Articles etc
อื่น ๆ

7 วิธีคิดบวก เปลี่ยน 'ความเครียด' ให้กลายเป็นเรื่องดีๆ ได้อย่างง่ายดาย

มาเปลี่ยนความเครียดให้กลายเป็นเรื่องคิดบวกกันค่ะ


» » » - - »
Sistacafe button sharefb
Down

เลือกอ่านตามหัวข้อ

  • [แสดง]
  • [ซ่อน]
    • 1. กำหนดลมหายใจ

    • 2. คำถามของตัวเอง

    • 3. หยุดต่อต้านและเริ่มยอมรับ

    • 4. ระดมความคิดเพื่อแก้ปัญหา

    • 5. เริ่มลงมือได้

    • 6. สบายใจกับการตัดสินใจ

    • 7. เชื่อมั่นว่าต้องทำได้


    " ความเครียดและความกังวลถือว่าเป็นเรื่องที่แย่ที่สุดในโลก "

    วลีเด็ดจากนักร้องคนดัง Enrique Iglesias

     ที่เขาเองก็มักจะโดนความเครียดจู่โจมอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งความเครียดและความวิตกกังวลก็เปรียบเสมือนโจร ที่มักจะชอบมาปล้นพลังงานในร่างกายไป และแทบจะทำให้จิตวิญญาณเราลอยออกจากร่างกันเลยทีเดียว เมื่อความเครียดทำให้ชีวิตเราหยุดชะงัก ก็พาให้ร่างกายและสุขภาพของเราเสื่อมลงไปด้วย ทั้งยังขัดขวางความคิดสร้างสรรค์ที่มีอยู่ในสมองเราอีกต่างหาก

     ทำให้เราได้มองเห็นว่าความเครียดหรือความวิตกกังวลนั้น ถือว่ามีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของเราอย่างมากมาย แบบนี้ลองมาดู 7 วิธีคิดบวก เปลี่ยนความเครียดให้กลายเป็นเรื่องดีๆ กันค่ะ  

    1. กำหนดลมหายใจ

    เมื่อเวลาที่เครียดหรือวิตกกังวลมากเกินไป ร่างกายจะเกิดรูปแบบการหายใจที่เปลี่ยนไปจากเวลาปกติ ซึ่งการหายใจในช่วงเวลาที่ร่างกายเป็นปกติจะหายใจช้าๆ และนำลมเข้าสู่ปอดได้ในปริมาณที่ปอดต้องการ แต่พอเครียดก็จะเปลี่ยนเป็นการหายใจที่เร็วและถี่มากขึ้น ทำให้ปอดทำงานหนักกว่าปกติ ถ้าหายใจเร็วๆ รัวๆ เพราะความเครียดมากไปก็จะทำให้ร่างกายเกิดความอ่อนเพลียขึ้นมาทันที

    ดังนั้นพลิกวิกฤตให้กลายเป็นโอกาสด้วยการกำหนดลมหายใจเพื่อให้ปอดได้ทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญคือเป็นการฝึกกำหนดลมหายใจ ด้วยการกลั้นลมหายใจไว้สักครู่ จากนั้นก็ค่อยๆ ปล่อยออกทางปาก เพื่อเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ลดความตึงเครียดได้ดี และช่วยให้เราเป็นคนมีสมาธิมากขึ้นกว่าเดิม ถ้าครั้งต่อไปเริ่มเครียดก็เพียงแค่ทำวิธีนี้ความเครียดก็จะลดลงเองอัตโนมัติ ทำให้คุณกลายเป็นคนใจเย็น และมีเหตุผลมากขึ้นอีกด้วย

    2. คำถามของตัวเอง

    คำถามจะเป็นตัวนำสถานการณ์ที่แสนเครียด ไปสู่มุมมองที่ดีกว่าเดิม วิธีการที่ดีที่สุดเมื่อต้องเผชิญความเครียดสูง ก็คือการถามตัวเองให้ชัดเจนและมุ่งความสนใจที่คำตอบ การตั้งคำถามให้กับตัวเองถือว่าเป็นศิลปะของการแก้ไขความเครียดที่มีประสิทธิภาพ โดยตั้งคำถามปลายเปิด ที่สามารถหาคำตอบได้ง่าย เช่น อะไร? หรือ อย่างไร? เพื่อให้ได้คำตอบในแบบที่คุณต้องการ แต่ไม่ใช่สิ่งที่คุณคิดว่าต้องการ โดยเน้นไปที่สถานการณ์ให้ชัดเจน เช่น สิ่งที่แย่ที่สุดในปัญหานี้คืออะไร? หรือ ปัญหานี้เกิดขึ้นได้อย่างไร? เมื่อคุณเริ่มคิดหาคำตอบ แล้วรู้สึกว่าตอบได้ คุณจะรู้สึกว่ามีอำนาจเหนือสถานการณ์นั้นทันที พร้อมที่จะควบคุมสถานการณ์ได้อย่างมั่นใจมากขึ้น เท่านี้ความเครียดและอารมณ์ก็จะเริ่มลดลงทันที  

    3. หยุดต่อต้านและเริ่มยอมรับ

    สิ่งที่ทำให้เราเกิดความเครียดได้ง่ายที่สุด ก็คือการไม่ยอมรับต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ยอมรับต่อตัวต้นตอของความเครียด ดังนั้นทางเลือกที่ดีที่สุดของปัญหานี้คือการยอมรับต่อต้นตอของปัญหา หยุดการต่อต้านความคิดของตัวเอง ตระหนักถึงชีวิตที่ไม่สมบูรณ์แบบ ยอมรับต่อสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นไปแล้ว เมื่อคุณตอบคำถามตัวเองได้แล้ว ความเครียดในใจก็จะลดลง และเริ่มยอมรับต่อสิ่งที่เกิดได้ดีขึ้น เพื่อให้คุณได้รู้สึกปลงต่อปัญหาและท้าทายความสามารถของเราอีกด้วย

    4. ระดมความคิดเพื่อแก้ปัญหา

    หนึ่งในวิธีการแก้ความเครียดที่ดีที่สุดอีกหนึ่งวิธี คือการระดมความคิดตัวเองเพื่อแก้ปัญหา โดยเปลี่ยนจากความคิดว่า " ทำไมฉันถึงต้องเป็นแบบนี้ " ไปเป็น " ควรต้องทำอย่างไร " โดยการระดมความคิดนี้ต้องไม่ให้อารมณ์มาเป็นตัวควบคุม ใจเย็นๆ กำหนดลมหายใจเมื่อเริ่มเครียด แล้วใช้เหตุผลพร้อมสมองในการคิดแก้ไขปัญหาเท่านั้น ถ้าไม่สามารถแก้ได้ในตอนนี้ ก็ให้ค้างสิ่งที่คิดไว้ แล้วค่อยมาต่อกันใหม่ในภายหลัง เพียงเท่านี้คุณจะผ่านสถานการณ์ความเครียดไปพร้อมประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาที่ดีขึ้นเรื่อยๆ อย่างแน่นอน

    5. เริ่มลงมือได้

    เมื่อคิดวิธีแก้ไขปัญหาได้แล้ว ก็ควรลงมือปฏิบัติทันที หรือถ้ายังหาทางไม่ได้ก็ให้ทำอะไรบางอย่างที่ทำให้เราสบายใจ ตัดไปทีละปัญหาเรื่อยๆ เพื่อให้ลดความตึงเครียดหรือความกังวลลงไปเรื่อยๆ ด้วยเช่นเดียวกัน มองไปข้างหน้า ตัดสินใจลงมือทำ และยอมรับต่อผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ถือว่าเป็นการฝึกให้คุณเป็นคนที่มีเหตุผลและพร้อมที่จะแก้ปัญหาด้วยตัวเองอย่างใจเย็นมากที่สุดอีกด้วย  

    6. สบายใจกับการตัดสินใจ

    เมื่อลงมือปฏิบติไปแล้วก็จงมีความสุข ไม่ต้องมานั่งกังวล หรือเครียดมากขึ้นกว่าเดิมเมื่อผลที่ออกมาไม่ดีพอ เพราะสิ่งที่คนเครียดง่ายและมีความกังวลสูงคือการกลัวความผิดหวัง กลัวความล้มเหลว เพียงแค่ผ่านการยอมรับและการต่อต้านมาได้ คุณก็จะเชื่อว่าสิ่งที่คุณตัดสินใจไปดีที่สุดในเวลานั้นๆ เราไม่จำเป็นต้องมองย้อนกลับไป เพราะไม่มีทางกลับไปได้ ดังนั้นเมื่อตัดสินใจไปแล้วก็ควรเรียนรู้และเข้าใจกับมัน ไม่ว่าผลลัพธ์จะออกมาแบบใดก็ตาม

    7. เชื่อมั่นว่าต้องทำได้

    บทความที่เกี่ยวข้อง
    Content quotation bg
    Disclaimer : หากมีข้อสงสัย กรุณาติดต่อทีมงานมาที่ [email protected]
    Content quotation bg


    ดาวน์โหลดแอพ
    ดาวน์โหลดแอพดาวน์โหลดแอพ
    Icon ranking

    อันดับบทความประจำวัน

    (หมวดอื่น ๆ)

    Variety By SistaCafe

    Icon feature 100x100

    Feature

    กิจกรรม SistaCafe