น่ากลัวไหมอะ ❓❗ ชวนมารู้จัก ' ภาวะหมดไฟ ( Burnout Syndrome ) ' อันตรายไหม? แก้ไขได้รึเปล่า?
PAGE 2/2
Home » สุขภาพ » น่ากลัวไหมอะ ❓❗ ชวนมารู้จัก ' ภาวะหมดไฟ ( Burnout Syndrome ) ' อันตรายไหม? แก้ไขได้รึเปล่า?
♨ แล้วมันส่งผลกระทบกับสุขภาพไหม ? ♨
แน่นอนค่ะว่ามันเป็นภาวะที่เกิดจากความเครียด ยังไงก็ส่งผลกระทบต่อร่างกายแน่นอน โดยส่งผลได้เป็น 3 ด้านหลัก ๆ ก็คือ ...
• ด้านร่างกาย : เราอาจจะมีอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง ปวดเมื่อย ปวดศีรษะ หรือเป็นออฟฟิศซินโดรมได้ เนื่องจากต้องโหมงานหรือปั่นงานหนัก ๆ ไปเรื่อย ๆ นั่นเอง
• ด้านจิตใจ : ด้านนี้เป็นด้านที่เรียกได้ว่าน่าจะหนักที่สุดเลยค่ะ คือบางคนก็สูญเสียแรงจูงใจ หมดหวัง รู้สึกว่ามันไม่มีทางจะดีขึ้นเลย แล้วยิ่งปล่อยไวนานวัน ก็จะยิ่งส่งผลให้มีอาการของภาวะซึมเศร้าและอาการนอนไม่หลับได้ ซึ่งบางคนอาจจะแก้ปัญหาด้วยการใช้สารเสพติดเพื่อจัดการกับอารมณ์ด้วย
• ด้านการทำงาน/การเรียน : พอทำงานหรือไปเรียนแล้วไม่มีความสุข มีแต่เรื่องเครียด ๆ ก็จะทำให้เราขาดงานบ่อย ขาดเรียนบ่อย ประสิทธิภาพการทำงานและการเรียนลดลง จนอาจจะคิดถึงเรื่องการลาออกในที่สุด
• ด้านร่างกาย : เราอาจจะมีอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง ปวดเมื่อย ปวดศีรษะ หรือเป็นออฟฟิศซินโดรมได้ เนื่องจากต้องโหมงานหรือปั่นงานหนัก ๆ ไปเรื่อย ๆ นั่นเอง
• ด้านจิตใจ : ด้านนี้เป็นด้านที่เรียกได้ว่าน่าจะหนักที่สุดเลยค่ะ คือบางคนก็สูญเสียแรงจูงใจ หมดหวัง รู้สึกว่ามันไม่มีทางจะดีขึ้นเลย แล้วยิ่งปล่อยไวนานวัน ก็จะยิ่งส่งผลให้มีอาการของภาวะซึมเศร้าและอาการนอนไม่หลับได้ ซึ่งบางคนอาจจะแก้ปัญหาด้วยการใช้สารเสพติดเพื่อจัดการกับอารมณ์ด้วย
• ด้านการทำงาน/การเรียน : พอทำงานหรือไปเรียนแล้วไม่มีความสุข มีแต่เรื่องเครียด ๆ ก็จะทำให้เราขาดงานบ่อย ขาดเรียนบ่อย ประสิทธิภาพการทำงานและการเรียนลดลง จนอาจจะคิดถึงเรื่องการลาออกในที่สุด
♨ วิธีแก้ไขภาวะหมดไฟล่ะ ? ♨
มีปัญหาก็ต้องมีทางแก้สิค้า~ ถ้าเรารู้สึกว่าเฮ้ย เนี่ยฉันเป็นตรงตามที่อ่านมาเป๊ะเลย ฉันต้องแก้ไขอะไรยังไงบ้าง วิธีแก้ไขเบื้องต้นเลยก็คือ ...
1. เราต้องพัฒนาทักษะในการจัดการปัญหา และความยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้เราลดหย่อนความตึงเครียดลงไปได้ รวมถึงทักษะการสื่อสาร อย่างการพูดต่อรอง ยืนหยัดเพื่อรักษาสิทธิของเราเอาไว้ อะไรพวกนี้ก็ต้องค่อย ๆ พูดหรือหาวิธีพูดด้วยน้าจะได้ไม่มีปัญหากัน
2. ยอมรับความแตกต่างของทุกคน เปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่อาจไม่ตรงกัน ไม่ด่วนตัดสินคนอื่น
1. เราต้องพัฒนาทักษะในการจัดการปัญหา และความยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้เราลดหย่อนความตึงเครียดลงไปได้ รวมถึงทักษะการสื่อสาร อย่างการพูดต่อรอง ยืนหยัดเพื่อรักษาสิทธิของเราเอาไว้ อะไรพวกนี้ก็ต้องค่อย ๆ พูดหรือหาวิธีพูดด้วยน้าจะได้ไม่มีปัญหากัน
2. ยอมรับความแตกต่างของทุกคน เปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่อาจไม่ตรงกัน ไม่ด่วนตัดสินคนอื่น
3. หาที่ปรึกษาหรือไปพบแพทย์ : ก็คือหาคนที่รับฟังการระบายความรู้สึกของเรานั่นเองค่ะ ถ้ามีเพื่อน พ่อแม่ พี่น้องที่สนิทก็แนะนำให้ลองไปพูดคุยกับเขาดูนะคะ แต่ถ้ากลัวว่าจะไม่มีใครฟังแนะนำให้พบจิตแพทย์เลยค่ะ อันนี้ช่วยได้โดยตรงเลยด้วย
4. ร่วมกิจกรรมทางสังคมและกิจกรรมเพื่อสุขภาพ เช่น ออกกำลังกาย หรือไปเที่ยว ไปคอนเสิร์ต ออกไปเปิดหูเปิดตาเพื่อผ่อนคลายความเครียดให้ลดลงไปบ้างนั่นเอง
แต่ถ้าเราทำทั้งหมดแล้วยังไม่ดีขึ้น แนะนำเลยว่าต้องไปพบจิตแพทย์นะคะ ไม่งั้นมันอาจจะส่งผลกระทบที่รุนแรงกว่าที่บอกมาด้านบนเน้อ ยังไงก็ขอให้ทุกคนผ่านภาวะนี้ไปได้น้า
4. ร่วมกิจกรรมทางสังคมและกิจกรรมเพื่อสุขภาพ เช่น ออกกำลังกาย หรือไปเที่ยว ไปคอนเสิร์ต ออกไปเปิดหูเปิดตาเพื่อผ่อนคลายความเครียดให้ลดลงไปบ้างนั่นเอง
แต่ถ้าเราทำทั้งหมดแล้วยังไม่ดีขึ้น แนะนำเลยว่าต้องไปพบจิตแพทย์นะคะ ไม่งั้นมันอาจจะส่งผลกระทบที่รุนแรงกว่าที่บอกมาด้านบนเน้อ ยังไงก็ขอให้ทุกคนผ่านภาวะนี้ไปได้น้า
♨ ♨ ♨ ♨ ♨ ♨ ♨ ♨ ♨ ♨ ♨ ♨ ♨ ♨ ♨ ♨ ♨ ♨ ♨
เป็นยังไงกันบ้างเอ่ย? เข้าใจเรื่อง ' ภาวะหมดไฟ ' หรือ Burnout Syndrome กันมากขึ้นแล้วใช่ไหมคะ จะบอกว่าภาวะนี้หลาย ๆ คนมักจะเป็นกันแบบไม่ค่อยรู้ตัวสักเท่าไหร่นัก คิดว่าแค่เป็นความขี้เกียจทั่ว ๆ ไป ยังไงถ้าทุกคนรู้แล้วว่าภาวะนี้มีอาการประมาณไหนก็ลองเอาไปสังเกตตัวเองกันด้วยนะคะ เพราะว่าภาวะหมดไฟในการทำงานมันอาจจะส่งผลกระทบไปถึงสุขภาพจิตด้านอื่น ๆ ด้วย การค่อย ๆ สังเกตตัวเองเป็นสิ่งที่ดีและไม่แปลกน้า ถ้าเรารู้ว่าตัวเองมีอะไรผิดปกติไปก็จะได้รักษาทันเน้อ เอาล่ะ~ ถ้าชอบบทความนี้ก็ฝากกดแชร์กันด้วยน้า ส่วนนี้ต้องขอตัวลาไปก่อน บ๊ายบายค่าทุกคน ♥