เรามักคิดว่าชีวิตแต่งงานจะต้อง 'Ending' with Happy เสมอไป? แต่ถ้าลองมองชีวิตรักผ่านซีรีส์ Netflix ชื่อดังอีกเรื่องอย่าง Marriage Story ล่ะก็ จะยัง Happy Ending อยู่มั้ยนะ.. ?

เลือกอ่านตามหัวข้อ
ประเด็น การหย่าร้าง ในสังคมอเมริกัน
เราได้อะไรจากหนังเรื่องนี้
จำเป็นแค่ไหนที่ต้อง Ending with Happy ?
เพื่อให้เจ็บ แต่ 'จบ' ดีกว่า
การเจ็บไปเรื่อยๆ ดีกว่าจริงมั้ย ??
ถ้าใครที่ได้ลองเปิด Netflix ช่วงนี้ คงจะได้เจอกับปกหนังรัก อย่างเรื่อง Marriage Story ที่ดูเผินๆ แล้ว หลายๆ คนคงจะมองว่าเป็นหนังรักโรแมนติกสุดซึ้งอย่างแน่นอน และถ้าใครรู้ตัวว่าเป็นหนึ่งในแฟน หนังแนว ดราม่า ความรัก ความสัมพันธ์ เนี่ยแหละ นับเป็นอีกเรื่องแห่งปี ที่ควรดูมากๆ เลยแหละ
ที่ยกเรื่องนี้มาเขียนก็เพราะอยากแนะนำ หนัง - รัก (เรียกว่า หนังรัก ได้หรือเปล่านะ) เรื่องนี้ ว่าเป็นเรื่องที่อยากจะให้ คู่รักทุกคู่ ได้นั่งเสพอารมณ์ของตัวละครทั้งพระเอกและนางเอกไปด้วยกัน รวมไปถึง คนโสดเอง ถ้าอยากจะรับรู้ถึงห้วงความสัมพันธ์สุดดิ่งของคนมีคู่ดูบ้าง ก็มาเรียนรู้ได้จากเรื่องหนังเรื่องนี้ได้เช่นกัน
อย่างที่บอกไปตอนแรกว่า ภาพบนโปสเตอร์หนังดูเผินๆ เหมือนจะเป็นหนังโรแมนติก เพราะประกอบไปด้วยตัวละคร 3 พ่อแม่ลูกกอดกันปนรอยยิ้มกันอย่างหวานชื่น และเมื่อยิ่งบวกรวมเข้าไปกับ ฉากต้นของเรื่องที่เปิดด้วยภาพ Flashback และได้ให้พระ-นาง 2 ตัวละครเอก อย่าง ชาร์ลี (อดัม ไดรฟ์เวอร์) และ นิโคล (สการ์เล็ตต์ โจแฮนส์สัน) เล่าเรื่องดีๆ ของกันและกัน ดูไปก็อมยิ้มไป
แต่เมื่อการเล่าเรื่องของแต่ละคนจบลง หนังกลับฮุกหมัดใส่คนดูเข้าอย่างจัง ตั้งแต่ต้นเรื่อง และทำให้ได้รู้ว่าจริงๆ หนังเรื่องนี้ มันไม่ใช่หนังรักหวานชื่นแบบที่เข้าใจตอนต้น แต่กำลังดำเนินกลายไปเป็นหนังดราม่า ที่ได้ถึงจุดสิ้นสุดความสัมพันธ์ของคู่พวกเขาแล้ว นั่นก็คือ การหย่า นั่นเองค่ะ

'' ฉันไม่ได้มีชีวิตอยู่เพื่อตัวเอง ฉันแค่ส่งเสริมการมีชีวิตอยู่ของเขา "
" เฟอร์นิเจอร์ทุกชิ้นในบ้านของเราคือรสนิยมเค้า ฉันไม่รู้แล้วด้วยซ้ำว่า รสนิยมของฉันเป็นแบบไหน เพราะฉันไม่เคยถูกขอให้ใช้มันเลย "
" มันคงจะแปลก ถ้าเค้าหันมาหาฉันและพูดว่าแล้ววันนี้คุณอยากทำอะไร ฉันไม่เห็นค่าของตัวเองอีกต่อไปแล้ว ฉันแทบไม่หลงเหลือความเป็นตัวเองอยู่เลย "

ฟ้องหย่า = การจบความสัมพันธ์คู่รัก
ในขณะที่ทั้งคู่ยัง รักกันจากใจจริง เลยทำให้พวกเขาสามารถ รักษาความเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน เอาไว้ได้...
อยากรู้ว่าจะมีสักกี่คู่ ที่เมื่อเลิก หรือ จบความสัมพันธ์กันแล้ว จะยังสามารถพูดคุย เจอหน้า และทำทุกอย่างได้เหมือนเดิม โดยไม่มีเรื่องอื่นๆ ของทั้งสองฝ่าย มาบาดหมางใจ อย่างคู่นี้ใน Marriage Story (2019) บ้าง แต่ถ้าหากเราได้ไปอยู่ในจุดเมื่อชีวิตคู่ เดินทางมาถึงจุดที่ไม่สามารถประคองกันต่อไปได้อีกก็เชื่อว่า การหย่า ก็คงจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดแล้ว
= เจ็บทีเดียว แต่ จบอย่างถาวร = ......
ประเด็น การหย่าร้าง ในสังคมอเมริกัน
ถ้าหากพูดถึง การหย่าร้าง , การฟ้องหย่า ก็เป็นเรื่องที่ค่อนข้างเกิดพบได้บ่อยมาก ในสังคมอเมริกาเลยก็ว่าได้ ถ้าสังเกตจากสำนักทนายมีอยู่เยอะแยะมากมายเต็มประเทศสหรัฐอเมริกา และทนายสำหรับคู่สมรสก็เป็นอีกหนึ่งตำแหน่งงาน ที่เรียกได้ว่าติดอันดับ รายได้สูง อยู่เสมอ แต่สำหรับคู่นี้ที่เราได้เห็นผ่านจากหนังเรื่อง Marriage Story (2019) ก็ทำให้เรารู้ว่า จริงๆ แล้ว มันไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะตัดสินใจฟ้องหย่า คู่ชีวิตของตัวเอง ที่ได้ใช้ชีวิตด้วยกันมา
สำหรับอัตรา การหย่า ในช่วงที่ผ่านมาของ อเมริกา นั้นมีเกณฑ์สูงขึ้นกว่า ทศวรรษที่ 1960 ถึง 2 เท่าตัวเลยทีเดียวค่ะ หรือถ้าหากจะสมมติให้เข้าใจง่ายๆ ก็เทียบได้ว่าในคน 100 คน จะพบว่ามีประมาณ 15 คน ที่ได้ผ่านการหย่ากับหรือแยกกันอยู่กับคู่ครองมาแล้ว นั่นเองค่ะ
สาเหตุของการหย่าร้างส่วนใหญ่แล้ว ไม่ได้มาจาก การนอกใจ แต่จริงๆ แล้วสาเหตุหลักๆ ของการฟ้องหย่า นั้นมาจากเหตุผลของ การขาดการสื่อสารกันและกัน ซะมากกว่า โดยมีเฉลี่ยมากถึง 73 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียวค่ะ รองลงมาจะเป็นเรื่องของการมีปากเสียงกัน และตามมาด้วย เรื่องของความเจ้าชู้ค่ะ ซึ่งเหตุผลการหย่า จากสถิติ ก็ค่อนข้างที่จะสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับในหนังเลย แสดงว่าให้เห็นว่าจริงๆ แล้ว การสื่อสารกันและกัน เพื่อให้เข้าใจความต้องการได้ตรงกัน ถือเป็นเรื่องสำคัญมากๆ ในการประคองชีวิตคู่ให้อยู่ไปด้วยกันได้อย่างยาวนานได้มากขึ้นนั่นเองค่ะ
เราได้อะไรจากหนังเรื่องนี้
จำเป็นแค่ไหนที่ต้อง Ending with Happy ?

หลังจากดูหนังเรื่องนี้จบ พบว่า บนหน้าเรามีรอยยิ้มจางๆ ปนอยู่ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้จบอย่างที่เราคาดหวังไว้ แต่มันก็เป็นอารมณ์ที่บอกกับตัวเองว่า จบแบบนี้ ดีที่สุดแล้วแหละ เพราะเราเชื่อว่าตัวผู้กำกับเอง ก็คงอยากจะทำให้ตัวละครแต่ละตัวไหลไปตามเหตุผลของตัวเองมากที่สุด ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็ค่อนข้างที่จะลงตัวต่อทุกคน ในความสัมพันธ์นี้แล้ว เราก็แอบถือว่าเรื่องนี้ถึงจะไม่ใช่หนังรักซะทีเดียว แต่ก็จบได้ Happy Ending ในตัวของมันแล้วล่ะค่ะ
พอดูจบ ความอินกับหนังมันยังคงไหลเวียนอยู่ในหัว (เชื่อว่าหลายๆ คนก็คงเป็นเหมือนเรา) เราจึงกลับมาย้อนถามตัวเองว่า จริงๆ แล้ว หนังน้ำดีเรื่องนี้ให้อะไรเรา และเราได้อะไรจากหนังเรื่องนี้มาบ้างนะ
เพื่อให้เจ็บ แต่ 'จบ' ดีกว่า
การเจ็บไปเรื่อยๆ นั้นมัน ดีกว่า จริงๆ แหละ
เพราะแท้จริงแล้ว ความรัก ไม่จำเป็นที่ต้อง Ending ด้วยความ Happy เสมอไป คนเรามักจะคาดหวังมโนภาพ ชีวิตคู่ ในมุมมองแค่ของตัวเอง บางคนฝันอยากให้แฟนทำแบบนั้น แบบนี้ จนหลงลืมไปว่า ชีวิตคู่ = สองชีวิตร่วมกัน ดังนั้น มันไม่ไม่เพียงภาพจินตนาการเพียงแค่ของใครคนใดคนหนึ่งเท่านั้น หากมีใครที่ ต้องฝืนความเป็นตัวเอง เพื่อที่จะรักษาความสัมพันธ์นั้นๆ ให้มันดำเนินไปด้วยดี แต่ การฝืน มันอาจะทำให้เราหมด คุณค่าความเป็นตัวเอง ไปโดยที่เราไม่รู้ตัวแบบนางเอก และสุดท้ายอาจกลายเป็นการจบความสัมพันธ์ และลงเอยด้วย การหย่า แบบในเรื่องนี้ก็ได้นะ
แล้วคุณล่ะ กำลังมีความรักแบบไหนอยู่ ? ที่แน่ๆ อย่า หลงลืมความเป็นตัวเอง และลดคุณค่าตัวเองเพื่อใครเลย และฉากจบแบบ Happy Ending จะเข้าหาเธอเอง...

อันดับบทความประจำวัน
(หมวดOriginal Content)
Variety By SistaCafe

Feature
กิจกรรม SistaCafe