

ท่องเที่ยว/คาเฟ่
จะเที่ยวดันป่วยซะงั้น! 10 อาการที่ซิส 'นักเดินทาง' ต้องเจอ! พร้อมวิธีแก้ไข เพื่อให้ทริปสนุกมากขึ้น
ซิสสายนักเดินทาง มักต้องเจอกับสภาวะเจ็บป่วยจากการนั่งเครื่องบ่อยครั้ง วันนี้เราจึงรวม '10 อาการ' ที่ซิสนักเดินทางต้องเจอ! พร้อมวิธีแก้ไขมาฝากจ้า

เลือกอ่านตามหัวข้อ
1. ปวดข้อ
2. การอักเสบของหลอดเลือด
3. แพ้อาหาร
4. น้ำในหูไม่เท่ากัน หรือ Meniere’s disease
5. ปวดไมเกรนรุนแรง
6. เจ็ตแล็ก (Jet Lag)
7. โรคไทรอยด์อักเสบ
8. หอบหืด
9. ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง
10. อาการติดเชื้อท้องถิ่น
Hello! ซิสผู้รักการเดินทางทั้งหลาย!!!
เชื่อว่าในนี้จะต้องมีซิสที่เป็นนักเดินทาง และรักการออกไปท่องเที่ยวในยามว่างกันอย่างแน่นอน ซึ่งซิสคงรู้กันดีใช่ไหมคะว่า การเดินทางในแต่ละครั้ง สามารถสร้างอาการบาดเจ็บและความเจ็บป่วยต่างๆ ให้กับร่างกายเราได้ ดังนั้นคงไม่ดีแน่ถ้าต้องเดินทางไปร่วมกับความรู้สึกเจ็บป่วยเหล่านี้
วันนี้จึงขอรวม 10 อาการเจ็บป่วย ที่คนชอบเดินทางต้องเจอและวิธีแก้ไขแบบเบื้องต้น เพื่อทำให้ทุกทริปของซิสมีความปลอดภัยและสร้างความสุขไปตลอดการเดินทาง
เชื่อว่าในนี้จะต้องมีซิสที่เป็นนักเดินทาง และรักการออกไปท่องเที่ยวในยามว่างกันอย่างแน่นอน ซึ่งซิสคงรู้กันดีใช่ไหมคะว่า การเดินทางในแต่ละครั้ง สามารถสร้างอาการบาดเจ็บและความเจ็บป่วยต่างๆ ให้กับร่างกายเราได้ ดังนั้นคงไม่ดีแน่ถ้าต้องเดินทางไปร่วมกับความรู้สึกเจ็บป่วยเหล่านี้
วันนี้จึงขอรวม 10 อาการเจ็บป่วย ที่คนชอบเดินทางต้องเจอและวิธีแก้ไขแบบเบื้องต้น เพื่อทำให้ทุกทริปของซิสมีความปลอดภัยและสร้างความสุขไปตลอดการเดินทาง
1. ปวดข้อ
การเดินทางที่ต้องนั่งเครื่องบินเป็นเวลานานหรือบ่อยครั้ง ย่อมทำให้เกิดปัญหาปวดข้อได้ง่าย โดยเฉพาะข้อเข่าที่ต้องนั่งงอติดต่อกันหลายชั่วโมง ยิ่งถ้าต้องเดินทางไปยังประเทศที่อยู่อีกซีกโลก ก็ยิ่งต้องนั่งนานขึ้น แถมต้องมีต่อเครื่องกันอีก นอกจากนี้ยังแถมมาด้วยอาการปวดกล้ามเนื้อ เพราะร่างกายแทบไม่ได้ขยับเช่นกัน ถ้าปล่อยไว้นานปัญหานี้อาจเรื้อรังและสร้างความทรมานให้กับซิสนักเดินทางได้
ดังนั้นวิธีแก้ไขที่ดีที่สุดคือการลุกมาเคลื่อนไหวตัวเองบ่อยๆ โดยลุกเดินไปเข้าห้องน้ำ หรือหาจังหวะยกขาขึ้น-ลงบ้าง รวมไปถึงการเดินไป-มาระหว่างทางเดินบนเครื่องสักครู่ หรือถ้าไม่สะดวกจริงๆ ก็ลองใช้ท่าบริหารแบบออฟฟิศซินโดรมที่ทำบนเก้าอี้ได้เลย ก็จะช่วยทำให้อาการปวดเบาบางลง และช่วยลดความเสี่ยงอาการปวดเหล่านี้ได้ดีเลยทีเดียว
ดังนั้นวิธีแก้ไขที่ดีที่สุดคือการลุกมาเคลื่อนไหวตัวเองบ่อยๆ โดยลุกเดินไปเข้าห้องน้ำ หรือหาจังหวะยกขาขึ้น-ลงบ้าง รวมไปถึงการเดินไป-มาระหว่างทางเดินบนเครื่องสักครู่ หรือถ้าไม่สะดวกจริงๆ ก็ลองใช้ท่าบริหารแบบออฟฟิศซินโดรมที่ทำบนเก้าอี้ได้เลย ก็จะช่วยทำให้อาการปวดเบาบางลง และช่วยลดความเสี่ยงอาการปวดเหล่านี้ได้ดีเลยทีเดียว
.
2. การอักเสบของหลอดเลือด
การอักเสบของหลอดเลือด หรือโรคหลอดเลือดเล็กอักเสบ ที่เกิดขึ้นได้ทั้งกับซิสวัยกระเตาะ และวัยผู้ใหญ่ที่ต้องเดินทางบ่อยครั้ง โดยเริ่มแสดงอาการออกมาเป็นผื่นหรือจุดช้ำบนผิวหนัง จากนั้นก็จะเริ่มปวดตามข้อ มีอาการบวมตามที่ต่างๆ บนร่างกาย ปวดท้อง อาเจียน และถ้าอาการหนัก ก็อาจทำให้เลือดออกในช่องท้องได้เลยทีเดียว ส่วนมากจะเกิดจากการที่ร่างกายปรับไม่ทันสภาพอากาศ และเกิดขึ้นกับพื้นที่หนาวเย็นได้ง่าย แต่ก็อย่าเพิ่งตกใจไปค่ะ เพราะโรคนี้ไม่ใช่โรคร้ายแรง หายเองได้ใน 1 สัปดาห์ เพียงแต่ถ้าเกิดในขณะที่กำลังเดินทาง ก็คงรู้สึกไม่สบายใจอย่างแน่นอน!
ถ้าเกิดอาการเพียงเล็กน้อย ให้แก้ไขด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำเรื่อยๆ ตลอดการเดินทาง หรือถ้าไปพบแพทย์มาก่อนแล้ว ก็ให้เตรียมยารักษาติดตัวมาด้วย แต่ถ้าอยู่ในสภาวะที่รุนแรง แนะนำให้ทำประกันก่อนการเดินทาง และรีบแจ้งทางเจ้าหน้าที่บนเครื่องบิน เพื่อให้ซิสได้รับการดูแล และการรักษาเบื้องต้นอย่างทันท่วงทีนะคะ
ถ้าเกิดอาการเพียงเล็กน้อย ให้แก้ไขด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำเรื่อยๆ ตลอดการเดินทาง หรือถ้าไปพบแพทย์มาก่อนแล้ว ก็ให้เตรียมยารักษาติดตัวมาด้วย แต่ถ้าอยู่ในสภาวะที่รุนแรง แนะนำให้ทำประกันก่อนการเดินทาง และรีบแจ้งทางเจ้าหน้าที่บนเครื่องบิน เพื่อให้ซิสได้รับการดูแล และการรักษาเบื้องต้นอย่างทันท่วงทีนะคะ
.
3. แพ้อาหาร
อาการแพ้อาหารไม่ใช่เรื่องล้อเล่นแม้กระทั่งบนเครื่องบิน โดยเฉพาะอาหารของทางสายการบินที่เสิร์ฟบนเครื่อ ทั้งอาหารหลักและอาหารว่าง ซิสนักเดินทางคงรู้กันดีอยู่แล้วว่า เรื่องนี้ต้องแจ้งทางพนักงานบนเครื่องบินให้ทราบชัดเจน เพื่อให้ซิสได้อาหารที่เหมาะสม เพราะถ้าฝืนทานอาหารที่ตัวเองแพ้แบบไม่บอกใคร ก็คงจะรู้ตัวใช่ไหมคะว่ามีสิทธิ์ช็อกหมดสติหรือเสียชีวิตได้ง่ายๆ แต่ถ้าไม่รู้จริงๆ ว่าตัวเองจะแพ้อะไรบ้าง แต่ทานเข้าไปแล้วเกิดอาการเหล่านี้ก็ควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่บนเครื่องบินทันที คือ
1. เกิดอาการคันยิบๆ บนผิวหนังทุกส่วนแบบผิดปกติ คันแม้กระทั่งในช่องปากและอวัยวะภายใน
2. เกิดอาการบวมที่บริเวณใบหน้า, ดวงตา, ปาก, คอ และส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งอาการบวมนี้จะชัดเจนมาก
3. หายใจลำบาก เหมือนมีอะไรมาตันที่คอ กลืนน้ำลายลำบากขึ้น
4. เกิดลมพิษขึ้นทั่วทั้งร่างกายแบบเฉียบพลัน
5. ปวดท้องรุนแรง ท้องเสียหลายครั้ง ปวดท้องหนักจนต้องอาเจียน และมีปัญหาเวียนศีรษะเพิ่มมาด้วย สำหรับผู้ที่มีภาวะเริ่มรุนแรงจะมีอาการใจสั่น รู้สึกวิตกกังวลสูงแบบเฉียบพลัน และอาจถึงขั้นช็อกหมดสติอย่างรวดเร็ว
ดังนั้นถ้าเริ่มมีทั้ง 5 อาการที่ระบุนี้ ก็ควรรีบแจ้งทางเจ้าหน้าที่บนเครื่องให้เร็วที่สุด ที่สำคัญคือถ้ารู้ว่าตัวเองแพ้อาหารได้ง่าย ก็ควรเตรียมยาแก้แพ้ที่สั่งจ่ายจากแพทย์ติดตัวตลอดเวลา
1. เกิดอาการคันยิบๆ บนผิวหนังทุกส่วนแบบผิดปกติ คันแม้กระทั่งในช่องปากและอวัยวะภายใน
2. เกิดอาการบวมที่บริเวณใบหน้า, ดวงตา, ปาก, คอ และส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งอาการบวมนี้จะชัดเจนมาก
3. หายใจลำบาก เหมือนมีอะไรมาตันที่คอ กลืนน้ำลายลำบากขึ้น
4. เกิดลมพิษขึ้นทั่วทั้งร่างกายแบบเฉียบพลัน
5. ปวดท้องรุนแรง ท้องเสียหลายครั้ง ปวดท้องหนักจนต้องอาเจียน และมีปัญหาเวียนศีรษะเพิ่มมาด้วย สำหรับผู้ที่มีภาวะเริ่มรุนแรงจะมีอาการใจสั่น รู้สึกวิตกกังวลสูงแบบเฉียบพลัน และอาจถึงขั้นช็อกหมดสติอย่างรวดเร็ว
ดังนั้นถ้าเริ่มมีทั้ง 5 อาการที่ระบุนี้ ก็ควรรีบแจ้งทางเจ้าหน้าที่บนเครื่องให้เร็วที่สุด ที่สำคัญคือถ้ารู้ว่าตัวเองแพ้อาหารได้ง่าย ก็ควรเตรียมยาแก้แพ้ที่สั่งจ่ายจากแพทย์ติดตัวตลอดเวลา
4. น้ำในหูไม่เท่ากัน หรือ Meniere’s disease
น้ำในหูไม่เท่ากัน ถือว่าเป็นโรคยอดฮิตของคนที่เดินทางบ่อยครั้ง เพราะช่วงเวลาที่เครื่องขึ้นและลงนั้น จะมีแรงกดอากาศสูง จึงถือว่าเป็นตัวกระตุ้นอาการชั้นดีเลยก็ว่าได้ โดยจะมีอาการเสียงดังอยู่ในหู เวียนศีรษะแบบรุนแรง รู้สึกแน่นภายในหู หูอื้อ เหงื่อออกร่วมกับอาการวิงเวียน รวมไปถึงอาการปวดหูและปวดศีรษะที่คล้ายกับไมเกรน ส่วนใหญ่แล้วจะพบได้มากในผู้หญิงวัยทำงานอายุช่วง 30-60 ปี และผู้ที่เดินทางบ่อยก็มักจะประสบปัญหาโรคนี้อยู่ไม่น้อยเช่นกัน
วิธีแก้ไขที่ดีที่สุด คือ การพกพายารักษาจากแพทย์ติดตัวไปด้วย เมื่อเกิดอาการให้รีบนอนหงาย ไม่ดื่มเครื่องดื่มและไม่ทานอาหารใดๆ ทั้งสิ้น เคลื่อนไหวตัวให้น้อยที่สุด หรือถ้าอาการหนักขึ้นโดยไม่มียาติดตัวมาด้วย ให้รีบแจ้งกับทางเจ้าหน้าที่บนเครื่องบินทันที!
วิธีแก้ไขที่ดีที่สุด คือ การพกพายารักษาจากแพทย์ติดตัวไปด้วย เมื่อเกิดอาการให้รีบนอนหงาย ไม่ดื่มเครื่องดื่มและไม่ทานอาหารใดๆ ทั้งสิ้น เคลื่อนไหวตัวให้น้อยที่สุด หรือถ้าอาการหนักขึ้นโดยไม่มียาติดตัวมาด้วย ให้รีบแจ้งกับทางเจ้าหน้าที่บนเครื่องบินทันที!
.
5. ปวดไมเกรนรุนแรง
อาการปวดไมเกรน คือ อาการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา และทุกสถานการณ์ โดยจะมีลักษณะปวดศีรษะเพียงด้านในด้านหนึ่ง, ปวดหู, ปวดขมับ, ปวดกระบอกตา และอาจลุกลามไปปวดช่วงคอกับบ่าได้อีกด้วย เมื่อต้องปวดบนเครื่องบินหรือในขณะเดินทาง จะยิ่งทำให้รู้สึกทรมานมาก บางรายอาจถึงขั้นมีอาการอาเจียนร่วมด้วย
ดังนั้นจึงควรพกพายารักษาอาการไมเกรนติดตัวไว้อยู่เสมอ ถ้ามีอาการก่อนเดินทางก็ควรรีบทานยาทันที เมื่อขึ้นเครื่องบินแล้วให้พักผ่อน หลับตาแล้วผ่อนคลาย และถ้าต้องอยู่ในจุดที่มีคนใส่น้ำหอมหรือโคโลญจน์ที่มีกลิ่นรุนแรงจนคุณทนไม่ไหว ให้ลองพูดคุยกับผู้โดยสารคนอื่นๆ เพื่อขอเปลี่ยนที่ แต่ทางที่ดีที่สุดคือควรแจ้งให้ทางเจ้าหน้าที่บนเครื่องบินทราบทันที
ดังนั้นจึงควรพกพายารักษาอาการไมเกรนติดตัวไว้อยู่เสมอ ถ้ามีอาการก่อนเดินทางก็ควรรีบทานยาทันที เมื่อขึ้นเครื่องบินแล้วให้พักผ่อน หลับตาแล้วผ่อนคลาย และถ้าต้องอยู่ในจุดที่มีคนใส่น้ำหอมหรือโคโลญจน์ที่มีกลิ่นรุนแรงจนคุณทนไม่ไหว ให้ลองพูดคุยกับผู้โดยสารคนอื่นๆ เพื่อขอเปลี่ยนที่ แต่ทางที่ดีที่สุดคือควรแจ้งให้ทางเจ้าหน้าที่บนเครื่องบินทราบทันที
❤ อย่าลืมไลค์และแชร์บทความให้กำลังใจเราด้วยนะคะ ❤

อันดับบทความประจำวัน
(หมวดท่องเที่ยว/คาเฟ่)
Variety By SistaCafe

Feature
กิจกรรม SistaCafe