กินเยอะแล้วรู้สึกผิด! โรคพฤติกรรมการกินผิดปกติ "Binge Eating Disorder"
PAGE 2/3
1. สร้างพฤติกรรมการกินที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น
อยากหายจากโรคนี้ ต้องเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับ " อาหารการกิน " เสียใหม่ กินอาหารที่มีประโยชน์เพื่อสุขภาพ ทำให้ร่างกายแข็งแรง ไม่ใช่กินของมันๆ ทอดๆ แคลอรี่สูงเพื่อสนองความอยากของตัวเองอย่างเดียว
หลีกเลี่ยงต่อสิ่งเย้ายวนใจทั้งหลาย อย่าซื้ออาหารจั๊งค์ฟู้ด ขนมกรุบกรอบหรือของหวาน ของทอดเข้าบ้าน หากมีวางไว้ในตู้เย็น เคลียร์ทิ้งไปให้หมด ปฏิบัติ!
ฟังความต้องการของร่างกายตัวเอง แยกให้ออกระหว่าง " แค่อยากกิน " กับ " หิวจริงๆ " ถ้าเธอเพิ่งกินไป กระเพาะไม่ส่งเสียงประท้วง แปลว่าเธอยังไม่หิวหรอกค่ะ
มีสมาธิกับสิ่งที่กิน อย่ากินแบบไม่มีสติ ค่อยๆ เคี้ยวช้าๆ ลิ้มรสเนื้อสัมผัสและรสชาติของอาหารชิ้นนั้น เธอจะมีความสุขกับสิ่งที่กิน และกินได้น้อยลงอีกด้วย
กินให้เป็นเวลา อย่ารอจนหิวจัดค่อยกิน เพราะเธอจะ " ตบะแตก " แล้วสวาปามเกินความจำเป็นอย่างแน่นอน กำหนดเวลาไว้เลยว่าจะกินกี่โมง กินกี่มื้อในแต่ละวัน หากมื้อไหนมักหลุดกินเยอะบ่อย ก็กินให้พออิ่มและไปทำกิจกรรมอื่นซะ
อย่าหลีกเลี่ยงไขมัน ไขมันที่มีประโยชน์ทำให้เธออิ่มเป็นเวลานาน ไม่กินจุกจิก ทำให้น้ำหนักลดลงได้ พยายามกินอาหารที่มีไขมันดีเข้าไว้ แต่พอประมาณ เช่น ถั่วอัลมอนด์ อโวคาโด เป็นต้น
อย่าปล่อยให้ตัวเองเบื่อ หากืจกรรมอื่นทำ เช่น เดินเล่น โทรคุยกับเพื่อน ไปดูหนัง อ่านหนังสือ หรือหางานอดิเรกเพื่อให้จิตใจไม่จดจ่ออยู่แต่กับของกินค่ะ
ความสำคัญในการตัดสินใจว่าจะ " ไม่อดอาหาร "
อย่าคิดว่าจะไดเอทหรืออดอาหาร เพื่อชดเชยความรู้สึกผิดหลังกินเยอะ เพราะมันไม่ช่วยอะไรนอกจากทำให้่ " ตบะแตก " แล้วกินเยอะเพิ่มไปอีก แค่กินอาหารปริมาณพอดีๆ และมีประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่จำเป็นต้องงดขนม ของทอดไปเลย กินพอให้รู้รสก็พอ
อย่าห้ามตัวเองกินอาหารประเภทนั้น ประเภทนี้มากเกินไป เพราะเธอจะเกิดความเครียด อึดอัด อยากกินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกลับไปลูปเดิม แทนที่เธอจะคิดว่า " ไม่กินอีกแล้ว " ให้คิดว่า " ค่อยกินตอนโอกาสพิเศษ " จะดีกว่าค่ะ
2. หาวิธีอื่นในการ " เยียวยาจิตใจ " นอกเหนือจากการกิน
อย่าใช้การกินเป็นวิธีเดียวในการเยียวยาอาการซึมเศร้า ความเหงา ความกลัวหรือวิตกกังวล ถ้าวันนี้เธออารมณ์ไม่ดีมาจากเรื่องแย่ๆ เช่น เจ้านายด่า ทะเลาะกับเพื่อน แมวข่วนใส่หน้า etc. ให้เบี่ยงเบนความสนใจตัวเองไปเรื่องอื่น เช่น เล่นเกม อ่านหนังสือ วาดรูป แทน ช่วยได้มากเลยล่ะ
แยกให้ได้ว่า " หิวจริงๆ " หรือ " แค่อยากกิน "
ทางเดียวที่จะแยกแยะความอยากกับความหิวออกจากกันได้ คือ! ให้ตั้งสติ ลืมอารมณ์ตัวเองสักพัก แล้วคิดว่าตัวเองหิวจริงๆ หรือไม่ หรือถ้าเป็นไปได้ จดบันทึกให้เป็นหลักฐานเลยก็ดีค่ะ
เขียนชื่ออาหารที่กินเข้าไป ( หรืออยากจะกิน ) เวลาอารมณ์ไม่ดี , สาเหตุที่ทำให้อารมณ์ไม่ดี, รู้สึกยังไงก่อนกิน, รู้สึกยังไงระหว่างกิน และรู้สึกยังไงหลังกินเสร็จแล้ว การเขียนแบบนี้อาจดูแปลกๆ ตลกๆ แต่เชื่อเถอะว่า เธอจะเริ่มเห็นรูปแบบการกินของตัวเอง ทำให้เธอหยุดวงจรเหล่านี้และหายจากโรคได้ค่ะ
เขียนชื่ออาหารที่กินเข้าไป ( หรืออยากจะกิน ) เวลาอารมณ์ไม่ดี , สาเหตุที่ทำให้อารมณ์ไม่ดี, รู้สึกยังไงก่อนกิน, รู้สึกยังไงระหว่างกิน และรู้สึกยังไงหลังกินเสร็จแล้ว การเขียนแบบนี้อาจดูแปลกๆ ตลกๆ แต่เชื่อเถอะว่า เธอจะเริ่มเห็นรูปแบบการกินของตัวเอง ทำให้เธอหยุดวงจรเหล่านี้และหายจากโรคได้ค่ะ
เรียนรู้ที่จะอดทนต่อ " แรงกระตุ้น " ที่จะก่อให้เกิด binge eating
ไม่ว่าจะเกิดแรงกระตุ้นอะไรก็ตามที่ทำให้เกิด Binge Eating เช่น วิตกกังวล อับอาย สิ้นหวัง โกรธ เหงา กลัว หรือแค่ความว่างเปล่าในจิตใจ ยอมรับมันซะ! การหนีปัญหายิ่งทำให้อารมณ์เหล่านั้นปะทุมากขึ้น พยายามคิดว่าทำไมจึงรู้สึกแบบนั้น
แยกแยะตัวเองหน่อย! เธอเป็นเจ้าของร่างกายตัวเอง อย่าปล่อยให้อารมณ์เหล่านี้ครอบงำจิตใจ อารมณ์พวกนี้เข้ามาแล้วก็ผ่านไป แน่นอนว่าการจมอยู่กับอารมณ์ทางลบนานๆ จะอึดอัดสุดๆ ในช่วงแรก ( บางรายอาจทำไม่ได้เลยด้วยซ้ำ ) แต่ถ้าเธออดทนได้ เธอจะ " บรรลุ " ตัวเองว่าไม่ควรไปสนใจ แค่ยอมรับ ปล่อยวางแล้วเดินผ่านไป ทุกอย่างก็จบ
จำไว้นะคะ เธอมีสิทธิ์เลือกวิธีตอบสนองตัวเองได้ ซึ่งไม่จำเป็นจะต้อง " กิน " อย่างเดียว จริงไหมล่ะ
3. ควบคุมตัวเองต่อ " ความอยาก "
บางครั้งก็ช่วยไม่ได้จริงๆ ที่รู้สึก " อยากกินเจ้านี่ม้ากกกกก " ( เราเข้าใจ ) จงยอมรับมันและหาทางเบี่ยงเบนความสนใจซะ ทำกิจกรรมอื่นๆ เช่น อ่านหนังสือ วาดรูป โทรคุยกับเพื่อน เล่นกับสุนัข ทำสวน etc. ทำไปเรื่อยๆ เพลินๆ รู้ตัวอีกทีอาจจะลืมหิวแล้วก็ได้
แต่ถ้าผ่านไปแล้ว 1-2 ชั่วโมง ท้องเริ่มร้อง อาการอยากกินยังอยู่ ก็แปลว่าเธอหิวจริงๆ แล้วล่ะ ไปหาอะไรกินเถอะค่ะ