ด้วยความที่ช่วงนี้อากาศเริ่มเย็นแล้ว แต่ก็มีบ้างที่อากาศแปรปรวน เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวฝน เดี๋ยวหนาว คนป่วยง่ายอย่างเราๆ มีแต่ป่วยกับป่วย หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า ไม่ใช่แค่ลมหนาวที่มาพร้อมฤดูกาล แต่โรคก็มาพร้อมลมหนาวด้วยเหมือนกัน ดูแลตัวเองหน่อยก็ดีนะ!

เลือกอ่านตามหัวข้อ
1. โรคไข้หวัดใหญ่
2. ปอดบวม หรือปอดอักเสบ
3. โรคหัด
4. โรคอุจจาระร่วง จากไวรัสโรต้า
5. โรคไข้สุกใส
ช่วงนี้อากาศเริ่มแปรปรวนแล้ว ใช่! หน้าหนาว แต่ก็ไม่ได้หนาวขนาดนั้น บางวันก็ร้อนมาก บางวันก็ฝนตก เอาจริงๆ งงไปหมด ใดๆ คืออากาศไม่คงที่แบบนี้ มักจะทำให้เราป่วยได้ง่ายขึ้นนะ นอกจากโรคระบาดที่เราจะต้องกังวลกันแล้ว ยังมีโรคอื่นๆ ที่มาพร้อมกับอากาศหนาว ที่เราจำเป็นจะต้องกังวลกันด้วยเช่นกัน ซึ่งวันนี้ ทางเราได้รวมมาให้ดูแล้วค่ะ 5 โรคยอดฮิต ที่มาพร้อมลมหนาว ถ้าไม่อยากป่วย เสียเงินเสียทองรักษา ก็ต้องดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดีๆ จะมีโรคอะไรบ้าง เราไปอ่านพร้อมๆ กันเลย
1. โรคไข้หวัดใหญ่
หนึ่งในโรคยอดฮิต ที่เชื่อว่าหลายๆ คนน่าจะเคยเป็นกันมาก่อนแน่นอน โรคไข้หวัดและโรคไข้หวัดใหญ่ วันนี้ขอเจาะจงไปที่โรคไข้หวัดใหญ่เนอะ เพราะค่อนข้างร้ายแรงกว่าไข้หวัดปกติ ซึ่งโรคไข้หวัดใหญ่ เป็นการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน เกิดจากเชื้อไวรัส Influenza ที่ทำให้เกิดอาการรุนแรง และพบแพร่ระบาดอยู่บ่อยๆ 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ A และสายพันธุ์ B ส่วนใหญ่แล้วโรคนี้ไม่ได้เป็นอันตรายร้ายแรงอะไร แต่กับผู้สูงอายุ เด็กเล็ก หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง อาจจะต้องระวังสุขภาพให้มากๆ หน่อย หากพบว่ามีอาการ ควรรีบไปพบแพทย์และได้รับการรักษาทันที อย่าปล่อยไว้เด็ดขาดนะ
อาการ : มีไข้ปานกลาง ถึง สูง อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อมาก ปวดหัว อาจมีน้ำมูก ไอ
วิธีรักษา : เบื้องต้นถ้ารู้สึกว่า ไม่ได้เป็นอะไรหนักมาก แนะนำให้ดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อลดอุณหภูมิของร่างกาย นอกจากนี้ให้เช็ดตัวทุกชั่วโมงและอย่าลืมทานยา บวกกับนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอด้วย แต่ถ้าทานยาลดไข้แล้ว อากาศไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์นะคะ
อาการ : มีไข้ปานกลาง ถึง สูง อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อมาก ปวดหัว อาจมีน้ำมูก ไอ
วิธีรักษา : เบื้องต้นถ้ารู้สึกว่า ไม่ได้เป็นอะไรหนักมาก แนะนำให้ดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อลดอุณหภูมิของร่างกาย นอกจากนี้ให้เช็ดตัวทุกชั่วโมงและอย่าลืมทานยา บวกกับนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอด้วย แต่ถ้าทานยาลดไข้แล้ว อากาศไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์นะคะ
2. ปอดบวม หรือปอดอักเสบ
โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัส ที่เข้าไปอยู่ตามถุงลม จนทำให้เกิดการอักเสบ จนมีหนองและสารน้ำในถุงลม ทำให้ร่างกายไม่สามารถรับออกซิเจนได้ ส่วนใหญ่โรคนี้มักจะเกิดหลังจากที่เป็นโรคไข้หวัดเรื้อรัง หวัดรุนแรง หรือหลอดลมอักเสบ ยิ่งถ้าคุณเป็นคนที่เป็นโรคหอบหืด ต้องยิ่งระวังในเรื่องของสุขภาพให้ดีๆ เพราะโรคนี้เรามักจะพบได้บ่อยมากๆ ในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก และผู้สูงอายุ
อาการ : แน่นหน้าอกหายใจไม่ออก ไอ มีเสมหะ มีไข้สูง มักพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคระบบทางเดินหายใจหรือผู้ที่ภูมิคุ้มกันต่ำลง
วิธีรักษา : ไม่สามารถรักษาที่บ้านได้นะคะ แนะนำว่าให้รีบมาพบแพทย์ เพื่อรับยาปฏิชีวนะและยาลดไข้ ตามความเหมาะสมของอาการจะดีที่สุด นอกจากนี้ แนะนำให้ดื่มน้ำเยอะๆ เพราะจะช่วยลดเสมหะได้
3. โรคหัด
โรคหัด เป็นโรคที่เกิดจาก รูบีโอราไวรัส (rubeola virus) ที่สามารถติดต่อกันได้ทางลมหายใจ ไอจามรดกันโดยตรง หรือหายใจเอาละอองเสมหะที่ลอยอยู่ในอากาศเข้าไป ซึ่งโรคนี้มักจะพบมากในเด็กเล็ก ที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันมากกว่าผู้ใหญ่ ซึ่งมันจะมีระยะฟักตัวประมาณ 10 - 14 วัน เพราะฉะนั้นแนะนำว่า หากพบว่าลูกหลานที่บ้าน มีอาการตามที่เราบอกด้านล่างนี้ ให้รีบพาไปหาหมอทันที อย่าดึงดันรักษาเอง หรือรอดูอาการลูกหลาน จนปล่อยให้อาการหนัก เพราะมันอันตรายมากๆ
อาการ : มีไข้สูง และมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีน้ำมูก ไอ ตาแดง พบจุดสีเทาขาวบริเวณกระพุ้งแก้มตรงข้ามกับฟันกรามซี่ใน โดยจะขึ้นในช่วง 2 - 3 วัน ที่เป็นโรค หลังจากนั้นจะหายไป นอกจากนี้จะมีผื่นเป็นปื้นสีแดง หลังจากเป็นไข้มาแล้ว 3 - 4 วัน โดยผื่นจะขึ้นจากบริเวณไรผม มาที่หน้า ลำตัว แขน และลงมาที่ขา และจะหายไปเอง ภายใน 7 วัน บางรายต่อมน้ำเหลืองหลังใบหูบวมด้วย
วิธีรักษา : ใดๆ คือควรพาไปพบแพทย์นะ เพื่อที่จะได้รักษาให้ถูกทิศถูกทางด้วย เพราะโรคหัดไม่ใช่โรคร้ายแรง การรักษาจึงสามารถรักษาตามอาการจนกว่าจะหายได้ นอกจากนี้ ยังมีวัคซีนที่สามารถฉีดป้องกันได้ตั้งแต่เด็กอีกด้วยนะคะ
อาการ : มีไข้สูง และมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีน้ำมูก ไอ ตาแดง พบจุดสีเทาขาวบริเวณกระพุ้งแก้มตรงข้ามกับฟันกรามซี่ใน โดยจะขึ้นในช่วง 2 - 3 วัน ที่เป็นโรค หลังจากนั้นจะหายไป นอกจากนี้จะมีผื่นเป็นปื้นสีแดง หลังจากเป็นไข้มาแล้ว 3 - 4 วัน โดยผื่นจะขึ้นจากบริเวณไรผม มาที่หน้า ลำตัว แขน และลงมาที่ขา และจะหายไปเอง ภายใน 7 วัน บางรายต่อมน้ำเหลืองหลังใบหูบวมด้วย
วิธีรักษา : ใดๆ คือควรพาไปพบแพทย์นะ เพื่อที่จะได้รักษาให้ถูกทิศถูกทางด้วย เพราะโรคหัดไม่ใช่โรคร้ายแรง การรักษาจึงสามารถรักษาตามอาการจนกว่าจะหายได้ นอกจากนี้ ยังมีวัคซีนที่สามารถฉีดป้องกันได้ตั้งแต่เด็กอีกด้วยนะคะ
4. โรคอุจจาระร่วง จากไวรัสโรต้า
โรคนี้เป็นโรคที่สามารถพบได้ทั่วไป ซึ่งโรคอุจจาระร่วง จากเชื้อ ไวรัสโรต้า ( Rotavirus ) มักพบได้ง่ายในช่วงฤดูหนาว และผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเป็นเด็กอายุ ต่ำกว่า 5 ปี แต่ปัจจุบันได้รามมาจนถึงผู้ใหญ่แล้วค่ะ! โดยปกติแล้ว เชื้อนี้สามารถปนเปื้อนมาได้กับอาหาร ซึ่งโรคนี้สามารถหายไปเองได้ใน 5 - 10 วัน หลังจากได้รับการรักษาหรือทานยา แต่ถ้ากินยาแล้ว ไม่หาย แนะนำว่าให้รีบไปพบแพทย์ แม้จะไม่ใช่โรคที่ร้ายแรงอะไรมากมาย แต่สำหรับคนที่มีร่างกายอ่อนแอ โรคนี้อาจจะส่งผลรุนแรงได้ เพราะฉะนั้นห้ามละเลยนะ
อาการ : มีอาการอาเจียนมาก / ถ่ายมากผิดปกติ ซึม ไม่มีแรง มือเท้าเย็น ปัสสาวะสีเข้ม ปัสสาวะน้อย หรือไม่ปัสสาวะเลยเกิน 6 ชม. ปากแห้ง ตาโหล ร้องไห้ไม่มีน้ำตา ในเด็กจะมีกระหม่อมบุ๋ม
วิธีรักษา : จริงๆ ก็รักษาตามอาการเลยค่ะ ให้ดื่มน้ำเกลือแร่ชดเชยส่วนที่สูญเสียไป และรับประทานยาตามอาการ หากกินยาแล้ว ยังไม่หาย มีอาการขาดน้ำ ปัสสาวะออกน้อย หรืออาเจียนมากรับประทานไม่ได้ ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลโดยด่วน
อาการ : มีอาการอาเจียนมาก / ถ่ายมากผิดปกติ ซึม ไม่มีแรง มือเท้าเย็น ปัสสาวะสีเข้ม ปัสสาวะน้อย หรือไม่ปัสสาวะเลยเกิน 6 ชม. ปากแห้ง ตาโหล ร้องไห้ไม่มีน้ำตา ในเด็กจะมีกระหม่อมบุ๋ม
วิธีรักษา : จริงๆ ก็รักษาตามอาการเลยค่ะ ให้ดื่มน้ำเกลือแร่ชดเชยส่วนที่สูญเสียไป และรับประทานยาตามอาการ หากกินยาแล้ว ยังไม่หาย มีอาการขาดน้ำ ปัสสาวะออกน้อย หรืออาเจียนมากรับประทานไม่ได้ ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลโดยด่วน
5. โรคไข้สุกใส
โรคนี้เกิดจากไวรัสชนิดหนึ่ง โดยเชื้อนี้จะก่อให้เกิดโรคอีสุกอีใสในผู้ที่เพิ่งติดเชื้อเป็นครั้งแรก หลังจากนั้นเชื้อจะหลบซ่อนอยู่ในปมประสาท เมื่ออายุมากขึ้นหรือภูมิคุ้มกันต่ำ เชื้อที่หลบซ่อนอยู่ก็จะเจริญเติบโตขึ้นใหม่ก่อให้เกิดโรคงูสวัดได้! ซึ่งโดยปกติโรคนี้ จะพบมากตอนเราเด็กๆ ช่วงอายุประมาณ 5 - 9 ปี ซึ่งเป็นโรคที่สามารถติดต่อกันได้ด้วยการหายใจเอาฝอยละอองจากทางเดินหายใจของผู้ป่วยเข้าไป หรือจากการสัมผัสโดยตรงกับตุ่มน้ำที่ผิวหนังของผู้ป่วยที่อยู่ในระยะแพร่เชื้อ เขามีระยะเวลาแพร่เชื้อได้ประมาณ 1 - 2 วันก่อนผื่นขึ้นจนกระทั่งผื่นตกสะเก็ดหมด ส่วนระยะฟักตัวของโรค สำหรับคนที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย จะอยู่ที่ 10 - 21 วัน แต่ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ร้ายแรงมาก เป็นแล้วก็สามารถหายเองได้
อาการ : เริ้มจากการมีไข้ต่ำๆ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และมีผื่นขึ้นเริ่มจากลำตัว ใปหน้า และลามไปแขนขา โดยส่วนใหญ่ผื่นจะขึ้นบริเวณลำตัวมากกว่าแขนขา ลักษณะผื่นตอนแรกจะเป็นผื่นแดง มักมีอาการคันร่วมด้วย อย่าเกานะ ไม่งั้นมันจะยิ่งรุกรามไปกันใหญ่ ต่อมาตุ่มแดงๆ จะกลายเป็นตุ่มน้ำอย่างรวดเร็ว และตกสะเก็ด ในที่สุดสะเก็ดจะหลุดหายไปในเวลา 5 - 20 วัน
วิธีรักษา : เมื่อมีไข้ให้กินยาลดไข้ ทั้งนี้ ตอนที่เป็นโรคนี้อยู่ ให้งดการใช้ของร่วมกับคนอื่น ห้ามแคะ แกะเกา บริเวณตุ่ม เพราะอาจทำให้อักเสบและเป็นแผลเป็นได้ โดยปกติไม่ต้องไปพบแพทย์นะ เพราะโรคนี้มักจะหายไปเองได้ เนื่องจากอาการไม่ได้รุนแรงมากมาย แต่หากพบว่า ลูกหลานเป็นแล้ว มีอาการแทรกซ้อน ก็ควรจะรีบไปพบแพทย์นะ
อาการ : เริ้มจากการมีไข้ต่ำๆ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และมีผื่นขึ้นเริ่มจากลำตัว ใปหน้า และลามไปแขนขา โดยส่วนใหญ่ผื่นจะขึ้นบริเวณลำตัวมากกว่าแขนขา ลักษณะผื่นตอนแรกจะเป็นผื่นแดง มักมีอาการคันร่วมด้วย อย่าเกานะ ไม่งั้นมันจะยิ่งรุกรามไปกันใหญ่ ต่อมาตุ่มแดงๆ จะกลายเป็นตุ่มน้ำอย่างรวดเร็ว และตกสะเก็ด ในที่สุดสะเก็ดจะหลุดหายไปในเวลา 5 - 20 วัน
วิธีรักษา : เมื่อมีไข้ให้กินยาลดไข้ ทั้งนี้ ตอนที่เป็นโรคนี้อยู่ ให้งดการใช้ของร่วมกับคนอื่น ห้ามแคะ แกะเกา บริเวณตุ่ม เพราะอาจทำให้อักเสบและเป็นแผลเป็นได้ โดยปกติไม่ต้องไปพบแพทย์นะ เพราะโรคนี้มักจะหายไปเองได้ เนื่องจากอาการไม่ได้รุนแรงมากมาย แต่หากพบว่า ลูกหลานเป็นแล้ว มีอาการแทรกซ้อน ก็ควรจะรีบไปพบแพทย์นะ
ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนบ่อย ยังไงก็ดูแลสุขภาพกันด้วยนะ เพราะเวลาที่ป่วยทีนึง มันไม่ได้เสียหายแค่ร่างกายของเรา แต่มันเสียหายหลายอย่างมาก เพราะฉะนั้นดูแลตัวเองให้ดี เรื่องสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญมากๆ ยังไงก็รักษาสุขภาพกันด้วยนะคะ
สำหรับวันนี้ต้องลาไปก่อนแล้ว บ๊ายบาย
❤ อย่าลืมไลค์และแชร์บทความให้กำลังใจเราด้วยนะคะ ❤

อันดับบทความประจำวัน
(หมวดสุขภาพ)
Variety By SistaCafe

Feature
กิจกรรม SistaCafe