

เปย์เก่ง รับบทคนรวยทิพย์! 7 ทริค ' คุมรายรับรายจ่าย สไตล์คนถังแตก ' ออมเงินให้อยู่ กระเป๋าไม่รั่วไหล
ฉันไม่ได้รวย ฉันแค่ใช้เงินเก่ง เจอของอยากได้ สลิปโอนก็ปลิวแล้วจ่ะ ไปๆ มาๆ เงินจะหมดบัญชีแล้วแม่เอ้ย TT แบบนี้ต้องดัดนิสัยตัวเองด้วย 7 ทริคเก็บเงินให้อยู่ อุดรูรั่วกระเป๋าตังค์ให้ได้ เพื่อความมั่นคงทางการเงินของพวกเราทุกคนค่าา

เลือกอ่านตามหัวข้อ
1. ของไม่ใช้ ต้องขายออก / ของไม่จำเป็น ต้องหยุดสะสมจนล้นบ้าน
2. ของในบ้านหมด ต้องทำ ' Shopping List ' ให้ชัดเจน และซื้อแค่ที่เขียนไว้เท่านั้น
3. จัดตู้เสื้อผ้า ตัวไหนยัดอยู่ในหลืบ ไม่เคยใส่ ไม่ชอบแล้ว ควรขาย หาเงินคืน!
4. ติดตาม ' อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ' ของแต่ละธนาคาร ที่ไหนให้สูง ก็ฝากที่นั่น
5. เลี่ยงการซื้อ ' ฟาสต์ฟู้ด / ขนมกินเล่น กินมื้อเดียวหมด ' เข้าบ้าน
6. เปลี่ยน ' หลอดไฟในบ้าน ' เป็นแบบประหยัดไฟ เช่น ไฟ LED, CFL
7. ลบข้อมูล ' บัตรเครดิต ' จากเว็บไซต์ช้อปปิ้งออนไลน์ให้หมด!
เซย์ไฮค่าา สาวๆ SistaCafe ทีม ' #เงินปลิว ' ทุกคน
พูดแล้วก็เศร้า มองเงินในบัญชีตอนนี้แล้วงงมาก นี่เงินเดือนหรือเงินทอนเอ่ย? แต่จะว่าบริษัทก็ไม่ได้ ต้องโทษตัวเองที่ช้อปแหลกแหกสะบั้นมากเวอร์ บัตรเครดิตนี่รูดปื๊ดๆ อยู่บ้านก็ช้อปปิ้งออนไลน์ กล่องพัสดุมาส่งบ้านทีเป็นสิบๆ กล่องจนแม่ด่าทุกวัน บางอย่างซื้อมาก็ไม่ได้ใช้ เอาไปกองสะสมเป็นภูเขาจนจะล้นออกมานอกห้องอยู่แล้ว แถมยังบ้าโปรโมชัน อะไรลดซื้อหมดทั้งที่ตัวเองไม่ได้อยากได้จริงๆ ด้วยซ้ำ ก็เลยต้องมารับบทคนจน แม่นางกระเป๋ารั่วแบบนี้แหละค่า
ถ้าเป็นคนรวย เงินเดือนหลักแสน จะเปย์ทิ้งๆ ขว้างๆ มันก็พอได้แหละ แต่นี่ก็มนุษย์เงินเดือนกินข้าวแกงทั่วไป ถ้ายังทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทบค่าใช้จ่ายจำเป็น คงได้ติดหนี้บัตรเครดิตหัวโต ต้องไปนั่งล้างจาน ขับแกร๊บ ไลน์แมนหาอาชีพเสริมแบบจุกๆ เป็นแน่แท้ ต้องดัดนิสัยตัวเองซะตั้งแต่วันนี้ ด้วยการทำตาม ' 7 ทริคคุมรายรับรายจ่าย สไตล์คนไม่มีเงิน ถังแตก ' จงรูดซิปกระเป๋าตังค์ให้มั่น เพราะครั้งนี้เงินในบัญชีจะไม่รั่วไหลอีกต่อไป!!
1. ของไม่ใช้ ต้องขายออก / ของไม่จำเป็น ต้องหยุดสะสมจนล้นบ้าน
ไม่ว่าจะเป็นไอเทมแฟชั่น กระเป๋า รองเท้า ตุ๊กตา ของอิเล็กทรอนิกส์ ฟิกเกอร์ หรือของสะสมใดๆ ที่วางไว้เต็มบ้าน ทริคของเราคือ ของชิ้นไหนที่ไม่ได้สนใจ ไม่ได้นำมาใช้ มาลูบคลำสัมผัส หรือรับรู้การมีตัวตนอยู่ของมันเกิน 6 เดือน แปลว่าของชิ้นนั้นไม่ได้สำคัญขนาดนั้น เธออาจจะเสียดายช่วงแรกที่เอาไปขาย แต่ถ้ามันถูกซื้อไป เดี๋ยวสักพักก็ลืมไปเอง ดังนั้นแยกของที่ไม่ spark joy ( สร้างความสุข ) ได้อีกแล้ว และนำไปขายตามตลาดนัดเปิดท้าย หรือลงขายออนไลน์ก็ได้ค่ะ
2. ของในบ้านหมด ต้องทำ ' Shopping List ' ให้ชัดเจน และซื้อแค่ที่เขียนไว้เท่านั้น
จงเริ่มดัดนิสัยตัวเองด้วยการเขียนรายการ ' ของที่ต้องซื้อ ' ในแต่ละครั้งอย่างชัดเจน แบ่งเป็นข้อๆ เลยว่าต้องซื้ออะไร เท่าไหร่ อย่าเขียนกว้างเกินไป เช่น แชมพูยี่ห้อ A 2 ขวด อย่าเขียนแค่แชมพู เพราะเธออาจเผลอซื้อเยอะเกินความจำเป็นได้ และที่สำคัญที่สุด ต้องแข็งใจไม่ซื้อนอกเหนือรายการนั้นโดยเด็ดขาด ถ้าไม่ใช่ของที่ผ่านตามาวินาทีสุดท้าย และจำเป็นต้องใช้แบบคอขาดบาดตายจริงๆ จงเดินผ่านมันไป อย่าหยิบใส่ตะกร้า อาจจะทรมานหน่อยช่วงแรก แต่เมื่อเดินเข้าเคาน์เตอร์ชำระเงิน ถือถุงออกมาแล้ว ความอยากจะค่อยๆ จางหายไปเอง บางทีให้กลับไปคิดอีกครั้งยังงงเลยว่า " ทำไมตอนนั้นฉันถึงอยากซื้อขนาดนั้นนะ "
3. จัดตู้เสื้อผ้า ตัวไหนยัดอยู่ในหลืบ ไม่เคยใส่ ไม่ชอบแล้ว ควรขาย หาเงินคืน!
คงต้องถึงเวลาแล้วที่ซิสจะหาวันว่างๆ สักวันนึง เปิดตู้เสื้อผ้าเจ้าปัญหาเพื่อเคลียร์กองเสื้ออย่างจริงจัง แยกให้ชัดเจนว่าตัวไหนใช้แน่ๆ ตัวไหนที่ไม่น่าจะมีโอกาสได้ใส่อีกแล้ว สภาพดีหน่อยก็นำไปขายต่อมือสองออนไลน์ ถ้าสภาพแยกขายเดี่ยวไม่ได้ เขาก็มีขายแบบชั่งกิโลที่อาจจะเงินน้อยลง แต่อย่างน้อยก็มีรายรับเข้ามา แม้จะไม่มากก็ยังดี แถมการจัดระเบียบตู้เสื้อผ้า ยังมีข้อดีทางจิตวิทยาให้สาวๆ รู้สึกปลอดโปร่ง สดชื่น พร้อมรับสิ่งใหม่ๆ ที่จะเข้ามาในชีวิตอีกด้วยนะ
4. ติดตาม ' อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ' ของแต่ละธนาคาร ที่ไหนให้สูง ก็ฝากที่นั่น
ถ้าเธอยังเป็นกลุ่มที่มีเงินเก็บอยู่บ้าง ให้กันออกมาส่วนนึงเป็น ' เงินฝากเพื่อเอาดอกเบี้ย ' โดยเฉพาะ นั่นหมายถึงห้ามไปแตะ ไปยุ่งอะไรกับมันเด็ดขาด อย่างน้อยก็ภายในเวลาที่กำหนด เมื่อฝากจบ ถอนออกมา เงินต้นก็จะเพิ่มขึ้นเพราะเป็นเงินเดิมของเรา + ดอกเบี้ย จากนั้นก็หาโปรโมชันใหม่ของธนาคารที่ให้ดอกเบี้ยต่อ วนลูปไปเรื่อยๆ จำไว้ว่าธนาคารไม่ได้ให้เงินเราฟรีๆ แต่เขาเอาเงินของเราไปหมุนให้ลูกค้าเงินกู้ ดังนั้นดอกเบี้ยคือค่าตอบแทน เราจึงต้องหาเจ้าที่ตอบแทนเราคุ้มค่าที่สุดนั่นเองค่ะ
5. เลี่ยงการซื้อ ' ฟาสต์ฟู้ด / ขนมกินเล่น กินมื้อเดียวหมด ' เข้าบ้าน
ในช่วงที่ต้องประหยัด รัดเข็มขัดกันตึงเปรี๊ยะแบบนี้ เราแนะนำให้เธอเปลี่ยนจากการซื้ออาหารข้างนอกกินที่เปลืองเงินมากโข เป็น ' ซื้อวัตถุดิบจากซูเปอร์มาทำกินเอง ' แทน นอกจากจะได้อาหารที่สด ใหม่ เฮลตี้แน่นอนเพราะเราเลือกมากับมือ เธออาจจะตกใจว่าอาหารหลายอย่าง ทำกินเองราคาถูกกว่าซื้อเขาครึ่งต่อครึ่งเลยทีเดียว อาจจะเหนื่อยตอนทำนิดนึง แต่มีเงินเก็บแบบเหลือๆ แบบที่รู้งี้ ทำนานแล้ว!
6. เปลี่ยน ' หลอดไฟในบ้าน ' เป็นแบบประหยัดไฟ เช่น ไฟ LED, CFL

อันดับบทความประจำวัน
(หมวดอื่น ๆ)
Variety By SistaCafe

Feature
กิจกรรม SistaCafe