Articles etc
อื่น ๆ

วัยไหน ควรลงทุนอะไรดี? ตามมาหาคำตอบพร้อมๆ กันเลย

ในวัยนี้คุณควรวางแผนการเงินอย่างไร หรือควรออมและลงทุนอะไรดี? เพราะด้วยวัยที่ต่างกันทำให้ทั้งภาระ หน้าที่ และความรับผิดชอบก็แตกต่างกันด้วย คุณจึงควรวางแผนทางการเงินให้ดี เหมาะสมในแต่ละช่วงวัยค่ะ


» » » »
Sistacafe button sharefb
Down

เลือกอ่านตามหัวข้อ

  • [แสดง]
  • [ซ่อน]
    • 1. วัยเริ่มทำงาน (อายุ 20-30 ปี)

    • 2. วัยสร้างตัว และสร้างครอบครัว (อายุ 31-40 ปี)

    • 3. วัยสร้างความมั่นคง และสะสมความมั่งคั่ง (อายุ 41-50 ปี)

    • 4. วัยใกล้เกษียณ-หลังเกษียณ พร้อมส่งต่อความมั่งคั่ง (อายุ 50 ปีขึ้นไป)


    ---


    ไม่ว่าใคร หรือวัยใดก็คงไม่อยากประสบปัญหาทางด้านการเงิน จึงไม่แปลกเลยหากคุณเคยสงสัยและตั้งคำถามกับตัวเองว่า ในวัยนี้คุณควรวางแผนการเงินอย่างไร หรือควรออมและลงทุนอะไรดี? เพราะด้วยวัยที่ต่างกันทำให้ทั้งภาระ หน้าที่ และความรับผิดชอบก็แตกต่างกันด้วย คุณจึงควรวางแผนทางการเงินให้ดี เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย และเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดคิด

     

    สำหรับใครที่ยังไม่มีคำตอบให้กับตัวเอง และยังไม่มั่นใจในการลงทุน บทความนี้น่าจะเป็นคู่มือความคิด และคำแนะนำเบื้องต้นสำหรับคนในแต่ละช่วงวัย ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจและเห็นภาพได้ง่ายยิ่งขึ้น

    ---

    1. วัยเริ่มทำงาน (อายุ 20-30 ปี)

    ด้วยลักษณะนิสัยการใช้เงินในวัยนี้โดยส่วนใหญ่ มักจะหมดไปกับการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เพื่อสนองความต้องการหรือซื้อความสุขให้กับตนเองเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว การกิน การช้อปปิ้ง รวมถึงการทำศัลยกรรมความงาม หรือแม้กระทั่งการซื้อ-ผ่อนสินทรัพย์ก้อนใหญ่ เช่น รถยนต์ คอนโด โดยที่สถานะทางการเงินเรายังไม่พร้อม ก็อาจจะทำให้เกิดหนี้และเป็นปัญหาตามขึ้นมาได้

    หากแต่คุณรู้จักวางแผนทางการเงิน และมองถึงภาพอนาคตทางการเงินของคุณ กลุ่มคนในวัยนี้มีศักยภาพ และความคล่องตัวในการลงทุนที่ค่อนข้างสูง เพราะเป็นวัยที่มีภาระทางการเงินน้อย หากเปรียบเทียบกับคนในวัยอื่น ๆ จึงเป็นการง่ายที่จะเริ่มต้นสร้างเส้นทางสู่การเป็นนักออมเงิน และเริ่มการลงทุน ทั้งยังเป็นวัยที่สามารถรับความเสี่ยงได้สูงกว่าวัยอื่น หากเกิดการผิดพลาดจากการตัดสินใจลงทุน ก็มีโอกาสหาเงินมาทดแทนได้ง่าย และมีผลกระทบน้อยกว่าวัยอื่น ๆ


    วิธีการที่ง่ายที่สุดก็แค่จินตนาการถึงวันที่คุณอายุ 60 หรือ 70 ปี ให้คิดว่าวันนั้นคุณอยากเป็นคนที่ถือเงินอยู่ในมือเท่าไหร่? 10 ล้าน? 20 ล้าน? 50 ล้าน? ในวัยนั้นคุณอยากเป็นคนแบบไหน เป็นคนที่ต้องรอลูกหลานมาจุนเจือ เป็นคนที่มีเงินเก็บของตัวเองแบบพอมีพอกิน หรือเป็นคนที่มีความมั่นคงทางการเงิน มีเงินท่องเที่ยว ดูแลสุขภาพ รับมือและรักษาโรคร้ายแรงต่าง ๆ ได้อย่างสบาย ๆ มีเงินอุปถัมภ์ลูกหลานได้ อยากมีกี่ล้านในวันที่จะเกษียณ คุณเป็นผู้กำหนดเอง เมื่อคุณมีปลายทางชีวิตที่อยากเป็นแล้ว ต่อจากนี้ก็อยู่ที่การออกตัวสตาร์ตให้เร็ว

    หรือสำหรับบางคนที่มีความฝัน อยากมีกิจการเป็นของตนเอง คุณต้องกำหนดชีวิตของคุณนับตั้งแต่ตอนนี้ ทำก่อนย่อมมีโอกาสประสบความสำเร็จที่มากกว่า เริ่มต้นออมเงิน และลงทุนในวันที่คนส่วนใหญ่ในวัยเดียวกันยังไม่ได้ให้ความสำคัญ วัยนี้พูดได้เลยว่าสิ่งที่ควรให้ความสำคัญที่สุดคือวินัยทางการเงิน คือ รู้จักใช้จ่าย และรู้จักออมเงิน ในช่วงอายุนี้ควรมีเงินเก็บหลักแสน เพื่อเอาไว้ใช้ในยามจำเป็น หรือยามฉุกเฉิน ถ้าคุณทำได้ย่อมมีโอกาสไปถึงเป้าหมายทางการเงินได้ง่ายขึ้นอย่างแน่นอน

    ออม และลงทุนอะไรดีในวัยนี้

    การเริ่มต้นออมสำหรับวัยนี้ ควรสร้างวินัยในการออมให้เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ และหากสนใจทางด้านการลงทุนให้เน้นลงทุนแบบระยะยาว โดยมีสัดส่วนอย่างน้อย 10% ของรายได้ โดยอาจจะเริ่มออมแบบฝากประจำระยะยาว เพื่อลดโอกาสการใช้เงินที่มาจากรายได้ต่อเดือนไปจนหมด ควรกันเงินเพื่อเป็นเงินสำรองฉุกเฉินอย่างน้อย 3-6 เดือนของรายจ่ายในชีวิตประจำวัน โดยสามารถออมในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ลงทุนในกองทุนรวมตลาดเงิน ซึ่งเป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่มีสภาพคล่องสูง หรือลงทุนในหุ้นที่มีปันผล เพื่อรับผลตอบแทนไว้ใช้เป็นเงินหมุนเวียน และเป็นเงินเก็บสะสมไว้สร้างตัวในอนาคตได้

    สำหรับใครที่ยังไม่มีความรู้ หรือยังขาดประสบการณ์ในการลงทุนไม่รู้ว่าจะลงทุนอะไรดี หรืออาจมีเงินลงทุนไม่มากนัก อาจเลือกลงทุนผ่านกองทุนรวม ซึ่งมีนโยบายการลงทุนที่หลากหลาย มีมืออาชีพบริหารจัดการเพื่อให้ได้ผลตอบแทนจากการลงทุนตามเป้าหมายทางการเงินของคุณได้

    นอกจากนี้ยังมีการออมในลักษณะที่เรียกว่า DCA (dollar-cost averaging) คือ การลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน ซึ่งมีการกำหนดการลงทุนเป็นงวด ๆ งวดละเท่า ๆ กัน เช่น อาจมีการลงทุน DCA ตัดบัญชีอัตโนมัติรายเดือนเท่ากันทุกเดือน เดือนละ 3,000 บาท/ เดือนละ 5,000 บาท หรือเดือนละ 8,000 บาท  เพื่อลงทุนในหุ้น หรือ กองทุนรวม เป็นต้น

    ในวัยนี้ยังเหมาะแก่การเริ่มลงทุนซื้อประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ หรือประกันสุขภาพ หรือประกันมะเร็ง เพราะถือเป็นข้อได้เปรียบของคนวัยนี้ เนื่องจากอายุยังไม่มากเบี้ยประกันจึงยังไม่สูงมากนัก

    ผลิตภัณฑ์แนะนำ กองทุนรวม, KKSIS

     

    2. วัยสร้างตัว และสร้างครอบครัว (อายุ 31-40 ปี)

    วัยนี้เป็นวัยที่เริ่มมีความมั่นคงทางการเงินที่มากขึ้น แต่ก็ตามมาด้วยภาระ และความรับผิดชอบทางการเงินที่มากขึ้นด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการแต่งงาน ค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ และหากมีลูกก็ต้องมีค่าคลอดลูก ค่าเรียน ค่าเลี้ยงดูลูก และยังมีค่าต่าง ๆ เพิ่มตามขึ้นมาอย่างแน่นอน ในวัยนี้เป็นวัยที่ผ่านการเรียนรู้ เข้าใจชีวิตมากขึ้น และก็ยังเป็นช่วงที่มีรายได้ที่ดีไม่ว่าจะเป็นจากการเติบโตในสายอาชีพ หรือจากการมีธุรกิจเป็นของตัวเองก็ตาม แต่การเตรียมแผนในการรับมือ หรือวางแผนทางการเงินก็ยังคงเป็นสิ่งจำเป็นต่อภาระหน้าที่ที่เพิ่มขึ้น และสำหรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด หรือในยามฉุกเฉิน

    เมื่อชีวิตได้ดำเนินมาถึงวัยนี้ หากไม่จริงจังกับเป้าหมายทางการเงินแล้ว ก็คงยากที่จะมีความมั่นคงทางการเงินตามที่คาดไว้ได้ การลงทุนจึงเป็นตัวเลือกหลักในการบริหารจัดการเงินของคนในวัยนี้เนื่องจากได้ทั้งเงินปันผลเป็นค่าตอบแทน และยังถือว่าได้ออมเงินไปในตัวอีกด้วย

    ในวัยนี้ถือว่าเป็นวัยที่มีภาระทางการเงินสูงที่สุดสำหรับใครหลาย ๆ คนเลยก็ว่าได้ ดังนั้นการวางแผนการเงินที่ดี ทั้งการออมเงิน จัดสรรปันส่วน และการนำเงินไปลงทุนถือว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างสำคัญสำหรับคนในวัยนี้เลยทีเดียว

    ออม และลงทุนอะไรดีในวัยนี้

    ในวัยนี้การกำหนดเป้าหมายเป็นเรื่องสำคัญ เช่น การแต่งงานสร้างครอบครัว ซื้อบ้าน ซื้อรถคันใหญ่กว่าเดิม วางแผนการศึกษาให้ลูก เป้าหมายเพื่อตอบสนองความต้องการไลฟ์สไตล์ส่วนตัว ตลอดจนเป้าหมายการวางแผนภาษี และการวางแผนเกษียณอายุ จะเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในช่วงวัยนี้ ด้วยภาระที่มากขึ้นจากเดิม เราควรมองการลงทุนอะไรดี ๆ ที่จะเหมาะสมกับวัยอย่างเรา

    ควรกระจายความเสี่ยงในการลงทุนด้วยการแบ่งเงินลงทุนไปยังสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ไม่ทุ่มเงินลงทุนไปในสินทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่ง โดยอาจเริ่มต้นจากการออมเงินในรูปแบบเงินฝากออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูง เพื่อสำรองเงินไว้ในยามจำเป็น สำหรับเบิกจ่ายได้ตลอดเวลา และฝากประจำระยะยาว เพื่อเป็นหลักประกันในชีวิต

    ลงทุนในกองทุนแบบมีปันผล ซื้อหุ้นตัวที่มีปันผล ลงทุนในตราสารหนี้ และสินทรัพย์ทางการเงินอื่น ๆ จะช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายทางการเงินที่วางแผนไว้แล้ว การเติบโตในสายงานสายอาชีพ ย่อมส่งผลต่อภาษีที่ท่านต้องชำระในแต่ละปี ดังนั้นการวางแผนภาษีจึงเริ่มมีความสำคัญในช่วงวัยนี้ ทั้งการลงทุนในกองทุนรวม LTF, RMF (โดยกองทุน LTF จะลดหย่อนภาษีปี 2562 ได้เป็นปีสุดท้าย) หรือการลงทุนในประกันเพื่อใช้สิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษี

    ควรซื้อประกันสุขภาพ 2 กรมธรรม์ขึ้นไป เพื่อเป็นการวางแผนความมั่นคงทางการเงินด้วยการลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล อาจซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญ เพื่อคุ้มครองชีวิต และสร้างหลักประกันให้กับลูกหลานในวันข้างหน้า เพราะการลงทุนในรูปแบบประกันฯ ยังคงมีความสำคัญกับคนวัยนี้ เนื่องจากอยู่ในวัยสร้างเนื้อสร้างตัว การ protection หรือปกป้องความเสี่ยงไม่ให้เป็นภาระของคนข้างหลังจึงเป็นเรื่องสำคัญ

    หลายคนอาจเข้าใจผิดว่าการวางแผนเกษียณอายุ สามารถเริ่มวางแผนในวัยใกล้เกษียณก็ได้ แต่ความจริงแล้วนับว่าเป็นการวางแผนที่อาจล่าช้าเกินไป เพราะจำนวนเงินออม เงินลงทุนสะสมอาจจะไม่เพียงพอให้คุณไว้ใช้จ่ายหลังเกษียณ และการวางแผนรับมือเกษียณอายุที่ดีคือต้องเริ่มให้ความสำคัญตั้งแต่วันนี้ และตอนนี้

    ผลิตภัณฑ์แนะนำ LTFประกันชีวิต

    3. วัยสร้างความมั่นคง และสะสมความมั่งคั่ง (อายุ 41-50 ปี)

    ช่วงก่อนเข้าสู่วัยเกษียณ ถือว่าเป็นวัยที่มีความมั่นคงทางการเงินดีที่สุดในช่วงวัยหนึ่ง เนื่องจากความมั่นคงทางหน้าที่การงาน การวางแผนการเงินในช่วงก่อนหน้า และภาระหน้าที่ที่ลดลง ทั้งจากลูกที่อาจจะเริ่มเรียนจบแล้ว บ้าน รถยนต์ หรือสินทรัพย์ก้อนใหญ่ ๆ ก็ต่างทยอยผ่อนชำระไปจนครบ จึงทำให้มีเงินเก็บมากกว่าช่วงวัยอื่น จึงเหมาะกับการลงทุนเพื่อเตรียมพร้อมกับวัยเกษียณที่กำลังจะมาถึง

    ออม และลงทุนอะไรดีในวัยนี้

    ในวัยนี้ควรมีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ดอกเบี้ยพิเศษ และฝากประจำเพื่อคนสูงวัย ให้ดอกเบี้ยรายเดือน ไม่หักภาษี เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียนสำหรับเบิกจ่ายได้ทุกเดือน และสำรองเงินไว้ใช้ยามฉุกเฉิน

    การวางแผนเกษียณอายุ ถือเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญมากของวัยนี้ กองทุนรวม RMF หรือ ประกันบำนาญ สามารถทำให้เป้าหมายวางแผนเกษียณของท่านสำเร็จได้ตามที่วางไว้ แต่ทั้งนี้นโยบายการลงทุนที่เลือกในกองทุนรวม RMF ควรมีการปรับเปลี่ยนไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำถึงปานกลาง เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการสูญเสียเงินต้น เนื่องจากมีระยะเวลาในการลงทุนที่น้อยลง

    ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตและประกันสุขภาพ เป็นเครื่องมือหนึ่งในการป้องกันความเสี่ยงทางสุขภาพให้กับคนในวัยนี้ควรซื้อประกันสุขภาพ 2 กรมธรรม์ขึ้นไป แม้ว่าเบี้ยจะสูงขึ้นตามวัย แต่การวางแผนปกป้องความมั่นคงทางการเงินด้วยการลดความเสี่ยงในจากค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่อาจเกิดขึ้น ด้วยประกันชีวิตแบบบำนาญ เพื่อคุ้มครองชีวิต และสร้างหลักประกันให้กับลูกหลานในวันข้างหน้า เตรียมวางแผนซื้อประกันมรดกเพื่อส่งต่อความมั่นคงทางการเงินไปสู่ลูกหลาน และคนที่อยู่ข้างหลัง เพื่อลดความเสี่ยงในการแบ่งมรดก ควรลงทุนในแบบที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น กองทุนแบบมีปันผล หุ้นตัวที่มีปันผล และตราสารหนี้ รวมถึงกองทุนพักเงินแบบที่ถอนได้ตลอดเวลา

    การวางแผนภาษี ยังคงเป็นเรื่องสำคัญมากเช่นกันสำหรับวัยนี้ เนื่องจากเป็นวัยที่มีความมั่นคงทางรายได้ หลาย ๆ คนเป็นผู้บริหารระดับสูงในองค์กร บางคนมีรายได้สูงจากหลายแหล่งการลงทุนในกองทุนรวม LTF (ปี 2562 เป็นปีสุดท้ายที่ใช้ลดหย่อนภาษีได้), RMF หรือ การลงทุนในประกัน ถือเป็นตัวช่วยหนึ่งในการลดหย่อนภาษี

    การลงทุนเพื่อเพิ่มส่วนต่างกำไร (Capital Gain) วัยนี้สามารถลงทุนเพื่อตอบสนองความต้องการ หรือ Lifestyle ของตัวเองได้เนื่องจากเป็นวัยที่ค่อนข้างมีความมั่นคง เช่น นำผลตอบแทนจากการลงทุนไว้เดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ หรือไว้ช้อปปิ้งสินค้า High-End ได้

    ผลิตภัณฑ์แนะนำ KKGEN INFINITE WEALTH


    4. วัยใกล้เกษียณ-หลังเกษียณ พร้อมส่งต่อความมั่งคั่ง (อายุ 50 ปีขึ้นไป)

    บทความที่เกี่ยวข้อง
    Content quotation bg
    Disclaimer : หากมีข้อสงสัย กรุณาติดต่อทีมงานมาที่ [email protected]
    Content quotation bg


    ดาวน์โหลดแอพ
    ดาวน์โหลดแอพดาวน์โหลดแอพ
    Icon ranking

    อันดับบทความประจำวัน

    (หมวดอื่น ๆ)

    Variety By SistaCafe

    Icon feature 100x100

    Feature

    กิจกรรม SistaCafe