ใช้เงินให้เป็น เอาตัวให้รอด ด้านการเงิน หลังพิษ วิกฤติ Covid-19 กับ 5 เทคนิคการใช้เงิน

เลือกอ่านตามหัวข้อ
#1 วางแผนการใช้เงิน
#2 ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
#3 เก่งเรื่องการออม
Kept by krungsri
สมัครง่าย ไม่ยุ่งยาก
#4 ใช้บัตรเครดิตให้ฉลาด
#5 รู้จักยับยั้งชั่งใจ

ในช่วงวิกฤติ Covid - 19 ที่ผ่านมา ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ มากมาย ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การใช้ชีวิต ซึ่งแน่นอนว่า สาวออฟฟิศอย่างเราก็หนีไม่พ้น ได้รับผลกระทบไปตาม ๆ กัน โดยเฉพาะปัญหาด้านการเงิน ซึ่งเป็นอีกปัญหาที่หลายคนกังวลใจ ใช้จ่ายก็ต้องใช้ เก็บเงินก็ต้องเก็บ เอาเป็นว่า มาทบทวนเรื่องการใช้เงินและการเก็บเงินกันใหม่ สาว ๆ คนไหนที่กำลังเจอปัญหาเรื่องเงิน หรือใครที่กำลังจะเริ่มกังวลเรื่องการใช้เงิน เรามี 5 วิธี เอาตัวรอด ใช้เงินให้เป็น มาฝากกันค่ะ
#1 วางแผนการใช้เงิน

สิ่งที่จำเป็นมาก ๆ ในการเอาตัวรอดทางด้านการเงินคือ การรู้จักวางแผนการใช้เงิน สิ่งแรกที่สาว ๆ ควรรู้คือ รู้ตัวเองว่า เรามีความสามารถในการหาเงินได้มากเท่าไหร่ มีรายรับเท่าไหร่ มีรายจ่ายที่จำเป็นเท่าไหร่ และมีหนี้เท่าไหร่ การรู้ตัวเลขเหล่านี้สำคัญมากเพราะจะช่วยให้สาว ๆ สามารถลิมิตการใช้เงินได้ และสามารถคำนวนตัวเลขได้ว่า เมื่อเงินเดือนแต่ละเดือนออกมา เราต้องใช้จ่ายอะไรบ้าง และควรเก็บเท่าไหร่ หมั่นทำรายรับรายจ่าย ๆ ให้เป็นนิสัย แบ่งสรรปันส่วนให้พอดี ที่สำคัญต้องมีเป้าหมายทางการเงินด้วย เช่น ในแต่ละปี เป้าหมายของเราจะเก็บเงินจำนวนเท่าไหร่ การมีเป้าหมายทางการเงินจะทำให้สาว ๆ สามารถคำนวนได้คร่าว ๆ ว่าเราจะใช้เงินอย่างไร เพื่อให้มีเงินเก็บถึงเป้าที่เรากำหนด แต่ถ้าเราไม่มีเป้าหมายหรือไม่มีตัวเลขในใจอะไรเลย อาจจะทำให้เราเผลอลืมตัวใช้เงินหมดจนไม่เหลือเก็บเลยก็ได้ และสำหรับใครที่มีหนี้ ก็ควรตั้งเป้าเพื่อปลดหนี้ก่อนเป็นอันดับแรก
#2 ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น

ทุกวันนี้เรามีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายที่มาช่วยทำให้ชีวิตเราสบายขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านั้นก็ไม่ได้มาแบบฟรีๆ หรอกนะคะ ทุกอย่างล้วนแต่แลกมาด้วยเงินทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ไฟฟ้า การใช้ยานพาหนะ หรือการใช้บริการต่าง ๆ ดังนั้นถ้ามีอะไรที่สาว ๆ สามารถประหยัดได้ ก็ลองลดการใช้งานลง แม้ว่าจะเป็นสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น การประหยัดไฟฟ้า ปิดไฟทุกครั้งหลังใช้ การประหยัดแอร์ด้วยการเปิดองศาที่พอเหมาะ ลองทำงานบ้านเองแทนการจ้างแม่บ้าน ยกเลิกบริการต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็น ทำอาหารทานเองที่บ้านแทนการออกไปทานนอกบ้าน รวมถึงการใช้บริการขนส่งสาธารณะแทนการใช้รถส่วนตัว เป็นต้น ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่เราสามารถประหยัดได้ค่ะ และจงจำไว้ว่าคำว่าประหยัด ไม่ได้แปลว่า เราจะต้องลำบาก แต่คือการเลือกที่จะสบายเท่าที่จำเป็น อะไรประหยัดได้ก็ควรประหยัด เพราะท้ายที่สุดแล้วการที่เราประหยัดจะนำมาสู่ความมั่นคงนั่นเอง
#3 เก่งเรื่องการออม

อีกหนทางที่จะทำให้สาว ๆ สามารถเอาตัวรอดทางการเงินได้ก็คือ "การออมเงิน" รู้จักแบ่งเงินไว้สำหรับการออม แนะนำให้สาว ๆ แบ่งเงินออมเป็น 10% ของเงินเดือน เช่น ถ้าสาว ๆ เงินเดือน 30,000 บาท ก็แบ่งเก็บออมไว้ 3,000 บาท โดยที่ไม่เอาออกมาใช้หากไม่จำเป็น นอกจากนี้ยังมีวิธีการออมอีกมากมาย เช่น การรู้จักเก็บเล็กผสมน้อย เก็บเศษเหรียญหยอดกระปุก เก็บธนบัตร 50 หรือ เก็บเศษเงินทอน วิธีเหล่านี้ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่การเก็บก้อนใหญ่ แต่สาว ๆ สามารถทำได้ทุกวัน ทุกเวลา สะสมไปเรื่อย ๆ เงินออมก็สามารถเพิ่มเป็นเงินก้อนโตได้เช่นกันค่ะ
แต่สำหรับยุค Cashless Society ที่เราใช้เงินสดน้อยลง ใช้จ่ายผ่านช่องทางดิจิตอลมากขึ้น ทำให้การเก็บเหรียญหยอดกระปุกหรือเก็บแบงค์ 50 มีโอกาสน้อยลง ทำให้วิธีการเก็บเล็กผสมน้อยทำได้น้อยลงเช่นกัน แต่ แต่ แต่...ไม่ได้เป็นปัญหาเลยค่ะ เพราะเมื่อยุคดิจิตอลเติบโตขึ้น ก็ย่อมมีนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่มารองรับความต้องการของเราอยู่เสมอ เช่นเดียวกับการออมเงินด้วย
อย่างล่าสุด Kept by krungsri นวัตกรรมบริหารเงินแพลตฟอร์มใหม่ ที่มาในรูปแบบแอปพลิเคชัน ที่จะมาช่วยซัพพอร์ตสาว ๆ ในการออมเงิน ช่วยให้สาว ๆ สามารถออมเงินได้ง่ายขึ้นผ่านช่องทางดิจิทัลนั่นเอง
แต่สำหรับยุค Cashless Society ที่เราใช้เงินสดน้อยลง ใช้จ่ายผ่านช่องทางดิจิตอลมากขึ้น ทำให้การเก็บเหรียญหยอดกระปุกหรือเก็บแบงค์ 50 มีโอกาสน้อยลง ทำให้วิธีการเก็บเล็กผสมน้อยทำได้น้อยลงเช่นกัน แต่ แต่ แต่...ไม่ได้เป็นปัญหาเลยค่ะ เพราะเมื่อยุคดิจิตอลเติบโตขึ้น ก็ย่อมมีนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่มารองรับความต้องการของเราอยู่เสมอ เช่นเดียวกับการออมเงินด้วย
อย่างล่าสุด Kept by krungsri นวัตกรรมบริหารเงินแพลตฟอร์มใหม่ ที่มาในรูปแบบแอปพลิเคชัน ที่จะมาช่วยซัพพอร์ตสาว ๆ ในการออมเงิน ช่วยให้สาว ๆ สามารถออมเงินได้ง่ายขึ้นผ่านช่องทางดิจิทัลนั่นเอง

Kept by krungsri

Kept by krungsri แอปพลิเคชั่นที่ช่วยให้เราออมเงินง่ายขึ้น ออกแบบมาเพื่อการเตรียมความพร้อมทางการเงินสำหรับคนรุ่นใหม่ผ่านช่องทางดิจิทัล แอปฯ Kept มาพร้อมกับฟีเจอร์อัตโนมัติหลากหลายประกอบด้วย
บัญชี Kept ที่เปรียบเสมือนกระเป๋าสตางค์แยกเงินเอาไว้ใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นบัญชีแยกไว้ใช้ สามารถโอนฟรีกี่ครั้งก็ได้ สามารถโอนเงินเข้า – ออกในชีวิตประจำวัน หรือจะโอนเงินไปเก็บที่บัญชี Grow หรือ บัญชี Fun ตามที่ตั้งค่าไว้
เคล็ดลับการใช้บัญชี Kept จะช่วยลิมิตการใช้เงินได้ แค่ (1) โอนเงินเดือนเข้ามาที่ Kept (2) ตั้งงบไว้จะใช้เดือนนี้เท่าไร สมมติว่า 10,000 บาท (3) พอสิ้นวันระบบจะโอนเงินเดือนส่วนที่เกิน ไปที่บัญชี Grow ซึ่งเป็นบัญชีเก็บเงิน โดยอัตโนมัติ (4) เช้าตื่นมา จะเห็นเงินแค่ 10,000 บาท ในบัญชี Kept ตามที่ตั้งงบไว้ แล้วบอกตัวเองว่า ลองพยายามใช้แค่นี้ดูสิ มีเงินแค่ไหนก็ใช้แค่นั้น
บัญชี Kept ที่เปรียบเสมือนกระเป๋าสตางค์แยกเงินเอาไว้ใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นบัญชีแยกไว้ใช้ สามารถโอนฟรีกี่ครั้งก็ได้ สามารถโอนเงินเข้า – ออกในชีวิตประจำวัน หรือจะโอนเงินไปเก็บที่บัญชี Grow หรือ บัญชี Fun ตามที่ตั้งค่าไว้
เคล็ดลับการใช้บัญชี Kept จะช่วยลิมิตการใช้เงินได้ แค่ (1) โอนเงินเดือนเข้ามาที่ Kept (2) ตั้งงบไว้จะใช้เดือนนี้เท่าไร สมมติว่า 10,000 บาท (3) พอสิ้นวันระบบจะโอนเงินเดือนส่วนที่เกิน ไปที่บัญชี Grow ซึ่งเป็นบัญชีเก็บเงิน โดยอัตโนมัติ (4) เช้าตื่นมา จะเห็นเงินแค่ 10,000 บาท ในบัญชี Kept ตามที่ตั้งงบไว้ แล้วบอกตัวเองว่า ลองพยายามใช้แค่นี้ดูสิ มีเงินแค่ไหนก็ใช้แค่นั้น
บัญชี Grow หรือที่เรียกกันว่า กระปุก Grow เหมือนเป็นกระปุกไว้เก็บเงินก้อน เพื่อรับดอกเบี้ยสูง 1.6%* ในปีแรกและสูงขึ้นเป็น 1.8%* ในปีที่สอง คิดดอกเบี้ยทุกวัน จ่ายดอกเบี้ยทุกวันที่ 28 ของเดือน เปิด แอป ดูดอกเบี้ยได้ตลอดเวลา
วิธีเอาเงินใส่กระปุก Grow ง่ายนิดเดียว เพราะระบบจะเอาเงินที่เกินกว่าที่ตั้งไว้ใช้ในกระเป๋า Kept มาเก็บในกระปุก Grow อัตโนมัติทุกสิ้นวัน (ขั้นต่ำ 5,000 บาทต่อรายการ) วันไหนมีเงินเกินที่ตั้งไว้ สิ้นวันระบบโอนไปเก็บให้ แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้เงินจริงๆ สาว ๆ ก็ใช้เงินจากกระปุก Grow ได้ไม่มีเงื่อนไข ใช้ไปเท่าไหร่เงินส่วนที่เหลือก็ยังรับดอกเบี้ยสูงได้ ก็แค่กดโอนออกจากบัญชี Kept เดี๋ยวระบบจะช่วยเอาเงินจากกระปุก Grow ออกมาให้เอง (แต่ถ้าไม่อยากไปใช้เงินจาก กระปุก Grow จริง ๆ ก็ไปปิดฟีเจอร์โอนออกอัตโนมัติได้ เหมือนล็อคกระปุกได้ ต้องลองไปเล่นดู
*ดอกเบี้ยและเงื่อนไขเป็นไปตามประกาศของธนาคาร
บัญชี Fun หรือที่เรียกกันว่า กระปุก Fun เปรียบเสมือนกระปุกไว้เก็บเล็กผสมน้อย "ช่วยหยอดเหรียญใส่กระปุกให้อัตโนมัติ” เก็บเงินแบบสนุกสนานด้วยกระปุก Fun มาพร้อม 2 ฟีเจอร์อย่าง แอบเก็บและสั่งเก็บ ช่วยเก็บเงินให้แบบไม่รู้ตัว

ฟีเจอร์แอบเก็บ ช่วยเก็บเงินให้เราทุกครั้งที่โอน หรือจ่าย QR code จากกระเป๋า Kept และนำไปเก็บไว้ให้ในกระปุก Fun โดยเลือกวิธีเก็บเงินที่ถนัดได้ ไม่ว่าจะเป็น
1. ระบุจำนวนเงินต่อครั้ง
2. ระบุเป็น % ของยอดใช้จ่าย
3. ปัดเศษขึ้น เหมือนเก็บเงินทอน เช่น โอนออก 89 บาท จ่ายแบงก์ 100 บาท ตั้งแอบเก็บหลักร้อย ก็จะเก็บ 11 บาท ถ้าตั้งเก็บหลักสิบก็จะเก็บให้ 1 บาท
เคล็ดลับการใช้ ฟีเจอร์แอบเก็บ ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มเงินเก็บ
ถ้าตั้งงบไว้ใช้ 10,000 บาท แล้วอยากลดค่าใช้จ่ายสัก 10% แบบไม่รู้ตัว ก็แค่ (1) ตั้งค่าแอบเก็บแบบ ระบุ % …ใส่ไปเลย 10% (2) ใช้ แอป Kept โอนเงิน จ่าย QR … แค่นี้ จะเห็นว่า 10% ของค่าใช้จ่าย ก็ย้ายไปเป็นเงินเก็บในกระปุก Fun แบบ อัตโนมัติ เช่น จ่าย 1,000 เก็บ 100 สิ้นเดือนจะไม่สิ้นใจ เพราะมีเงินเก็บ ใน Fun แบบไม่รู้ตัว


Disclaimer : บทความนี้เป็นบทความประชาสัมพันธ์ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยเจ้าของผลิตภัณฑ์
หากมีข้อสงสัย กรุณาติดต่อทีมงานมาที่ [email protected]

❤ อย่าลืมไลค์และแชร์บทความให้กำลังใจเราด้วยนะคะ ❤

อันดับบทความประจำวัน
(หมวดอื่น ๆ)
Variety By SistaCafe

Feature
กิจกรรม SistaCafe