Fish Oil หรือน้ำมันปลา อุดมไปด้วย โอเมก้า 3 ที่มีทั้งบำรุงสมอง หัวใจ และข้อ รวมถึงชะลอวัยอีกด้วย

เลือกอ่านตามหัวข้อ
ความสำคัญของ "น้ำมันปลา"
ประโยชน์ของ "น้ำมันปลา"
ข้อควรระวัง
น้ำมันปลา vs น้ำมันตับปลา
แนะนำเมนูปลา
รับประทาน "น้ำมันปลา" อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ
สวัสดีค่ะทุกคนนนนนน
วันนี้เราจะพาเพื่อนๆ ไปทำความรู้จักกับ น้ำมันปลา ( Fish Oil ) กัน เพราะน้ำมันปลาเป็นที่นิยมทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เพราะอุดมไปด้วยสาร DHA หลายๆ คนคุ้นเคยกันว่า น้ำมันปลาทานแล้วสมองดี จนทำให้เราเรียนเก่งขึ้น แต่ทว่าน้ำมันปลาไม่ใช่มีแค่ทานแล้วบำรุงสมองเท่านั้นน้า แต่บำรุงทั้งหัวใจและข้ออักเสบ รวมไปถึงชะลอวัยแก่ นี่ขนาดเกริ่นมาเยอะนะเนี่ย เราจะมาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่าค่ะ
ความสำคัญของ "น้ำมันปลา"
น้ำมันปลา ( Fish Oil ) เป็นน้ำมันที่สกัดออกมาจากส่วนต่างๆ ของปลา เช่น เนื้อปลา หนังปลา หัวปลา เป็นต้น ซึ่งมาจากปลาทะเลน้ำลึก ที่อุดมไปด้วย Omega 3 และ DHA ปริมาณมากกว่าปลาน้ำจืด เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาแมคเคอเรล ปลาซาร์ดีน ปลาแอนโชวี่ เป็นต้น มีไขมันโอเมก้า 3 สูงถึง 1-4 กรัมต่อเนื้อปลา 100 กรัม มีบทบาทในการช่วยบำรุงสมอง บำรุงหัวใจ บำรุงข้อเข่าอักเสบ รวมไปถึงชะลอวัยแก่อีกด้วย
ประโยชน์ของ "น้ำมันปลา"
1. มีโอเมก้า 3 บำรุงสมองและหัวใจ ยับยั้งในการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ลดไขมันในเลือด ป้องกันการอุดตันในเลือดในส่วนต่างๆ ช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว ทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น ลดความดัน ลดการเต้นของหัวใจที่เต้นผิดปกติ
2. ลดการอักเสบ ปวด บวมของข้อเข่าเสื่อม ข้อรูมาตอยต์ และข้อยึดในตอนเช้า
3. มี DHA เสริมการทำงานของเซลล์สมอง การรับประทานน้ำมันปลาจะมีส่วนในการป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้ ช่วยเพิ่มสารที่ช่วยลดเส้นใยในสมองเป็นตัวการทำลายส่วนความจำ อีกทั้งยังช่วยลดอาการไมเกรน ลดอาการซึมเศร้า สมาธิสั้น และโรคอารมณ์สองขั้ว
4. สำหรับคนที่เป็นโรคหอบหืด การรับประทานน้ำมันปลาอย่างต่อเนื่องจะช่วยบรรเทาโรคหอบหืดได้
5. การรับประทานปลาที่มีไขมันปริมาณมาก ทำให้บรรเทาอาการโรคผิวหนังได้ อีกทั้งยังช่วยบำรุงผิวพรรณให้ดูุสดใส สุขภาพดี ชะลอความแก่ให้แลดูอ่อนเยาว์
ข้อควรระวัง
1. ในน้ำมันปลามีส่วนผสมของโอเมก้า 3 ที่มีในส่วนช่วยของเกล็ดเลือด ทำให้เลือดไหลช้าลง กรณีเป็นผู้ที่รับประทานเป็นประจำ อาจมีความเสี่ยงเกิดเลือดออกมากยิ่งขึ้น กรณีที่ผ่าตัด แผลในกระเพาะอาหาร ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ควรหยุดรับประทานก่อนรับการเข้าผ่าตัด 14 วัน
2. ผู้ที่แพ้น้ำมันปลา แพ้อาหารทะเล เช่น มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง หรือแม้แต่ใครไม่ได้แพ้น้ำมันปลา แต่มีอาการแบบนี้ ควรรับประทานหลังอาหารทันที แต่ไม่ต้องปริมาณมาก
3. ผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำ อาจต้องระมัดระวังในการรับประทาน
น้ำมันปลา vs น้ำมันตับปลา
น้ำมันปลาสกัดจากปลาทะเลน้ำลึกส่วนหัว หาง เนื้อและหนัง เต็มไปด้วยกรดไขมันดีมากมาย โดยเฉพาะ DHA หรือ Docosahexaenoic Acid เป็นไขมันในปลาที่มีมากที่สุด และ Omega 3 รู่จักกันดีในการบำรุงสมอง หัวใจ ผิวพรรณและข้อเข่าตามที่เราได้อธิบายข้างต้นไว้
ส่วน น้ำมันตับปลา ( Cold Liver Fish Oil ) สกัดจากตับของปลาค็อด อุดมไปด้วยวิตามิน เอ ช่วยสร้างเยื่อบุผิวหนังและกระดูก บำรุงสายตา และวิตามิน ดีช่วยดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกาย
แนะนำเมนูปลา
ซาชิมิ
เมนูอาหารญี่ปุ่นสุดฮิตที่ไม่สั่งไม่ได้แล้วค่ะ ของโปรดส้มเองค่ะ ซาซิมิ หรือ ปลาดิบ ประกอบด้วย ปลาแซลมอนสีส้มยั่วๆ ปลาทูน่าเนื้อแดงน่ากิน โดยปลาแต่ละชนิด ล้วนมีไขมันเยอะ จึงเต็มไปด้วยโอเมก้า 3 นิยมรับประทานกับโชยุและวาซาบิ หรือจะเอามาวางบนหน้าซูชิ ถึงแม้ว่าซาชิมิจะมีโอเมก้าก็จริง แต่ไม่ควรรับประทานเป็นประจำ อาจทำให้เกิดพยาธิได้
สเต็กปลาแซลมอนย่าง
สำหรับเพื่อนๆ ที่ไม่ชอบทานซาชิมิ หรือ ปลาดิบ เราแนะนำเป็นปลาแซลมอนย่าง ไม่ว่าจะย่างซีอิ๊ว เทอริยากิ หรือย่างเกลือ ของโปรดของทุกคนไม่แพ้กัน เป็นปลาที่ผ่านความร้อนเพื่อทำให้สุกแล้ว แถมปลอดภัยและกินได้บ่อยด้วยน้าา
❤ อย่าลืมไลค์และแชร์บทความให้กำลังใจเราด้วยนะคะ ❤

อันดับบทความประจำวัน
(หมวดความงาม)
Variety By SistaCafe

Feature
กิจกรรม SistaCafe