็นผู้ให้ดูค่ะ



    “ฉันมาเพื่อจะให้สิ่งดีๆ กับเธอ” เห็นไหมคะว่ามือของ ผู้ขอ กับ ผู้ให้ มือผู้ให้จะสูงกว่าอย่างชัดเจน
    เมื่อไหร่ที่เราพลิกใจขึ้นมาเป็นผู้ให้ได้ จิตของเราก็จะสูงขึ้นตามลำดับ



    ดังนั้นก่อนขึ้นไปนำเสนองาน ให้เราถามตัวเองก่อนเลยว่า “จิตของเรา เป็นจิตเมตตาหรือเปล่า จิตเราอยากได้จากเขา หรืออยากให้เขา” มื่อเราตอบตัวเองได้แล้ว นั่นเท่ากับว่าเราตั้ง Mindset ได้ตรงแล้ว จิตของเราจะฮึกเหิมมาก เพราะจิตมันจะเป็นผู้ให้ ความกลัว ความตื่นเต้นทั้งหลายเวลาพูดจะหายไปเลยค่ะ


    1652699663 %e0%b8%95%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%99 %e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%87%e0%b8%aa%e0%b8%b1%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%b3%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%99%e0%b8%ad  1

    เป็นยังไงบ้างคะ สำหรับ 3 เทคนิคลดอาการตื่นเต้น เสียงสั่นเวลาพูด ส่วนตัวเราคิดว่าเทคนิคของครูเงาะจะเน้นสำคัญไปที่ Mindset หรือความคิดของเราซะส่วนใหญ่ ซึ่งถ้าเราสามารถปรับ Mindset ได้ดี มันก็เหมือนเราแก้ปัญหาที่ต้นเหตุนั่นเองค่ะ

    สุดท้ายอยากเป็นกำลังใจให้ชาวซิสทุกคน สามารถพูดนำเสนองานได้อย่างปังๆ ทุกคนเลยนะคะ สู้ๆ ค่ะ !

    ปล. ใครที่สนใจอยากฟังคลิปต้นฉบับของครูเงาะ รสสุคนธ์ กองเกตุ เราจะแปะคลิปไว้ให้ข้างใต้นี้นะคะ แนะนำให้เปิดฟังค่ะ <3


    ☆゚.*・。゚
    *:・゚★ ถ้าใครชอบบทความนี้ก็กดแชร์
    และคอมเม้นท์ใต้บทความมาคุยกับเราได้เลยนะคะ ☆゚.*・。゚
    *:・゚★



    เขียน และเรียบเรียงโดย Nebulaz



     


    บทความที่เกี่ยวข้อง
    Content quotation bg
    Disclaimer : หากมีข้อสงสัย กรุณาติดต่อทีมงานมาที่ [email protected]
    Content quotation bg


    ดาวน์โหลดแอพ
    ดาวน์โหลดแอพดาวน์โหลดแอพ
    Icon ranking

    อันดับบทความประจำวัน

    (หมวดการ์ตูน)

    Variety By SistaCafe

    Icon feature 100x100

    Feature

    กิจกรรม SistaCafe