

#เด็กจบใหม่ต้องอ่าน! 📌 7 ทริคเขียน ' เรซูเม่ ( resume ) ' ฉบับมือโปร ให้ HR สนใจ แม้ไม่เคยมีประสบการณ์
ผ่านช่วงรับปริญญาไปแล้ว ตอนนี้เป็นสงครามของทั้งเด็กจบใหม่และวัยทำงานที่อยากเปลี่ยนสาย แต่บริษัทที่มีกลับปิดตัวลงเรื่อยๆ โควต้ารับงานมีจำกัด เธอจึงควรพรีเซนต์ตัวเองให้โดดเด่นผ่านด่านแรกอย่าง ' เรซูเม่ ' ให้ได้มากที่สุด ทำดีก่อน ก็ได้รับเลือกสัมก่อน!

เลือกอ่านตามหัวข้อ
1. สรุปย่อ ' เป้าหมายในสายงาน ( personal statement ) ' ที่หัวกระดาษ
2. เลือก ' รูปแบบ ( template ) ' ของเรซูเม่ ให้เหมาะกับสายงานนั้นๆ
3. ใส่ใจกับตัวอักษร การสะกดคำศัพท์ ว่ามีพิมพ์ตกหล่น ถูกไวยากรณ์หรือไม่
4. หัวข้อ ' ผลงานที่ได้รับ/ประสบการณ์ที่ผ่านมา ' ควรชัดเจน เข้าใจง่าย
5. ในหัวข้อ ' การศึกษา/ทักษะที่มี ' ควรเป็นความสามารถที่วัดผลได้
6. ถ้าไม่เคยไป ' ฝึกงานในสนามจริง ' เลย ควรไปสมัครหาประสบการณ์ก่อน
7. เข้าคอร์สอบรมออนไลน์, เรียนเสริม, กิจกรรมเพื่อสังคม etc. จะยิ่งมีแต้มต่อ
สวัสดีค่าา สาวๆ SistaCafe ที่เพิ่งเรียนจบหมาดๆ ทุกคน
งานรับปริญญาผ่านไปสักพักแล้ว ตอนนี้บัณฑิตจบใหม่หลายๆ คนน่าจะกำลังเริ่มหางาน ทยอยส่งเรซูเม่ในตำแหน่งรับสมัครที่สนใจ รอให้ HR โทรเรียกไปสัมภาษณ์ ซึ่งในสถานการณ์ปกติ เด็กจบใหม่ก็แทบจะเรียกว่าตบตีกันแย่งงานอยู่แล้ว ยิ่งช่วงโควิดที่หลายๆ บริษัทปิดตัวไป โควต้าตำแหน่งงานจำกัดมากขึ้น ก็ยิ่งต้องพยายามหาสกิลใหม่ๆ ให้ตัวเองพร้อมกว่าคนอื่นเป็นทวีคูณ แต่สุดท้ายถึงจะเก่งมาจากไหน ก็อาจตกม้าตายได้ง่ายๆ ถ้าด่านแรกอย่าง ' เรซูเม่ ' ไม่สนใจ ไม่น่าอ่าน และนั่นคือที่มาของบทความนี้ค่ะ
1. สรุปย่อ ' เป้าหมายในสายงาน ( personal statement ) ' ที่หัวกระดาษ
เราจึงแนะนำให้เธอเขียน ' summary statement ' หรือบทความสั้นๆ / สรุปย่อทักษะ ความสามารถ ประสบการณ์ที่ผ่านมาโดยรวมไว้ที่หัวกระดาษหรือส่วนบนๆ ของเรซูเม่ ไม่ควรเกิน 2-3 บรรทัด ถ้ามีทักษะหรือประสบการณ์เยอะ ก็เลือกอันที่เด่นๆ ก็พอ เพื่อให้นายจ้างรู้จักเธอแบบคร่าวๆ ก่อนจะดูรายละเอียดส่วนที่เหลือ ในฐานะที่ผู้เขียนเคยอยู่ในฝ่ายที่ต้องดูเรซูเม่ผู้สมัครมาก่อน ใครเขียนส่วนนี้มาจะพิจารณาง่ายมาก เพราะเราจะรู้ทันทีว่าคนนี้เหมาะหรือไม่เหมาะกับตำแหน่งนั้นๆ ค่ะ
2. เลือก ' รูปแบบ ( template ) ' ของเรซูเม่ ให้เหมาะกับสายงานนั้นๆ
แบบแรกคือ chronological ที่เป็นแบบ bullet ไล่ลงมาเป็นข้อๆ ว่าการศึกษาตั้งแต่มัธยมถึงปริญญาตรี-โทเรียนที่ไหน เกรดเท่าไหร่ ประสบการณ์ทำงาน ( หรือฝึกงาน ) เคยทำที่ไหนมาบ้าง เหมาะกับงานจริงจังที่เน้นทักษะ hard skill เกรดเฉลี่ย ประสบการณ์และทักษะนอกห้องเรียนเยอะๆ เพราะบรรยายได้เต็มที่ เช่น นักบัญชี วิศวกร หมอ พยาบาล เภสัช แบบที่สองคือ functional ที่มีลูกเล่น ดีไซน์ให้สนุกได้ โดยเน้นความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์ของผู้สมัครเป็นหลัก ซึ่งดึงความสนใจได้ดีกว่าสำหรับคนที่ไม่เคยทำงานจริงมาก่อน เพราะต้องใช้คู่กับพอร์ตโฟลิโอผลงานอยู่แล้ว เหมาะกับอาชีพที่ใช้ความครีเอทสูงๆ เช่น นักเขียน ครีเอทีฟ กราฟิกดีไซเนอร์ เป็นต้น
**ทั้งนี้ จากประสบการณ์ส่วนตัวที่เคยดูเรซูเม่คนมาเยอะ แม้เธอตั้งใจจะสมัครเข้าตำแหน่งที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ก็ควรทำมาทั้ง chronological ที่เป็นทางการและแบบ functional ที่ใส่สีสันเต็มที่ แนบมาทั้งสองฉบับ เพราะคนพิจารณาอาจจะไม่ได้มีคนเดียว ในแผนกด้วยกันเองแค่สีสันก็พอ แต่บางบ. ต้องส่งเรซูเม่ให้ฝ่ายบริหารระดับสูงพิจารณาด้วย จึงควรมีแบบทางการไว้ด้วยกันเหนียวค่ะ
3. ใส่ใจกับตัวอักษร การสะกดคำศัพท์ ว่ามีพิมพ์ตกหล่น ถูกไวยากรณ์หรือไม่
ดังนั้นควรใส่ใจกับการเว้นวรรค ช่องไฟ ไวยากรณ์ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ การสะกดคำให้เนี้ยบที่สุด แม้จะมีจุดพลาดแค่ข้อเดียวก็ไม่ควรปล่อยผ่าน เพราะจะทำให้เรซูเม่ของเธอดู ' ไม่โปร เหมือนเด็กเล่นขายของ ' ทันที นอกจากอ่านเองแล้ว ควรให้คนสนิทอย่างที่บ้านหรือเพื่อนสนิทอ่านทวนเพื่อเช็กความเรียบร้อยอีกรอบ อย่าลืมว่าเธอคือเด็กจบใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์ใดๆ เลย หากเรซูเม่ยังพิมพ์ผิดอีก เธอจะยิ่งกลายเป็นตัวเลือกที่รั้งท้ายแถวที่ไม่มีใครอยากได้เข้าไปใหญ่!
4. หัวข้อ ' ผลงานที่ได้รับ/ประสบการณ์ที่ผ่านมา ' ควรชัดเจน เข้าใจง่าย
เลือกอันที่เด่นที่สุดมา 2-3 อย่าง แล้วเขียนเป็น bullet สั้นๆ กระชับ เข้าใจง่ายว่าได้รับบทเรียน หรือประสบการณ์ใดที่สำคัญจากการอบรมหรือเรียนคอร์สเหล่านั้น หากได้รางวัลก็ใส่รายละเอียดลงไปว่า ต้องมีคุณสมบัติหรือทักษะขั้นใดที่ทำให้ได้รางวัลนั้น เช่น ชนะเลิศระดับจังหวัด ระดับอำเภอ ได้รับรางวัลจากใคร หากเป็นคนที่มีชื่อเสียงก็จะยิ่งเพิ่มเครดิตให้เธอยิ่งขึ้น ส่วนใครที่ไม่เคยชนะรางวัลอะไรเลย นั่นไม่ใช่ปัญหา ยุคนี้มีคอร์สออนไลน์หรือการอบรมสั้นๆ ในอินเตอร์เน็ตจากมหาลัยดังทั่วโลกมากมาย ลงเรียนสัก 2-3 คอร์สที่สนใจและตอบโจทย์งานที่จะสมัคร แล้วนำมาใส่ในเรซูเม่ ก็เป็นตัวเลือกที่ดีเช่นกัน
5. ในหัวข้อ ' การศึกษา/ทักษะที่มี ' ควรเป็นความสามารถที่วัดผลได้
ดังนั้นไม่ว่าจะทักษะภาษา, โปรแกรม หรือการศึกษาที่ได้เล่าเรียนมา เราแนะนำว่าอย่าใส่ค่าพลัง แต่บรรยายไปตรงๆ เลยว่าเธอเรียนอะไรมา ทำอะไรได้บ้าง ถ้ามีการสอบแบบสากลก็ใส่คะแนนมา เช่น TOEIC TOEFL IELTS ไม่ต้องใส่จุด หรือวัดเปอร์เซนต์เพราะมันไม่ใช่เกณฑ์สากล วัดผลไม่ได้กับทุกคน เน้นผลที่เป็นรูปธรรมไว้ก่อน ถ้ามาแบบให้คิดจินตนาการเอาเอง เกรงว่าเรซูเม่ของเธอจะถูกคัดออกเสียก่อนค่ะ
6. ถ้าไม่เคยไป ' ฝึกงานในสนามจริง ' เลย ควรไปสมัครหาประสบการณ์ก่อน

อันดับบทความประจำวัน
(หมวดอื่น ๆ)
Variety By SistaCafe

Feature
กิจกรรม SistaCafe