

Fluent in Deutsch! 7 เคล็ดลับเรียน 'ภาษาเยอรมัน' ให้เก่งอย่างรวดเร็ว ไม่ดำน้ำ แถมใช้งานได้จริง ♡
ใครกำลังศึกษาหาข้อมูล เตรียมจะไปใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศนี้อย่างจริงจัง ขั้นตอนแรกที่สำคัญคือควรฝึกภาษาเยอรมัน ( Deutsch ) เสียก่อน แม้หลายคนจะไซโคว่ายากเว่อวังอลังการมาก แต่ถ้าทำตามทริคนี้ รับรองว่าระดับ fluent ไม่ไกลเกินฝันแน่นอน!

เลือกอ่านตามหัวข้อ
ต้องเรียนภาษาเยอรมันนานแค่ไหน ถึงเรียกว่า 'Fluent'
1. ลิสต์คำที่ใช้บ่อย (High Frequency Lists) เพื่อเรียนคำศัพท์เยอรมันที่ใช้บ่อยๆ
2. รู้จักกริยาพิเศษ (Modal Verbs) พูดมากขึ้น แต่ผันกริยาน้อยลง!
3. หาเพื่อนเยอรมัน Native Speaker ออนไลน์ เพื่อฝึกฟัง พูด อ่าน เขียน
4. รู้จักไวยากรณ์ (Syntax) หรือการเรียงลำดับของคำในประโยค
5. เซตสภาพแวดล้อม ให้ได้ใช้ 'ภาษาเยอรมัน' จริงๆ ไม่ใช่แค่ในตำรา
6. เรียนรู้ 'คำบุพบท' ในภาษาเยอรมัน ผ่านรูปไวยากรณ์
7. ฝึกท่องคำนาม และเพศนำหน้าคำนาม ไปในเวลาเดียวกัน
Guten Tag! สาวๆ SistaCafe ที่อยากเก่ง ' ภาษาเยอรมัน ' ทุกคน
ในช่วงสถานการณ์บ้านเมืองที่ไม่ค่อยดี หลายคนก็อยากไปเสาะหาอนาคตและชีวิตที่ดีกว่าในต่างประเทศ จึงเกิดกระแสทำกรุ๊ป ' ย้ายประเทศ ' ในโซเชียลขึ้น เพื่อรีวิว บอกลู่ทางและข้อดี ข้อเสียหากคิดจะย้ายถิ่นฐานจริงจัง ซึ่งทุกคนก็คงรู้ดีว่า ไม่มีที่ไหนบนโลกนี้เป็นสวรรค์วิมาน 100% ทุกประเทศมีสิ่งที่ต้องแลก อยู่ที่ว่าเรารับได้กับข้อเสียของที่ไหนมากกว่า อีกทั้งยังต้องพัฒนาตัวเองให้มากที่สุด เพื่อจะได้ไปแล้วไม่บ่นว่า ' อยู่ยาก ' จนสุดท้ายอยู่ไม่ไหวต้องกลับไทยค่ะ #จะหนีก็ต้องหนีให้รอดเด้อ
ใครที่กำลังสนใจอยากปักหมุดโลเคชั่น ไปลงที่ประเทศเยอรมัน ประเทศขวัญใจของหลายๆ คน ทั้งเรื่องสถานที่สวยงาม อากาศบริสุทธิ์ กฎบ้านเมืองใช้ได้จริง ( อุ๊ปส์ ) และการศึกษาติดอันดับท็อปของโลกนั้น อย่างหนึ่งที่ควรจะต้องเตรียมตัวก่อนไปแน่ๆ คือฝึก ' ภาษาเยอรมัน ' ให้คล่องแคล่วค่ะ แม้ตอนเรียนอาจยังไม่ได้ใช้มากนัก แต่ถ้าคิดจะทำงานที่นู่นยาวๆ ต้องติดต่อเอกสารราชการทุกอย่างเอง ยังไงเธอก็หนีภาษาเขาไม่พ้นหรอก รู้ไว้ยังไงก็ได้เปรียบกว่า! ในบทความนี้เราจึงมาแนะนำบทความ ' 7 เคล็ดลับเรียนภาษาเยอรมัน ให้เก่งขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ใช้งานได้จริง ' กันค่ะ
ต้องเรียนภาษาเยอรมันนานแค่ไหน ถึงเรียกว่า 'Fluent'
ข้อสอง ระยะเวลากว่าจะเก่งภาษาเยอรมัน ขึ้นอยู่กับว่าเธอจะ ' ขายวิญญาณ ' ให้ภาษานี้ได้มากแค่ไหน ให้เวลากับมันได้ต่อวันกี่ชั่วโมง เช่น ถ้าเธอท่องหนังสือวันละ 5-6 ชั่วโมง แม้จะเรียนมาแค่ไม่กี่เดือน เธอก็ย่อมไปไวกว่าคนที่เรียนมาหลายปีแล้ว แต่เรียนแค่สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมงแน่นอน ยิ่งฝึกเยอะ ฝึกหนักก็ยิ่งคุ้นชินกับภาษา พอคุ้นชินก็คล่องมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นเรื่องธรรมดา ดังนั้นจะฝึกตอนอายุเท่าไหร่ไม่ใช่ปัญหา แต่ต้องมีเวลาให้มันมากพอเท่านั้นเองค่ะ
A1 60-150 ชั่วโมง ( เบสิคมากๆ ไว้เอาชีวิตรอดตอนไปเที่ยวอย่างเดียว )
A2 150-260 ชั่วโมง ( ระดับพื้นฐาน เริ่มรู้คำศัพท์ สื่อสารง่ายๆ ได้บ้าง )
B1 260-490 ชั่วโมง ( สื่อสารได้ในชีวิตประจำวัน )
*หากพูดถึงความคล่องของการใช้ภาษา ตามเกณฑ์ทั่วๆ ไปก็ควรสอบวัดระดับได้ขั้นต่ำ C1 ถึงจะเรียกว่า fluent แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าสอบได้คะแนนสูงแล้วจะพูดคล่อง อ่านออกทุกเรื่องอยู่ดี และจำนวนชั่วโมงเหล่านี้ก็เป็นมาตรฐานกลาง บางคนใช้เวลาเร็วกว่านี้ บางคนช้ากว่านี้ ตอนนี้เธอน่าจะพอกะได้แล้วว่า จะต้องใช้เวลาเท่าไหร่ในการสอบวัดระดับ แต่ในบทความนี้จะแชร์ทริคที่ทำให้เรียนได้ไวขึ้น เป็นได้เร็วขึ้น! จะต้องทำยังไงบ้างเรามาดูกันค่า
1. ลิสต์คำที่ใช้บ่อย (High Frequency Lists) เพื่อเรียนคำศัพท์เยอรมันที่ใช้บ่อยๆ
ไม่ใช่แค่เยอรมัน แต่คำศัพท์ที่ใช้บ่อยของทุกๆ ภาษา ก็สามารถเซิร์ชหาได้ตามอินเทอร์เน็ต เช่น เว็บไซต์ Wiktionary อีกทางหนึ่งที่อยากแนะนำคือ เรียนรู้จากคลิปที่เกี่ยวกับสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน, คลิปรีวิวของ, คลิปฮาวทูต่างๆ ในยูทูป อินสตาแกรม ติ๊กต่อก เพื่อให้คุ้นชินกับสำเนียง ศัพท์ที่ใช้ในชีวิตจริง และความเร็วที่คนจริงๆ พูด จะได้ไม่งงและปรับตัวได้เร็วเมื่อไปอยู่จริง
**อีกวิธีหนึ่งที่ recommend มากๆ คือใช้ Flash Card หรือบัตรจำคำศัพท์ เขียนศัพท์ที่อยากท่องให้ขึ้นใจ เย็บเป็นเล่มเล็กๆ พกติดตัว นึกออกเมื่อไหร่ก็หยิบขึ้นมาท่อง คำไหนท่องได้แล้วก็แยกไว้อีกเล่ม เหลือแค่คำที่ยังจำไม่ได้ การแยกเล่มคำที่จำได้-จำไม่ได้ จะทำให้เรารู้ด้วยว่าจำไปได้จริงๆ กี่คำแล้วค่ะ
2. รู้จักกริยาพิเศษ (Modal Verbs) พูดมากขึ้น แต่ผันกริยาน้อยลง!
จะให้นั่งท่องจำทุกรูปที่ผันแล้วของกริยาทุกแบบ 1 2 3 4 ก็ดูจะสาหัสเกินไป โดยเฉพาะกริยารูปอดีต simple past และ imperfect กลัวจะชักดิ้นชักงอกันไปเสียก่อน ลองเปลี่ยนจากเรียนรู้การผันกริยาช่วยพิเศษแค่ 7 คำ ที่ผันเพื่อสื่อความหมายได้แทบทุกอย่างที่เธอต้องการ ( modal verbs ) กันดีกว่า โดย 7 กริยาที่มักใช้บ่อยๆ มีดังนี้
เมื่อนำมาใช้ในประโยค ตำแหน่งกริยานั้นจะไปอยู่ที่ลำดับสุดท้าย หรือเป็น infinitive verb ( กริยาแท้ๆ ที่ยังไม่ได้ผัน ) นั่นเอง ตัวอย่างเช่น
ประธาน + กริยา + กรรม >> ประธาน + กริยาช่วยที่ผันแล้ว ( modal verb ) + กรรม + กริยาหลักที่ยังไม่ได้ผัน
ประโยคแรก gehen ถูกผันเป็น gehe แต่ประโยคที่สอง gehen อยู่ในรูปกริยาแท้ที่ยังไม่ผัน ( infinitive verb ) แต่ใช้ modal verb เป็น möchten ( ต้องการที่จะ ) ที่ผันเป็น möchte แทน สองประโยคนี้ความหมายไม่เหมือนกันซะทีเดียว แต่ประโยคที่สองจะแสดงความต้องการที่ชัดเจนกว่า หากพูดกับคนเยอรมัน เขาจะเข้าใจทันทีว่าเธอต้องการที่จะสื่ออะไรค่ะ
3. หาเพื่อนเยอรมัน Native Speaker ออนไลน์ เพื่อฝึกฟัง พูด อ่าน เขียน
แนะนำให้หาเพื่อนเยอรมัน ( ซึ่งควรจะเป็นเนทีฟแท้ๆ เป็น german-speaking ไม่ใช่แค่คนที่พอรู้เยอรมันเฉยๆ เพราะอาจจะสอนกันผิดๆ ถูกๆ ได้ ) ตามเว็บไซต์หรือแอปหาเพื่อนต่างชาติ เขียนอีเมลคุยกัน เช่น interpals, italki หรือในกรุ๊ปแชทออนไลน์ก็ดี ถ้าเป็นสายเกมออนไลน์ เข้าเซิร์ฟเวอร์หรือเกมที่คนเยอรมันนิยมเล่น ก็มีแนวโน้มจะเจอเพื่อนเยอรมันได้ง่ายขึ้นเช่นกัน ( ถ้าไม่ซีเรียส แอปหาคู่อย่างทินเดอร์ก็หาเพื่อนได้นะ ไม่จำเป็นต้องหาแค่แฟนค่ะ ) หากสนิทกันก็ลองแกล้งๆ ขอ video call หรือคุยเสียงเฉยๆ ก็ได้ เพื่อสอนการออกเสียง คำไม่ทางการ แสลงต่างๆ ไม่ต้องกลัวพูดผิด กลัวเด๋อ พูดไปเถอะเดี๋ยวเขาแก้ให้เอง คนเราต้องเด๋อก่อนที่จะฉลาดทั้งนั้นค่ะ ถ้าเก็บงำความเด๋อไว้ ก็จะไม่มีวันเก่งนะเออ!
4. รู้จักไวยากรณ์ (Syntax) หรือการเรียงลำดับของคำในประโยค
การตั้งประโยคคำถามก็ต้องเปลี่ยนลำดับคำในประโยค ประธานกับกริยาจะสลับตำแหน่งกัน เช่น จะถามว่า " รู้จักแม่ของฉันไหม " ต้องถามว่า kennst du meine Mutter? โดยกริยา kennst ( รู้จัก ) และประธาน du ( you ) จะสลับตำแหน่งกันเพื่อให้เป็นคำถามนั่นเองค่ะ
5. เซตสภาพแวดล้อม ให้ได้ใช้ 'ภาษาเยอรมัน' จริงๆ ไม่ใช่แค่ในตำรา

อันดับบทความประจำวัน
(หมวดอื่น ๆ)
Variety By SistaCafe

Feature
กิจกรรม SistaCafe