Articles health
สุขภาพ

ถุงน้ำในรังไข่ หรือ ซีสต์รังไข่ ( Cystic Ovary )

ถุงน้ำในรังไข่คืออะไร มีแนวทางการรักษาอย่างไร อ่านได้ในบทความนี้เลยค่ะ


» » - - »
Sistacafe button sharefb
Down

เลือกอ่านตามหัวข้อ

  • [แสดง]
  • [ซ่อน]
    • ถุงน้ำในรังไข่ หรือ ซีสต์รังไข่ มี 3 ชนิด คือ

    • อาการ

    • การรักษา

    • สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม


    พบได้ทั่วไปในผู้หญิงที่มีประจำเดือนไม่ปกติแล้วมีไข่โตเต็มที่พร้อมผสมพันธุ์ แต่ไข่กลับไม่ตกกลายเป็นประจำเดือน ส่งผลให้น้ำในมดลูกมีปริมาณเพิ่มขึ้น ท้องบวม คล้ายตั้งครรภ์ 1-2 เดือน กรณีคนมีปัญหาเกิดโรคนี้บ่อยๆ จะส่งผลต่อการมีบุตรในอนาคต

    ถุงน้ำในรังไข่ หรือ ซีสต์รังไข่ มี 3 ชนิด คือ


    1. Functional Cyst   คือ  ถุงน้ำที่เกิดจากการทำงานตามปกติของรังไข่เพื่อสร้างไข่ที่เป็นเซลล์สืบพันธ์ ซึ่งจะเป็นถุงน้ำที่โตขึ้นแล้วแตกทำให้ไข่ไหลออกมา หลังจากนั้น ถุงน้ำนั้นจะค่อยๆยุบตัวไป

    2. Ovarian Cyst  หรือ Ovarian Tumor  หรือ เนื้องอกถุงน้ำรังไข่ ซึ่งเป็นเนื้องอกชนิดที่ไม่ร้ายแรง ไม่ใช่เนื้อร้าย โดยจะมีลักษณะเฉพาะ คือ มีน้ำ ( Dermoid Cyst)  ,ไขมัน  , เส้นผม หรือ กระดูกและฟัน โดยการทำอัลตราซาวด์  หรือ  เอ๊กซเรย์  ก็สามารถวินิจฉัยได้ว่าเป็นชนิดใด

    3.Tumor like condition  หรือ ถุงน้ำที่คล้ายเนื้องอก เป็นถุงน้ำที่เกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่  หรือ บางครั้งเรียกว่า Chocolate Cyst


     

    อาการ


    1. บางราย ไม่มีอาการใดๆ เลย  แต่จะรู้สึกท้องน้อยโต คล้ายคนอ้วน หรือ แค่ท้องอืด

    2. บางรายอาจมีอาการปวดถ่วงๆ ท้องน้อย โดยเฉพาะเวลามีรอบเดือน หากอาการสัมพันธ์กับการมีรอบเดือน อาจส่งสัญญาณว่า อาจเป็น ช็อกโกแลต ซีสต์ ได้

    3. บางรายจะรู้สึกว่า ปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น

    4. บางราย มีรอบเดือนผิดปกติ  เช่น มามากผิดปกติ  หรือ มากระปิดกระปอย  หรือ ปวดรอบเดือนมากกว่าปกติ

    5. บางรายที่มีอาการปวดท้องน้อยเฉียบพลัน  ให้สงสัยได้ว่า อาจมีถุงน้ำรังไข่แตก  หรือ มีการบิดของถุงน้ำ ในบางกรณีอาจมีการตกเลือด อันตรายต่อชีวิต

    ***ในบางราย ที่มีประวัติว่าคนในครอบครัวเป็นมะเร็งต่างๆ  หรือ ตัวเองมีประวัติเป็นมะเร็งส่วนอื่นๆ ของร่างกาย หากแพทย์ตรวจพบถุงน้ำรังไข่ แพทย์อาจให้น้ำหนักในการกลายเป็นเนื้อร้ายได้เช่นกัน

    Photos

     

    การรักษา


    1.ติดตามดูขนาดและอาการ

    2.ให้ยาคุมกำเนิด โดยความดูแลของแพทย์

    3.ผ่าตัด หากแพทย์พิจารณาแล้วเห็นว่า ไม่ควรเก็บไว้  การผ่าตัดมีทั้งแบบเปิดหน้าท้อง หากถุงน้ำมีขนาดใหญ่ หรือ มีจำนวนมาก  และการผ่าตัดแบบส่องกล้อง  ในกรณีที่แพทย์ประเมินว่าสามารถทำได้ และเป็นวิธีที่ผู้ป่วยพักฟื้นได้เร็ว  และเสียเลือดน้อย

    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    Photos


    Call Center :
    1645 กด 1 หรือ 02-487-2000

    E-mail : [email protected]

    Website : http://thonburihospital.com/2015_new

    FB :
    https://www.facebook.com/thonburihospitalclub

    IG : https://www.instagram.com/thonburi_hospital/

    Line@ :
    @THONBURIHOSPITAL
    บทความที่เกี่ยวข้อง
    Content quotation bg
    Disclaimer : บทความนี้เป็นบทความประชาสัมพันธ์ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยเจ้าของผลิตภัณฑ์
    หากมีข้อสงสัย กรุณาติดต่อทีมงานมาที่ [email protected]
    Content quotation bg


    ดาวน์โหลดแอพ
    ดาวน์โหลดแอพดาวน์โหลดแอพ
    Icon ranking

    อันดับบทความประจำวัน

    (หมวดสุขภาพ)

    Variety By SistaCafe

    Icon feature 100x100

    Feature

    กิจกรรม SistaCafe