ในปัจจุบันผู้คนมีแนวโน้มในการเป็นซึมเศร้าเพิ่มมากขึ้น และเราเองก็เป็นหนึ่งในนั้น รวมทั้งมีเพื่อนที่มีแนวโน้มแต่ยังไม่ได้พบแพทย์ เราจึงอยากแชร์ประสบการณ์และอยากให้ทุกคนที่กำลังกังวลหรือวิตก เผชิญหน้ากับการรักษาอย่างถูกวิธีค่ะ

เลือกอ่านตามหัวข้อ
1. สำรวจตัวเอง
2. ยอมรับตัวเอง
3. ทำไมต้องพบแพทย์
4. การพบแพทย์ ไม่ได้น่ากลัวจริงๆ นะ
- ยื่นบัตรที่ห้องบัตร -
- ไปพบแพทย์ที่แผนก ( ณ จุดแรกจะบอกเราเองค่ะ ) -
- พบแพทย์ -
- การรักษา -
- พบนักจิตวิทยา ( สำหรับบางกรณี ) -
- การกำหนดวันนัดสำหรับตรวจรอบถัดไป -
สวัสดีค่ะ สาว SistaCafe ทุกคน วันนี้เรามีประสบการณ์เกี่ยวกับสภาวะซึมเศร้าและการพบแพทย์มาบอกต่อสำหรับคนที่กำลังกลัวอยู่ และไม่กล้าไปพบแพทย์ เราอยากจะบอกว่าการไปพบแพทย์ไม่น่ากลัวเลยค่ะ ทั้งนี้! การรักษาอย่างถูกวิธีถือเป็นสิ่งสำคัญนะคะ เราจะมีเช็คลิสต์สิ่งที่ต้องทำมาให้ด้วยค่ะ ไปดูกันเลย!!!
1. สำรวจตัวเอง
นี่คือสิ่งแรกที่ควรทำค่ะ เราควร ' สังเกตตัวเอง ' เพื่อประเมินสถานการณ์ ว่าเราเองมีแนวโน้มที่จะมีอาการซึมเศร้าหรือไม่ หากมีภาวะเครียดแต่ยังอยู่ในระดับที่ยังพอแก้ไขได้ การสำรวจตัวเองจะช่วยให้เราวิเคราะห์ถึงทางออกของปัญหาต่อได้ค่ะ
2. ยอมรับตัวเอง
ขั้นต่อมาคือ เราต้องยอมรับถึงความเป็นจริงที่เกิดขึ้น หากปัญหาที่เรากำลังเผชิญอยู่นั้นไม่สามารถที่จะแก้ไขเองได้ หรือมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ความคิดเป็นไปในแง่ลบ สิ่งที่เราต้องทำก็คือ ต้องยอมรับว่าเรามีความรู้สึกแบบนี้จริงๆ อย่าบอกตัวเองว่าไม่เป็นไร ถ้าใจเราไม่ไหว ให้คนอื่นช่วยบ้างก็ได้ โดยคนอื่นในที่นี้ที่เราหมายถึงก็คือ ' แพทย์ ' นั่นเองค่ะ
3. ทำไมต้องพบแพทย์
หลายครั้งที่เราเลือกที่จะคิดถึงการพบแพทย์ในอันดับท้ายๆ แต่แท้จริงแล้ว แพทย์ คือคนที่เข้าใจเรามากที่สุด เพราะคนทั่วไป หรือใครหลายคนอาจไม่เข้าใจกับสิ่งที่เราต้องเผชิญ บางครั้งหากเราปรึกษาคนที่ไม่ได้มีความรู้ตรงนี้อาจจะทำให้สถานการณ์เป็นไปในทางที่แย่กว่าเดิม เพราะเขาไม่ได้เข้าใจกับสิ่งที่เรากำลังเผชิญนั่นเองค่ะ คนทั่วไปอาจจะไม่รู้ว่าต้องรับมือหรือช่วยเหลือเราอย่างไร ดังนั้น! ให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยเหลือและจัดการดีกว่านะคะ
4. การพบแพทย์ ไม่ได้น่ากลัวจริงๆ นะ
เป็นหัวใจหลักที่เราอยากบอกทุกคนค่ะ การพบแพทย์ไม่ได้น่ากลัว โดยเราเองเข้าพบแพทย์ที่โรงพยาบาลรัฐค่ะ ทั้งนี้เราจะแนะนำขั้นตอนคร่าวๆ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับคนที่ต้องการพบแพทย์นะคะ
- ยื่นบัตรที่ห้องบัตร -
เมื่อเรายื่นบัตร พยาบาลก็จะซักประวัติค่ะ เราตอบไปแค่ว่า มาพบจิตแพทย์ค่ะ
จากนั้นคุณพยาบาลก็พยักหน้าค่ะ แล้วก็ดำเนินการให้เราเงียบๆ คือในตอนนั้นตรงกับสถานการณ์
โควิด-19 พยาบาลใช้ไมค์พูดคุยสื่อสารกับผู้ป่วยค่ะ แต่ไม่ได้ใช้กับเรานะคะ ตรงนี้ทำให้เรารู้สึกโอเคมาก
เพราะถือว่าทางโรงพยาบาลให้ความสำคัญเรื่องข้อมูลส่วนตัวเราเป็นอย่างมาก เพราะตอนนั้น
คนรอบข้างก็เยอะมากๆด้วย คุณพยาบาลสื่อสารกับเราด้วยการกระซิบแค่ว่าให้ไปที่ชั้น...นี้นะคะ
- ไปพบแพทย์ที่แผนก ( ณ จุดแรกจะบอกเราเองค่ะ ) -
แพทย์ของแต่ละโรงพยาบาลอาจจะเข้าเวรเป็นรายวัน เช่น เข้าเฉพาะวันพุธ
หากอยากเลือกพบแพทย์ แนะนำเช็คจากเว็บไซต์ของโรงพยาบาลก่อนได้นะคะ
จากนั้นก็นั่งรอซักพัก คุณพยาบาลก็เรียกเราไปซักประวัติค่ะ โดยมีแบบสอบถามประเมินจิตใจ
คิดว่าหลายๆ คนน่าจะเคยทำ ' ให้บอกตามจริง ' นะคะ และหากมีอะไร
อยากบอกเพิ่มเติมให้แจ้งได้เลยค่ะ เจ้าหน้าที่ทุกคน แพทย์ พยาบาลในแผนกนี้เข้าใจเราทุกคนค่ะ
- พบแพทย์ -
หลังจากซักประวัติก็รออีกสักพักพยาบาลจะให้เข้าพบแพทย์ค่ะ แพทย์ที่เราพบเป็นนายแพทย์นะคะ
ใจดีมาก การพูดคือดีมาก ไม่พูดจาให้เรารู้สึกแย่เลย แต่มีคีย์เวิร์ดที่เราจะต้องจำไว้ก็คือ
อยากบอกอะไรกับแพทย์ / อยากให้แพทย์ช่วยอะไร / เรามีอะไรในใจ
โดยไล่เรียงให้พอรู้เรื่องนะคะ เพราะผู้ที่มาพบแพทย์รายใหม่ๆ จะใช้เวลานานอยู่แล้วไม่ต้องกังวลค่ะ
พูดไปให้หมดเลยค่ะ ระบายมันออกมา แพทย์จะได้ช่วยหาทางแก้ไขนะคะ
- การรักษา -
อย่างกรณีของเราแพทย์จ่ายยาให้ค่ะ โดยแน่นอนว่าตัวยาที่ได้รับจะมีอาการข้างเคียง
แต่ไม่ได้น่ากลัวค่ะ เพราะแพทย์จะบอกปริมาณยาที่ต้องกิน โดยเราห้ามกินเกินขนาดนะคะ
ยาอาจจะแรงหน่อย แต่พอกินยาไปแล้วช่วยปรับอารมณ์ในใจเราได้อย่างตัวเราเองก็มึนบ้าง
งงบ้าง แต่กินยาดีกว่าไม่กินค่ะ ถ้าไม่กินยาเราจะมีความรู้สึกเดิมๆ กลับมา ทั้งนี้กรณีของแต่ละคน
จะมีความต่างกันไป ตัวยาอาจจะต่างกัน ผลข้างเคียงก็ต่างกัน อย่าเพิ่งกังวลนะคะ
เพราะหากมีอะไรไม่โอเค เราสามารถกลับไปพบแพทย์เพื่อเปลี่ยนการรักษาให้เหมาะกับเราได้ค่ะ
- พบนักจิตวิทยา ( สำหรับบางกรณี ) -
❤ อย่าลืมไลค์และแชร์บทความให้กำลังใจเราด้วยนะคะ ❤

อันดับบทความประจำวัน
(หมวดสุขภาพ)
Variety By SistaCafe

Feature
กิจกรรม SistaCafe