มาเรียนให้เก่งกันเถอะ! 5 เคล็ดลับในการจดเลคเชอร์ในห้องเรียนให้รู้เรื่อง!
ทำแบบเรียนเก่ สมองไว เกรด A ลอยมาแต่ไกลแน่นอน

เลือกอ่านตามหัวข้อ
#1 อ่านสไลด์ ( หนังสือ ) ก่อนเรียน
#2 ใช้หัวเรื่องในการกำรหนดสิ่งต่างๆ
#3 ใช้ตัวอักษรย่อๆ
#4 จดบันทึกโดยดูที่ภาพรวม
#5 โยนความสวยงามทิ้งไป
ฮาโหลสาวๆ
เรื่องการเรียนนั้นทักษะหนึ่งที่เราขาดกันไม่ได้เลยก็คือการจดเลคเชอร์นั้นเอง โดยเฉพาะน้องๆ ที่เพิ่งเข้ามหาวิทยาลัยจะรู้เลยว่าการเรียนในห้องเรียนกับในมหาวิทยาลัยนั้นมันต่างกันมากๆ เพราะในมหาวิทยาลัยอาจารย์นั้นแทบจะไม่สอนตามในหนังสือ แต่จะสอดแทรกและพูดในสิ่งที่เธอต้องรู้และจะต่อยอดมันออกไปตลอดเวลา คุณพระ! โดยสิ่งเหล่านี้จะต้องใช้เวลาในการปรับตัว ดังนั้นวันนี้เราจึงมีทริคเพื่อเพิ่มทักษะในการจดบันทึกมาฝากกันค่ะ โดยวิธีการนี้อาจจะไม่เหมือนคนอื่นๆ สักหน่อยนะคะ แต่รับรองว่าทำตามแล้วไม่ผิดหวัง เอาล่ะ ถ้าพพร้อมแล้วเราไปดูกันเลยดีกว่าว่าจะมีเทคนิคอะไรกันบ้าง ไปดูกันเลย
#1 อ่านสไลด์ ( หนังสือ ) ก่อนเรียน
โดยทั่วๆ ไปแล้วในมหาวิทยาลัยอาจารย์ส่วนใหญ่มักให้บทเรียนไม่ว่าจัเป็นสไลด์ที่สอน หรือแม้แต่หลังสือที่ต้องใช้เรียนเสมอ ดังนั้นสิ่งที่จำเป็นที่จะช่วยทำให้คุณเข้าใจและจดบันทึกง่ายขึ้นก็คืออ่านทำความเข้าใจสิ่งเหล่านั้นก่อน เพราะอ่านแล้วคุณก็มีความรู้บางส่วนเกี่ยวกับมัน ซึ่งมันจะทำให้คุณรู้ว่าต้องเขียนข้อความอะไร หรือจะเขียนข้อความนั้นหรือไม่ หรือว่าจะเกิดขึ้นในสไลด์ถัดไป ดังน้้นอย่ามัวจดในสิ่งที่ไม่จำเป็น เพียงให้เวลามันก่อนเข้าเรียนสักเล็กน่อย เธอก็จะมีความสุขในห้องเรียนมากขึ้นแล้วค่ะ
#2 ใช้หัวเรื่องในการกำรหนดสิ่งต่างๆ
เรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำใวห้คุณจดบันทึกได้เข้าใจมากขึ้น ดังนั้นคุณควรใช้หัวเรื่องในการกำหนดสิ่งต่างๆ เพื่อช่วยทำกรอบความคิด กำหนดว่ากำลังพูดหรือจดเรื่องอะไรอยู่ ซึ่งมันจะง่ายมากๆ ต้องการถอดรหัสโน๊ตของคุณในภายหลัง ( กลับมาอ่านทบทวนเองที่บ้าน ) เคล็ดลับคือสาวๆ อาจะทำสัญลักษณ์เพื่อช่วยกำหนดว่าสิ่งไหนต่อจากสิ่งไหนก็ได้ หรือจะใช้สีเป็นตัวช่วยก็ไม่ผิดนะคะ ขึ้นอยู่กับความสะดวกแต่ละคนเลยค่ะ
#3 ใช้ตัวอักษรย่อๆ
นี่ก็เป็นสิ่งสำคัญ เราไม่ควรเสียเวลาในการเขียนประโยคที่สมบูรณ์ แต่ควรโฟกัสกับเนื้อหา โดยอาจจะเขียนให้สั้น กระชับที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่เมื่อกลับมาอ่านก็เข้าใจได้มันหมายถึงอะไร ตัวอย่างเช่น เราอาจจะใช้คำย่อ เช่นคำว่า " psy " แทนคำว่าจิตวิทยา นักจิตวิทยา จิตวิทยา ฯลฯ โดยแม้เธออาจจะคิดว่ามันอาจทำให้สับสน แต่ในความเป็นจริงบริบทรอบข้างจะทำให้เราสามารถเข้าใจในสิ่งที่จดได้เองนะคะ
นอกจากนี้เธอยังสามารถคิดคำย่อของตัวเองขึ้นมาใหม่ก็ได้ ( ขึ้นอยู่กับตัวเธอเอง ) แต่เพียงแค่ต้องเช็คให้แน่ใจว่าแม้เธอใช้คำใหม่ แต่เธอก็ยังรู้ว่าสิ่งนั้นหมายถึงอะไร โดยบ่อยครั้งเราักจะจดหรือทำพจนานุกรมสั้น ๆ เล็ก ๆ ไว้ด้านบนหนังสือเสมอ เพื่อให้เราอ่านเข้าใจและจดมันได้ง่ายที่สุดนะคะ
#4 จดบันทึกโดยดูที่ภาพรวม
เป็นความจริงที่ว่าเราไม่จำเป็นต้องจดทุกสิ่งทุกอย่างที่อาจารย์พูด บางครั้งการยกตัวอย่างของอาจารย์อาจไม่ตรงประเด็น และอาจทำให้เขาไขว้เขวได้หากจดมันลงไปด้วย ดังนั้นคุณควรฟังและทำความเข้าใจตอนที่อาจารย์สอนในห้องเรียนตลอดเวลา จดเพียงแค่ประเด็นบางอย่างที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ดูภาพรวมว่าอาจารย์พูดถึงเรื่องอะไร แล้วจดมะนลงไปก็พอนะคะ
❤ อย่าลืมไลค์และแชร์บทความให้กำลังใจเราด้วยนะคะ ❤

อันดับบทความประจำวัน
(หมวดอื่น ๆ)
Variety By SistaCafe

Feature
กิจกรรม SistaCafe