เพราะโซเดียมไม่ใช่แค่เกลือเท่านั้น แต่มีอีกหลายอย่างที่เราไม่ทราบ และโซเดียมนั้นร้ายจริงหรือไม่ใครสงสัยเรื่องราวเกี่ยวกับโซเดียม เชิญอ่านบทความนี้เลย

เลือกอ่านตามหัวข้อ
1. บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
2. เครื่องปรุงรสต่างๆ
3. ขนมที่ใส่ผงฟู
4. อาหารแปรรูป
5. อาหารแห้ง
เมื่อพูดถึงโซเดียม สำหรับคนบางส่วนที่รักษาสุขภาพยังมีความคิดที่ว่า โซเดียมนั้นทำให้เกิดอาการที่เรียกว่าตัวบวม นั่นเราไม่เถียงค่ะถ้าทานในปริมาณที่มากเกินไป มันเกิดขึ้นแน่นอน แต่ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ไม่ค่อยมีคนกล่าวถึงมากนัก ทำให้หลายคนเลือกที่จะหลีกเลี่ยงหรือตัดโซเดียมไปเลย
ซึ่งในความเป็นจริงเป็นเช่นไรนั้น วันนี้เรามีบทความเพื่อคลายความสงสัยมาฝากค่ะ
ก่อนอื่นต้องกล่าวถึงโซเดียมก่อนว่า โซเดียมคืออะไร? โซเดียมคือ เกลือแร่ มีหน้าที่ควบคุม ความสมดุลของของเหลวในร่างกาย รักษาความดันโลหิต ให้อยู่ในระดับปกติ ช่วยในการทำงาน ของประสาทและกล้ามเนื้อ ( รวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจด้วย ) ตลอดจนการดูดซึมสารอาหารบางอย่าง ในไตและลำไส้เล็ก ดังนั้นร่างกายเราขาดโซเดียมไม่ได้นะคะ
ซึ่งโดยปกติโซเดียมพบได้ตามอาหารธรรมชาติ พวก เนื้อสัตว์ ข้าว แป้ง ผลไม้ พืชผัก พวกอาหารปรุงสำเร็จรูป แปรรูป ผงชูรส ซึ่งในปัจจุบันอาหารต่างๆ มักเติมสารปรุงรสลงไปด้วยทำให้เราเลี่ยงรับประทานไม่ได้
ข้อดีของโซเดียม
มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย และเป็นแร่ธาตุที่ถูกค้นพบพร้อม ๆ กับโพแทสเซียม ซึ่งสองตัวนี้สมดุลกันค่ะ
ดังนั้นเราจึงไม่ควรที่จะตัดโซเดียมออกจากชีวิต แต่เลี่ยงเป็นการลดปริมาณการทานโซเดียม ทานให้เหมาะสมจึงจะดีกว่า เพราะข้อดีของโซเดียมก็มีเหมือนกันน้า
ข้อเสียคือ หากเราบริโภคในปริมาณที่มาก แทนที่จะช่วยรักษาสมดุลในร่างกาย อาจจะทำให้ระบบร่างกายมีความแปรปรวนแทน ง่ายๆ คือ การทานโซเดียมจะทำให้ความเข้มข้นโซเดียมในร่างกายสูงขี้น ทำให้ไตทำงานหนัก ซึ่งร่างกายคนเราเนี่ย แต่ละวันกำจัดโซเดียมได้จำกัดค่ะ ทำให้โซเดียมที่เกินสมดุล โพแทสเซียมต้องถูกลดความเข้มข้นซึ่งก็คือการทานน้ำเข้าไป ทำให้ร่างกายต้องการและกักเก็บน้ำที่บริโภคเข้าไปเพื่อรักษาระดับความเข้มข้นของโซเดียมให้สมดุล ทำให้เกิดภาวะบวมน้ำนั่นเอง
เมื่อร่างกายอยู่ในภาวะบวมน้ำ หลายๆ คนเข้าใจว่าอ้วน ซึ่งความจริงไม่ใช่ค่ะ บางคนอาจหลีกเลี่ยงโซเดียมโดยการทำอาหารเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมาก แต่สำหรับคนที่ไม่มีเวลา เราคิดว่าสิ่งที่ช่วยได้อย่างมากคือ การอ่านฉลากอาหาร แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ วันไหนที่เผลอกินส้มตำ มาม่าหรืออาหารกระป๋องไปไม่ต้องรู้สึกผิด ใช้วิธีเหล่านี้แก้ดูนะคะ ตามอ่านด้านล่างเลย
วิธีลดโซเดียมในร่างกาย
1. ลดปริมาณการใช้โซเดียมในอาหารให้น้อยลง เมื่อหยุดหรือเลี่ยงไม่ได้ ก็ต้องลดค่ะ ออกไปสั่งอาหารนอกบ้าน อย่าลืมบอก งดผงชูรส งดเค็ม นะคะ
ต่อไปเราจะพูดถึงในส่วนของอาหารที่มีโซเดียมสูงทั้ง 5 อันดับที่เป็นที่นิยมกันนะคะ มาดูกันเลยดีกว่าว่ามีอาหารจานโปรดของใครกันบ้างเอ่ย
1. บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
2. เครื่องปรุงรสต่างๆ
อาจจะลดปริมาณการใช้ลงหน่อย เริ่มแรกอาจจะรสชาติยังไม่เข้าที่ แต่ทานบ่อยๆ ร่างกายจะเริ่มชิน จนกระทั่งร่างกายเรารู้สึกว่าอาหารจืดก็ไม่ได้แย่อะไร ทานอาหารอิ่มแถมยังได้สุขภาพดีๆกลับมาอีกด้วย
3. ขนมที่ใส่ผงฟู

อันดับบทความประจำวัน
(หมวดสุขภาพ)
Variety By SistaCafe

Feature
กิจกรรม SistaCafe