ใครที่กำลังรู้สึกว่าตัวเองมีความผิดปกติทางความคิด หรือรู้สึกวิตกกังวลเกินกว่าเหตุ มาทางนี้! เรามีวิธีตรวจสอบตัวเองมาฝากกันค่ะ

เลือกอ่านตามหัวข้อ
1. กังวลมากเกินไปทุกเรื่อง
2. นอนไม่ค่อยหลับ
3. กลัวแบบไร้ซึ่งเหตุผล
4. กล้ามเนื้อตึงหรือเป็นตะคริวบ่อยครั้ง
5. เป็นโรคอาหารไม่ย่อยเรื้อรัง
6. ตื่นตกใจง่าย
7. กังวลเรื่องของตัวเอง
8. ตกใจเกินเหตุ
9. พฤติกรรมย้อนกลับ
10. เริ่มเพ้อฝัน
11. พฤติกรรมบีบบังคับ
12. สงสัยตัวเองตลอดเวลา
ความวิตกกังวลของผู้หญิง มักจะก่อปัญหาและอาจทำให้เกิดเป็นโรคที่น่ากลัวอย่างโรค Panicked และโรคซึมเศร้าได้ง่ายๆ เพราะผู้หญิงมีสภาวะทางอารมณ์และความคิดที่ซับซ้อนกว่าผู้ชาย
ทำให้ผู้หญิงมักสับสนกับความคิดบางอย่างของตัวเอง และด้วยสารชนิดหนึ่งที่หลั่งอยู่ในสมองและการเป็นประจำเดือน ที่ทำให้ฮอร์โมนของผู้หญิงไม่สมดุลเท่าที่ควร พร้อมด้วยสภาวะแวดล้อมรอบข้างที่เป็นตัวกระตุ้น
ซึ่งถ้าคุณเป็นคนที่ชอบวิตกกังวลอยู่แล้ว ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงของการเป็นโรคเหล่านี้ได้ง่ายมากขึ้นอีกด้วย แบบนี้ลองมาดูกันค่ะว่า เรามีความเสี่ยงที่จะเป็น โรควิตกกังวลเกินกว่าเหตุ ( generalized anxiety disorder ) ที่อาจจะพ่วงอาการของโรคอื่นๆ ตามมาอีกหรือไม่กันค่ะ
1. กังวลมากเกินไปทุกเรื่อง
จุดเด่นของโรงวิตกกังวลเกินกว่าเหตุ คือ คุณจะรู้สึกวิตกกังวล เครียด และตึงไปหมดทุกเรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน โดยไม่สามารถที่จะวิเคราะห์ได้ว่าเรื่องนั้นจะเป็นเพียงแค่เรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ และความวิตกกังวลนั้นทำให้คุณเกิดความทุกข์ ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ถือว่าคุณมีความวิตกกังวลที่มากกว่าคนปกติแน่นอน
ถ้ามีอาการนี้อย่างต่อเนื่องทุกวันตลอด 6 เดือน แล้วอาการไม่ดีขึ้นหรือความรู้สึกของคุณกลับ Deep หนักลงเรื่อยๆ แล้วความวิตกกังวลนี้เข้าไปรบกวนชีวิตประจำวันเมื่อไหร่ นั่นคือคุณเป็นโรควิตกกังวลเกินกว่าเหตุอย่างแน่นอน
ถ้ามีอาการนี้อย่างต่อเนื่องทุกวันตลอด 6 เดือน แล้วอาการไม่ดีขึ้นหรือความรู้สึกของคุณกลับ Deep หนักลงเรื่อยๆ แล้วความวิตกกังวลนี้เข้าไปรบกวนชีวิตประจำวันเมื่อไหร่ นั่นคือคุณเป็นโรควิตกกังวลเกินกว่าเหตุอย่างแน่นอน
2. นอนไม่ค่อยหลับ
อาการนอนไม่หลับแทบจะเป็นปัญหาหลักของคนเป็นโรคนี้ ถ้าคุณมีสภาวะเสี่ยงต่อโรควิตกกังวลเกินเหตุ คุณจะมีอาการนอนไม่หลับตลอดทั้งสัปดาห์ เพราะวิตกกังวลในทุกๆ เรื่อง ซึ่งปัญหานี้จะพ่วงไปทั้งเรื่องของกายและจิตใจมากขึ้นเรื่อยๆ
ถ้าคุณมีอาการนอนไม่หลับ กระวนกระวาย สับสน มีเรื่องในหัวตลอดเวลา โดยที่ไม่มีเรื่องเฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษ แต่ก็สามารถเก็บมาคิดได้ทั้งหมด นั่นคือคุณเป็นโรควิตกกังวลเกินกว่าเหตุแน่นอน
ถ้าคุณมีอาการนอนไม่หลับ กระวนกระวาย สับสน มีเรื่องในหัวตลอดเวลา โดยที่ไม่มีเรื่องเฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษ แต่ก็สามารถเก็บมาคิดได้ทั้งหมด นั่นคือคุณเป็นโรควิตกกังวลเกินกว่าเหตุแน่นอน
3. กลัวแบบไร้ซึ่งเหตุผล
ความกลัวนั้นมีอยู่ในตัวของทุกคนก็จริง แต่คนที่เป็นโรควิตกกังวลเกินเหตุ มักจะมีอาการกลัวที่ไม่ได้มาทางจิตใจเพียงทางเดียว แต่สามารถมาจากสภาวะรอบข้างได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นข่าวสาร สภาวะแวดล้อมรอบข้าง หรือสถานการณ์ที่กระตุ้นความกลัวต่า ๆ ก็สามารถทำให้คนที่เป็นโรคนี้กลัวขึ้นมาอย่างจับใจ โดยแทบจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตกลงกลัวอะไรกันแน่
ซึ่งความกลัวนี้ถ้ามีมากจนเกินไป ก็อาจทำให้คุณกลายเป็นคนเก็บตัว ไม่กล้าออกจากบ้าน และกระทบต่อชีวิตประจำวันอย่างร้ายแรงอีกด้วย
ซึ่งความกลัวนี้ถ้ามีมากจนเกินไป ก็อาจทำให้คุณกลายเป็นคนเก็บตัว ไม่กล้าออกจากบ้าน และกระทบต่อชีวิตประจำวันอย่างร้ายแรงอีกด้วย
4. กล้ามเนื้อตึงหรือเป็นตะคริวบ่อยครั้ง
ความตึงเครียดที่เกิดจากความวิตกกังวล มีผลทำให้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ มีความตึงตามไปด้วย และทำให้เกิดปัญหาเรื่องตะคริวตามส่วนต่างๆ บ่อยครั้ง
ในบางรายก็อาจจะถึงขั้นขากรรไกรค้างเมื่อเริ่มมีความวิตกกังวล ถือว่าเป็นปัญหาทางกายที่เชื่อมต่อกับจิตใจที่ค่อนข้างน่ากลัว หรือบางรายก็อาจจะออกกำลังกายไม่ได้ เพราะเมื่อออกแล้วตะคริวก็จะเกิดกับกล้ามเนื้อตามส่วนต่างๆ ทันที
ในบางรายก็อาจจะถึงขั้นขากรรไกรค้างเมื่อเริ่มมีความวิตกกังวล ถือว่าเป็นปัญหาทางกายที่เชื่อมต่อกับจิตใจที่ค่อนข้างน่ากลัว หรือบางรายก็อาจจะออกกำลังกายไม่ได้ เพราะเมื่อออกแล้วตะคริวก็จะเกิดกับกล้ามเนื้อตามส่วนต่างๆ ทันที
5. เป็นโรคอาหารไม่ย่อยเรื้อรัง
เมื่อเกิดความเครียดจากอาการวิตกกังวล ระบบต่างๆ ภายในร่างกายก็ย่อมต้องมีปัญหาตามมาด้วยเช่นกัน โดยในส่วนที่รับผลกระทบโดยตรง คือ ระบบการย่อยอาหารที่เริ่มจากกระเพาะอาหารและลำไส้ น้ำย่อยจะถูกสารแห่งความเครียดที่ร่างกายหลั่งออกมาทำลาย เมื่อทานอาหารเข้าไปก็จะทำให้อาหารนั้นไม่สามารถที่จะย่อยได้ตามปกติ และเมื่อโดนส่งต่อไปยังลำไส้ ก็จะทำให้ลำไส้ทำงานหนักกว่าเดิม
จนสุดท้ายก็จะเกิดอาการลำไส้แปรปรวน (IBS) ทำให้เกิดอาการไม่สบายท้อง อึดอัด ท้องอืดท้องเฟ้อ หรืออาจทำให้ท้องร่วงได้อีกด้วย ลำไส้นั้นมีความไวต่อความเครียดทางจิตใจอย่างมาก ผู้ที่เป็นโรควิตกกังวลเกินกว่าเหตุจึงมักจะเกิดปัญหาปวดท้องบ่อยครั้ง เนื่องมาจากลำไส้แปรปรวนเรื้อรังนั่นเอง
จนสุดท้ายก็จะเกิดอาการลำไส้แปรปรวน (IBS) ทำให้เกิดอาการไม่สบายท้อง อึดอัด ท้องอืดท้องเฟ้อ หรืออาจทำให้ท้องร่วงได้อีกด้วย ลำไส้นั้นมีความไวต่อความเครียดทางจิตใจอย่างมาก ผู้ที่เป็นโรควิตกกังวลเกินกว่าเหตุจึงมักจะเกิดปัญหาปวดท้องบ่อยครั้ง เนื่องมาจากลำไส้แปรปรวนเรื้อรังนั่นเอง
6. ตื่นตกใจง่าย
เมื่อความกลัวมีมากจนเกินจะควบคุมได้ ความตื่นตระหนกตกใจก็เป็นเรื่องที่คุมไม่ได้แล้วเช่นกัน อาการขี้ตกใจนั้นมีได้กับทุกคน แต่คนที่เป็นโรคนี้จะตกใจได้ง่ายกว่าคนปกติ 2 เท่า เรียกได้ว่าแค่เห็นอะไรแปลกๆ ก็ตกอกตกใจชนิดร้องกรี๊ดได้ทั้งวัน
ซึ่งอาการนี้จะส่งผลกระทบทางสังคม ที่อาจทำให้เกิดปัญหาความวิตกกังวลมากกว่าเดิม และอาจทำให้กลายเป็นโรคกลัวสังคมไปในที่สุด
ซึ่งอาการนี้จะส่งผลกระทบทางสังคม ที่อาจทำให้เกิดปัญหาความวิตกกังวลมากกว่าเดิม และอาจทำให้กลายเป็นโรคกลัวสังคมไปในที่สุด
7. กังวลเรื่องของตัวเอง
❤ อย่าลืมไลค์และแชร์บทความให้กำลังใจเราด้วยนะคะ ❤

อันดับบทความประจำวัน
(หมวดสุขภาพ)
Variety By SistaCafe

Feature
กิจกรรม SistaCafe