

สุขภาพ
#กินข้าวไม่อร่อยเลย! 7 สาเหตุที่รู้สึกถึง 'รสสนิมเหล็กในปาก' อาจเป็นสัญญาณบอกโรคร้าย จงระวัง -[]-
อยู่ดีๆ ก็รู้สึกถึงกลิ่นเหล็กคลุ้งอยู่ในปาก คล้ายๆ ตอนเรามีประจำเดือนอย่างไรอย่างนั้น นี่อาจเป็นเสียงเตือนจากร่างกายว่า สาวซิสมีปัญหาสุขภาพซ่อนอยู่ อย่าไว้วางใจ หากเข้าข่ายรุนแรง รีบไปหาหมอด่วน!!

เลือกอ่านตามหัวข้อ
1. แปรงฟัน บ้วนปากไม่สะอาด เกิดกลิ่นปากไม่พึงประสงค์
2. กินยารักษาโรคบางชนิด ทำให้เกิดรส 'ดีบุก' ในปากได้
3. วิตามิน อาหารเสริมบางชนิด ทำให้เกิดรส 'อะลูมิเนียม' ในปาก
4. ร่างกายเกิดการติดเชื้อ จนมีกลิ่นเหล็กรุนแรง
5. โรคสมองเสื่อม ทำให้ประสาทสัมผัสรับรู้รสชาติผิดเพี้ยน
6. อยู่ในช่วงตั้งครรภ์อ่อนๆ อาจเกิด 'รสเปรี้ยว' ในปากได้
7. ผู้ป่วยที่กำลังรักษาโรคมะเร็ง มักรู้สึกถึง 'รสเหล็กในปาก' อยู่เสมอ
ฮัลโหล สาวๆ SistaCafe ที่น่ารักทุกคนเลยค่า (◕‿◕)♡
ปัญหาสุขภาพ บางครั้งก็มาแบบงงๆ โดยที่เราไม่รู้ตัว อย่างอาการปวดหลังเอย เมื่อยกล้ามเนื้อเอย มีจุดแดงๆ หรือผื่นคันตามผิวหนังเอย ซึ่งในบทความนี้เราจะมาพูดถึงอาการ ' มีกลิ่น / รสเหล็กในปาก ' กันค่ะ เหมือนเราอมเหรียญสลึงหรือเหรียญบาทไว้บนลิ้น หรือถ้าเทียบง่ายๆ ก็คือกลิ่นของเลือดประจำเดือนที่สาวๆ เจอกันทุกเดือนนั่นแหละค่ะ //แอบสยองเหมือนกันเนอะ
แน่นอนว่า การมีกลิ่นแปลกๆ ในปากไม่ใช่เรื่องธรรมดา แปลว่าระบบในร่างกายต้องมีอะไรผิดปกติสักอย่าง แต่สาเหตุก็ค่อนข้างเป็นได้หลากหลายมากๆ ตั้งแต่ผลข้างเคียงจากยา ไปจนถึงโรคร้ายอย่างโรคตับ โรคไต โรคเบาหวาน หรือมะเร็งบางชนิด ถ้าเธอเป็นคนหนึ่งที่เปิดอ่านบทความนี้ และดันแจ็กพอตมีรสเหล็กๆ ในช่องปากอยู่พอดี ก็มาเช็ค
7 สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดรสขมปี๋เหล่านี้ในปากกันได้เลยค่ะ *(>д<)*゚゚
1. แปรงฟัน บ้วนปากไม่สะอาด เกิดกลิ่นปากไม่พึงประสงค์
กลิ่นเหล็กขมๆ หรือกลิ่นน้ำลายบูดที่เรียกกัน อาจเป็นเพราะเธอรักษาสุขอนามัยในช่องปากได้ไม่ดีเท่าทึ่ควร! หากสาวๆ แปรงฟันไม่สะอาด ไม่ใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ ( โดยเฉพาะคนที่ติดเหล็กจัดฟัน เศษอาหารเข้าไปเกาะได้ง่าย ) อาจส่งผลเสียทั้งกับฟันและเหงือก กลายเป็นโรคในช่องปากมากมาย เช่น เหงือกอักเสบ เหงือกบวม, ปริทันต์อักเสบ ( periodontitis ) หรือเนื้อเยื่อที่ห่อหุ้มฟันถูกทำลาย หรือฟันติดเชื้อ ซึ่งหากเป็นหนักอาจถึงขั้นต้องถอนฟันเลยล่ะค่ะ ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เด้อ
หากแน่ใจว่ามีรสเหล็กในปากด้วยสาเหตุนี้ มีอาการปวดฟัน ปวดเหงือกร่วมด้วย รีบไปปรึกษาทันตแพทย์เพื่อรักษาช่องปากโดยด่วน เมื่ออาการติดเชื้อหายไป กลิ่นเหล็กก็จะค่อยๆ หายไปโดยอัตโนมัติค่ะ
หากแน่ใจว่ามีรสเหล็กในปากด้วยสาเหตุนี้ มีอาการปวดฟัน ปวดเหงือกร่วมด้วย รีบไปปรึกษาทันตแพทย์เพื่อรักษาช่องปากโดยด่วน เมื่ออาการติดเชื้อหายไป กลิ่นเหล็กก็จะค่อยๆ หายไปโดยอัตโนมัติค่ะ
2. กินยารักษาโรคบางชนิด ทำให้เกิดรส 'ดีบุก' ในปากได้
หากสาวๆ ป่วยเป็นโรคบางอย่างที่ต้องรับยาปฏิชีวนะจำพวก tetracycline, allopurinol ( ยารักษาโรคเกาต์ ), lithium ( ยารักษาอาการทางจิตบางประเภท ) และยารักษาโรคหัวใจบางชนิด เมื่อร่างกายดูดซึมตัวยาเข้าไปแล้ว อาจส่งผลให้มีรสเหล็กเหมือน ' ดีบุก ' ในน้ำลายได้
ทั้งนี้ ยาที่มีผลข้างเคียงทำให้ปากแห้ง เช่น ยาต้านซึมเศร้า ก็อาจเป็นสาเหตุให้ช่องปากมีรสเหล็กได้เช่นกัน เพราะยาเหล่านี้จะปิดการรับรู้ของต่อมรับรสบนลิ้น ทำให้กินอะไรก็รสชาติขมๆ ไปหมด ส่งผลกระทบให้ลดการเจริญอาหารลง น้ำหนักลดลงค่ะ
ทั้งนี้ ยาที่มีผลข้างเคียงทำให้ปากแห้ง เช่น ยาต้านซึมเศร้า ก็อาจเป็นสาเหตุให้ช่องปากมีรสเหล็กได้เช่นกัน เพราะยาเหล่านี้จะปิดการรับรู้ของต่อมรับรสบนลิ้น ทำให้กินอะไรก็รสชาติขมๆ ไปหมด ส่งผลกระทบให้ลดการเจริญอาหารลง น้ำหนักลดลงค่ะ
3. วิตามิน อาหารเสริมบางชนิด ทำให้เกิดรส 'อะลูมิเนียม' ในปาก
วิตามิน ยาสามัญประจำบ้านและอาหารเสริมทั่วไปที่มีขายตามร้านยา จะมีส่วนผสมที่เมื่อกินแล้วอาจทำให้เกิดรสเหล็กคล้าย ' อะลูมิเนียม ' ได้ เป็นเรื่องปกติ เช่น วิตามินรวมที่ผสมทองแดง ซิงก์และโครเมียม หรือยารักษาโรคหวัด รวมถึงวิตามินที่ใช้กับคุณแม่ตั้งครรภ์ วิตามินเสริมธาตุเหล็กและแคลเซียมก็มีผลข้างเคียงแบบเดียวกัน
โดยปกติแล้ว รสสัมผัสเหล็กในปากจะจางหายไปเอง เมื่อร่างกายเข้าสู่กระบวนการเริ่มดูดซึมนำวิตามินและตัวยาไปใช้ หากนานหลายชั่วโมงแล้วยังรู้สึกขมปากอยู่ อาจเป็นไปได้ว่าเธอกินเกินโดสยาที่กำหนด ควรปรึกษาเภสัชกรหรือหมอเพื่อปรับปริมาณยาใหม่ให้เหมาะสมนะคะ
โดยปกติแล้ว รสสัมผัสเหล็กในปากจะจางหายไปเอง เมื่อร่างกายเข้าสู่กระบวนการเริ่มดูดซึมนำวิตามินและตัวยาไปใช้ หากนานหลายชั่วโมงแล้วยังรู้สึกขมปากอยู่ อาจเป็นไปได้ว่าเธอกินเกินโดสยาที่กำหนด ควรปรึกษาเภสัชกรหรือหมอเพื่อปรับปริมาณยาใหม่ให้เหมาะสมนะคะ
4. ร่างกายเกิดการติดเชื้อ จนมีกลิ่นเหล็กรุนแรง
ในกรณีที่เกิดกลิ่นเหล็กฟุ้งกระจายในช่องปาก ร่างกายของเธออาจกำลังส่งสัญญาณว่าติดเชื้ออย่างรุนแรง! โดยอาจเป็นได้ทั้งโรคหวัด, การติดเชื้อในหูชั้นกลาง, เพิ่งผ่าตัดโรคเกี่ยวกับหูมาใหม่ๆ , การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน, ศีรษะบาดเจ็บจากการกระแทก จนทำลายระบบประสาทส่วนกลาง ( CNS ), โรคภูมิแพ้, โรคริดสีดวงจมูก หรือเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงในจมูก ( Nasal polyps ) หรือโรคไซนัสอักเสบที่ส่งผลกระทบต่อต่อมรับรสในปาก โดยจะเป็นแค่ชั่วคราว และหายไปได้เองเมื่อโรครักษาหายค่ะ
5. โรคสมองเสื่อม ทำให้ประสาทสัมผัสรับรู้รสชาติผิดเพี้ยน
โรคสมองเสื่อม ( dementia ) มักเกิดในผู้สูงอายุที่เซลล์สมองเริ่มเสื่อมตามวัย แต่คนที่อายุน้อยก็มีสิทธิ์เป็นได้เช่นกัน! อาการเริ่มต้นของโรคนี้คือ ' สูญเสียความสามารถการได้รับรส ' เพราะต่อมรับรสมีการทำงานเชื่อมต่อกับเซลล์ประสาทในสมอง การที่เรากินอาหารแล้วรสชาติไม่อร่อยเหมือนเดิม รู้สึกถึงรสขมๆ อาจหมายถึงว่าประสาทสมองส่วนที่เกี่ยวกับรสชาติ ทำงานผิดปกตินั่นเองค่ะ
งานวิจัยในกลุ่มผู้ป่วยสมองเสื่อมเผยว่า ผู้ป่วยมีการเปลี่ยนรสนิยมอาหารที่ชอบ และพฤติกรรมการกินผิดแปลกไปจากเดิม อีกทั้งยังมีปัญหาในการแยกแยะรสชาติ ลืมว่ารสชาติแบบไหนเป็นยังไง ทั้งนี้ ต่อมรับรสจะทำงานแย่ลงเมื่ออายุมากขึ้นเป็นปกติ จึงไม่แปลกที่ผู้สูงวัยมักชอบอาหารปรุงรสจัด ขนมหวานๆ หากไม่ผอมซูบก็น้ำหนักขึ้นพรวดไปเลย หากสาวๆ คนไหนมีปัญหากับการแยกแยะรสชาติอาหาร เบื่ออาหาร หรือลิ้นไม่รับรู้รสแบบผิดสังเกต รีบไปหาหมอเพื่อเช็คอาการด่วน!
6. อยู่ในช่วงตั้งครรภ์อ่อนๆ อาจเกิด 'รสเปรี้ยว' ในปากได้
❤ อย่าลืมไลค์และแชร์บทความให้กำลังใจเราด้วยนะคะ ❤

อันดับบทความประจำวัน
(หมวดสุขภาพ)
Variety By SistaCafe

Feature
กิจกรรม SistaCafe